“Piye Pharaoh” ฟาโรห์ผิวดำองค์แรกของอียิปต์
อียิปต์ (Egypt) ถือว่าเป็นแหล่งอารยธรรมที่เก่าแก่ ที่มากด้วยประวัติศาสตร์และขุมทรัพย์ทางโบราณคดี ในดินแดนลุ่มแม่น้ำไนล์แห่งนี้ ปกครองด้วยกษัตริย์หรือฟาโรห์ (Pharaoh) จากราชวงศ์สู่ราชวงศ์หลายยุค แต่ในความอุดมสมบูรณ์นี้ก็ย่อมดึงดูดผู้รุกรานต่างชาติที่อยากจะเข้ามาครอบครองเช่นกัน ไม่ว่าจะกลุ่มชนชาติเซเมติคจากเมโสโปเตเมีย, เอเชียกลาง, พวกลิเบียโบราณ, ชาวเปอร์เซีย, กรีกโรมัน และอาหรับในยุคหลัง
1.ราชวงศ์ฟาโรห์ผิวดำแห่งอียิปต์
แต่ในบรรดาราชวงศ์ต่างๆที่ปกครองอียิปต์นั้น มักเป็นกลุ่มชาติพันธุ์อินโดยูโรเปียนทั้งสิ้น แต่มีหนึ่งเดียวที่เป็นราชวงศ์ของชาติพันธุ์แอฟริกันผิวดำ จากพื้นที่ตอนในของทวีปแอฟริกา นั่นก็คือ "ราชวงศ์นูเบียน" (Nubian Dynasty) ของเผ่านูเบียราชวงศ์อันดับที่ 25 แห่งอียิปต์
Rulers_of_Kush,_Kerma_Museum (Nubian Dynasty)
2.ยุคราชวงศ์นูเบียน
อยู่ในช่วงศตวรรษที่ 8 ก่อนคริสตกาล หลังยุคของ "ฟาโรห์รามเสสที่ 3" (Ramses III, 1186–1155 ปีก่อนคริสตกาล) เป็นช่วงเวลาที่อาณาจักรเริ่มค่อยๆเสื่อมถอย พอปี 945 ก่อนคริสตกาล ราชวงศ์จากดินแดนลิเบียก็สามารถปกครองอียิปต์ได้สำเร็จ แต่ก็อยู่ได้ช่วงเวลาหนึ่งก็ต้องเผชิญกับสภาวะที่ไร้เอกภาพ ดินแดนต่างๆก็แตกออกเป็นแคว้นเล็กแคว้นน้อยของพวกเหล่าขุนศึกในปี 750 ก่อนคริสตกาล
3.ยุคฟาโร์ผิวดำองค์แรกในราชวงศ์ที่ 25
"ปิเย" (Piye) ผู้นำของอาณาจักรนูเบียน จากดินแดนทางใต้ของลุ่มแม่น้ำไนล์ (ปัจจุบันคือประเทศซูดาน) ก็เปิดฉากปราบปรามกลุ่มต่างๆในดินแดนทางเหนือ จนรวบรวมอาณาจักรอียิปต์ได้ในช่วงปี 730 ก่อนคริสตกาล สงครามนั้นนานร่วมปีสุดท้ายบรรดาขุนศึกต่างๆก็ยอมจำนนต่อกองทัพนูเบียน จึงต้องส่งเครื่องราชบรรณาการต่างๆมาให้ปิเย ทำให้พระองค์กลายเป็นฟาโรห์ชาวนูเบียนองค์แรก ที่ปกครองอียิปต์ตอนบนและอียิปต์ตอนกลางได้สำเร็จ ในสมัยของราชวงศ์ที่ 25 และเป็นฟาโรห์ผิวดำแห่งอียิปต์ในเวลาต่อมา
4.รื้อฟื้นธรรมเนียมการสร้างพีระมิด
ปิเยสิ้นพระชนม์หลังปกครองอียิปต์ประมาณ 30 ปี จากนั้นทายาทองค์ต่อมาก็คือ "Shebitku" ก็ขึ้นเป็นฟาโรห์ต่อ แต่ก่อนที่ปิเยจะสิ้นพระชนม์ก็ได้สั่งให้สร้างพีระมิดเหนือหลุมศพของพระองค์เอง โดยฝังอยู่ที่ "เอลคูร์รู" (Al-Kurru) ทางตอนเหนือของซูดาน จึงทำให้ประเพณีฝังศพของฟาโรห์ในพีระมิด ที่เคยสาบสูญไปกว่า 500 ปี จึงได้ปรากฎขึ้นอีกครั้งในหน้าประวัติศาตร์
5.ถูกรุกรานจากจักรวรรดิอัสซีเรียน
ราชวงศ์นูเบียนปกครองอียิปต์ 88 ปี ที่หลุมฝังพระศพมีรายชื่อฟาโรห์ทั้งหมด 5 องค์ (โดยอีก 3 องค์คือ 1.Shabaka, 2.Taharqa, 3.Tantamani) ซึ่งทั้งหมดเป็นชาวต่างชาติ แต่ก็มีบทบาทไม่น้อยที่สามารถรวบรวมดินแดนอียิปต์ที่แตกแยกให้เป็นปึกแผ่นได้อีกครั้ง
