มรรค วิธีในการทำบุญ 10 ประการ
"มรรควิธี" ในการทำบุญ หรือในการสร้างบุญทั้ง 10 ประการ
1. ทำบุญด้วยการ “แบ่งปัน” วัตถุ สิ่งของ ปัจจัยสี่
2. ทำบุญด้วยการ “รักษาศีล”
3. ทำบุญด้วยการ “เจริญจิตภาวนา”
4. ทำบุญด้วยการ “อ่อนน้อมถ่อมตน”
5. ทำบุญด้วยการ “เสียสละช่วยงานคนอื่น บริการสังคม”
6. ทำบุญด้วยการ “เฉลี่ยความดีให้คนอื่นได้ชื่นชม”
7. ทำบุญด้วยการ “อนุโมทนา / ชื่นชมความสุข ความก้าวหน้าของคนอื่น”
8. ทำบุญด้วยการ “ฟังธรรม ศึกษาหาความรู้ที่มีสารประโยชน์ต่อชีวิต”
9. ทำบุญด้วยการ “แสดงธรรม แจกจ่ายธรรมทาน วิทยาทาน”
10. ทำบุญด้วยการ “มีสัมมาทัศนะ เชื่อกฎแห่งกรรม เชื่อตามหลักเหตุผล ฯลฯ”
ในพระไตรปิฎกบางแห่งระบุวิธีทำบุญเพิ่มเดติมออกไปอีกว่า “ชนเหล่าใดปลูกสวน ปลูกป่า สร้างสะพาน จัดหาเรือข้ามฟาก
จัดที่บริการน้ำดื่ม ขุดบึงหรือบ่อน้ำ สร้างที่พักอาศัย, บุญชองชนเหล่านั้นย่อมงอกงามทุกทิวาราตรีกาล, ชนเหล่านั้นเป็นผู้มีคุณธรรม
มีศีล นับว่าดำเนินอยู่ในทางแห่งความดีงาม” จากที่กล่าวมาจะเห็นว่า วิธีทำบุญไม่ได้มีความหมายเพียงแค่ “การให้ทาน”
แต่ยังมีวิธีอื่นๆ อีกมากมายให้เลือกทำได้ตามอัธยาศัย เพราะฉะนั้นจึงกล่าวได้อย่างมั่นใจว่า ในการทำบุญที่แท้ตามหลักพระพุทธศาสนานั้น
แม้ไม่ใช้เงินเลย ไม่มีเงินเลย ทุกคนก็มีสิทธิทำบุญหรือเข้าถึงบุญได้อย่างทัดเทียมกัน และพึงทราบต่อไปด้วยว่าบุญสูงสุดก็คือ
การบำเพ็ญจิตภาวนาเพื่อให้เกิด “ปัญญา” การทำบุญจึงต้องมาเชื่อมกับ “ปัญญา” เสมอ บุญจึงไม่ใช่เพื่อบุญในตัวของมันเองแล้วก็จบ แต่การทำบุญคือมรรควิธีในการพัฒนาตนเพื่อเข้าถึงปัญญา และปัญญานั้นก็ไม่ใช่เพื่อปัญญา แต่เป็นปัญญาเพื่อเข้าถึง “อิสรภาพ”
หรือ “นิพพาน” เป้าหมายของบุญอยู่ตรงนี้ ตรงที่ไม่จำเป็นต้องมาวุ่นวายทำบุญกันอีกต่อไปกล่าวอีกนัยหนึ่งว่า “ทำบุญก็เพื่อที่จะทิ้งบุญ” ในที่สุด และมิติของบุญก็เกินความหมายกว้างขวางออกไปถึงทางด้านกาย วาจา ใจ หรือกายอารมณ์ (จิต) สังคม และปัญญา
บุญจึงไม่ใช่เรื่องเพื่อความสุขของตัวเองเท่านั้น แต่การทำบุญนั้นก็เพื่อความสุข ความเจริญงอกงามร่มเย็นของสังคมหรือของมนุษยชาติทั้งหมดอีกด้วย
ความหมาย ขอบข่ายของการทำบุญที่แท้นั้นทั้งหลากหลายและกว้างขวางดังกล่าวมานี้ ชาวพุทธจึงควรเรียนรู้ไว้ให้เท่าทัน ทุกครั้งที่ทำบุญจึงจะได้บุญอย่างที่ต้องการ
ไม่ต้องเสียค่าโง่เพื่อแลกบุญครั้งละแพง ๆ เกินความจำเป็น มิเช่นนั้นแล้วหากทำบุญไม่เป็น ทำบุญด้วยความเขลา ทั้ง ๆ ที่ตั้งใจทำบุญ อาจกลายเป็นกำลังทำบาป
โดยไม่รู้ตัวหรือบางทีตั้งใจทำบุญ แต่กลายเป็นว่ากำลังตำน้ำพริกละลายแม่น้ำ ยื่นดาบให้โจร โชนฟืนในกองไฟ ก็เป็นได้
บุญกิริยาวัตถุ 10" เมื่อถึงวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา ประชาชนต่างร่วมกันทำบุญ ตักบาตร เข้าวัดฟังธรรม เพื่อเสริมสร้างสิริมงคลให้แก่ตนเองและครอบครัว
รวมถึงส่งผลให้มีจิตใจที่บริสุทธิ์ สดใส แต่ทราบกันหรือไม่ว่าในทางพระพุทธศาสนา การทำบุญมีด้วยกันถึง 10 วิธี เรียกว่า “บุญกิริยาวัตถุ 10”