ต้นกำเนิดของเทคโนโลยี
คำว่า "เทคโนโลยี" เริ่มกลายมาเป็นคำที่ใช้ทั่วไปนับตั้งแต่การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่สองในศตวรรษที่ 20 คำนี้เริ่มเปลี่ยนความหมายในต้นศตวรรษที่ 20 เมื่อนักสังคมวิทยา เริ่มต้นโดยธอร์สไตน์ เวเบลน แปลแนวคิดภาษาเยอรมันของคำว่า Technik เป็น "เทคโนโลยี" ในภาษาเยอรมันและภาษายุโรปอื่น มีความแตกต่างชัดเจนระหว่างความหมายของ
เทคโนโลยี หรือ เทคนอลอจี (อังกฤษ: Technology; "ศาสตร์การประดิษฐ์", จากภาษากรีกโบราณ τέχνη, techne, "ศิลปะ, ทักษะ, ฝีมือ"; กับ -λογία, ศาสตร์[1]) เป็นการผสมผสานเทคนิก, ทักษะ, วิธีการ และ กระบวนการ เพื่อผลิตสินค้า หรือ บริการ หรือเพื่อบรรวัตถุประสงค์หนึ่ง ๆ
คำว่า "เทคโนโลยี" เปลี่ยนความหมายไปอย่างมากในช่วง 200 ปีที่ผ่านมา ก่อนคริสต์ศตวรรษที่ 20 คำนี้ไม่ปรากฏใช้ในภาษาอังกฤษมากนัก และหากปรากฏก็มีไว้สื่อถึงศาสตร์ชองศิลปะเพื่อการใช้งาน[2] หรือการศึกษาเชิงเทคนิก ดังเช่นในชื่อของ สถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ (จัดตั้งในปี 1861)[3]
คำว่า "เทคโนโลยี" เริ่มกลายมาเป็นคำที่ใช้ทั่วไปนับตั้งแต่การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่สองในศตวรรษที่ 20 คำนี้เริ่มเปลี่ยนความหมายในต้นศตวรรษที่ 20 เมื่อนักสังคมวิทยา เริ่มต้นโดยธอร์สไตน์ เวเบลน แปลแนวคิดภาษาเยอรมันของคำว่า Technik เป็น "เทคโนโลยี" ในภาษาเยอรมันและภาษายุโรปอื่น มีความแตกต่างชัดเจนระหว่างความหมายของ technik กับ technologie แต่ความต่างนี้ไม่ปรากฏในภาษาอังกฤษ ซึ่งมักแปลทั้งสองคำเป็น "technology" เหมือนกัน ภายในทศวรรษ 1930s "เทคโนโลยี" ถูกใช้เพื่อสื่อความหมายถึงทั้งการศึกษาศิลปะอุตสาหกรรมและตัวศิลปะอุตสาหกรรมเอง
ประวัติศาสตร์ของเทคโนโลยี (History of technology) คือประวัติศาสตร์ของการประดิษฐ์เครื่องมือและเทคโนโลยีของมนุษยชาติ เป็นหนึ่งในสาขาย่อยของประวัติศาสตร์มนุษย์ เทคโนโลยีสามารถอ้างถึงวิธีการสร้างเทคโนโลยีต่าง ๆ ตั้งแต่เครื่องมือหินแบบง่าย ๆ ไปจนถึงเทคโนโลยีพันธุวิศวกรรมที่ซับซ้อน และ เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ที่เกิดขึ้นตั้งแต่ทศวรรษที่ 1980
คำว่า "เทคโนโลยี" หรือ Techonology ในภาษาอังกฤษ มีที่มาจากคำภาษากรีกสองคำคือ "Techne" หมายถึงศิลปะและงานฝีมือ รวมกับคำคำว่า "Logos" ซึ่งหมายถึงถ้อยคำและคำพูด คำ ๆ นี้มีการใช้เป็นครั้งแรกที่ใช้เพื่ออธิบายศิลปะประยุกต์ แต่ปัจจุบันใช้คำนี้เพื่ออธิบายความก้าวหน้าและการเปลี่ยนแปลงที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมรอบตัวเรา รวมไปถึงเครื่องมือต่าง ๆ ที่มนุษยชาติได้สร้างสรรค์ขึ้นมา[1]
องค์ความรู้ใหม่ ๆ ทำให้มนุษย์สามารถคิดค้นสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ ขึ้นมา และในทางกลับกัน เทคโนโลยีใหม่ ๆ ก็ทำให้มนุษย์สามารถสำรวจและค้นพบสิ่งใหม่ ๆ ซึ่งมนุษย์ไม่สามารถทำได้หากปราศจากเทคโนโลยีเหล่านั้น และด้วยเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ที่มนุษย์ประดิษฐ์ขึ้น ทำให้มนุษย์มีความสามารถที่จะศึกษาธรรมชาติของจักรวาล ซึ่งมีความซับซ้อนมากเกินกว่าที่ประสาทสัมผัสพื้นฐานของมนุษย์จะสามารถทำการสังเกตการณ์ได้
โครงการสำรวจพื้นผิวดวงจันทร์อะพอลโล 11 ของนาซ่า การสำรวจเทหวัตถุนอกโลกครั้งแรกของมนุษยชาติ
อ้างอิงจาก: วิกิพีเดีย treatec