และขยายไปถึงดินแดนคาร์ทูม (Khartoum) ทางทิศใต้ และเหนือก็จรดทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ก่อนจะถูก "จักรวรรดิอัสซีเรียน" (Assyrian Empire) จากเอเชียตะวันตก แผ่อำนาจเข้ามารุกรานจนต้องหนีโยกย้ายกลับไปถิ่นฐานเดิม ทางตอนใต้ของแม่น้ำไลน์อย่างถาวร
6.ดินแดนคูช
อารยธรรมนูเบียนนั้นไม่ได้เพิ่งเกิดในราชวงศ์ที่ 25 แต่วัฒนธรรมของพวกเขาเก่าแก่ควบคู่ไปกับอารยธรรมอียิปต์ ชาวอียิปต์จึงเรียกชาวนูเบียนว่า "คูช" (Kush) ตั้งแต่ราชวงศ์ที่ 1 (ประมาณ 3,000 ปีก่อนคริสตกาล) ดินแดนคูชเป็นแหล่งขุมทรัพย์ที่เป็นเหมืองทองที่อียิปต์ต้องการ
และชาวนูเบียน (คูช) ก็ครอบครองสิ่งล้ำค่านี้จนถึงราชวงศ์ที่ 18 ของอียิปต์ (ศตวรรษที่ 16-13 ก่อนคริสตกาล) จนกระทั่งเข้ามายึดครองและผนวกดินแดนคูช จนเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรอียิปต์ในเวลาต่อมา
Pyramids of the Kingdom of Kush
7.ชาวนูเบียนได้รับอารยธรรรมจากอียิปต์
ช่วงนั้นอาณาจักรอียิปต์สร้างค่ายทหารรักษาการณ์ไว้ตลอดลำน้ำไนล์ ในดินแดนคูชทำให้ชนชั้นปกครองของชาวนูเบียนก็เริ่มรับเอาอารยธรรมอียิปต์เข้ามาสู่ดินแดนของตน ตั้งแต่นั้นมาไม่ว่าจะวัฒนธรรม, ภาษา, ความเชื่อ, รวมถึงเทพเจ้าอียิปต์ ก็กลายเป็นส่วนหนึ่งของอารยธรรมนูเบียนไปโดยปริยาย จนได้ปกครองและสถาปนาราชวงศ์ที่ 25 ในศตวรรษที่ 8 ก่อนคริสตกาลนั่นเอง
8.รับมรดกและอารยธรรมอียิปต์อย่างเต็มตัว
ในยุคราชวงศ์ที่ 25 (ฟาโรห์ปิเย) ก็ได้รับมรดกและอารยธรรมอียิปต์เข้ามาอย่างเต็มตัว ไม่ว่าจะบูชา "เทพอามุน" (Amun) ที่ยึดถือปฎิบัติกันมา หรือการบูรณะวิหารเทพอามุนแห่ง "เจเบล บาร์กัล" (Great Temple of Amun at Jebel Barkal) โดยได้จ้างช่างแกะสลักหินแห่งอียิปต์จำนวนมากในการบูรณะวิหาร
Great Temple of Amun at Jebel Barkal
9.เป็นฟาโรห์ผิวดำที่ไม่ค่อยถูกเอ่ยถึง
ถึงแม้ว่าชาวนูเบียนจะถูกบีบให้กลับทางใต้ในเวลาต่อมา แต่พวกเขาก็ยังคงรักษาขนบธรรมเนียมในการฝังพระศพ และการสร้างพีระมิดเหนือสุสานกษัตริย์สืบต่อมา และพีระมิดของชาวนูเบียนยังมีความลาดชันมากกว่าพีระมิดของอียิปต์ด้วย ซึ่งได้มีการค้นพบพีระมิดในพื้นที่ประเทศซูดานจำนวนมาก
มากกว่าพีระมิดในประเทศอียิปต์ซะอีก แต่ในยุคสมัยอันสั้นของราชวงศ์ที่ 25 (ฟาโรห์ปิเย) การศึกษาประวัติศาสตร์อียิปต์ มักไปอยู่กับชนชาติอื่นมากกว่า จึงทำให้เรื่องราวของ "ปิเยฟาโรห์ผิวดำ" จึงไม่ค่อยดังหรือไม่ได้ถูกพูดถึงบ่อยนักนั่นเอง
ขอบคุณภาพจาก : google