ทุเรียนมีประโยชน์มากกว่าที่คุณคิดเยอะมาก
ประโยชน์ของทุเรียน ทุเรียนมีประโยชน์ที่คุณคิดเยอะมาก
สรรพคุณทางยาของทุเรียน
เนื้อทุเรียน : เนื้อทุเรียนมีกำมะถันเป็นส่วนประกอบหลัก ทำให้ร้อน โดยความร้อนนี้จะช่วยแก้โรคผิวหนังได้ ทำให้ฝีหนองแห้งเร็ว และมีฤทธิ์ขับพยาธิ
เปลือก : เปลือกแข็งด้านนนอกที่มีหนามแหลม เมื่อนำไปสับแช่ในน้ำปูนใส แล้วสามารถใช้สมานแผลได้ เอามาล้างแผลพุพอง แผลน้ำเหลืองเสียจะช่วยให้แผลหายเร็ว อีกทั้งคนสมัยก่อนจะเอาเปลือกทุเรียนไปเผาแล้วบดเป็นผง นำมาผสมกับน้ำมันงาหรือน้ำมันมะพร้าว แล้วเอามาพอกที่คางจะทำให้คางทูมยุบลงได้
ใบทุเรียน: เอาใบทุเรียนไปต้มกับน้ำแล้วเอาน้ำนั้นมาอาบ ความร้อนจะช่วย ให้หายไข้และโรคดีซ่านได้
ราก: ตัดเป็นข้อๆ ใส่หม้อต้มให้เดือด นำมาดื่มรักษาอาการท้องร่วงได้ดี และสารสกัดจากใบและรากทุเรียนใช้เป็นยาแก้ไข้ได้ ด้วยการใช้น้ำจากใยวางบนศีรษะของผู้ป่วยจะช่วยลดไข้ดี
ประโยชน์ต่อร่างกาย
-ทุเรียนพันธุ์หมอนทองสามารถช่วยลดระดับไขมันหรือคอเลสเตอรอลได้ เพราะทุเรียนสายพันธุ์นี้มีสารโพลีฟีนอล (Pholyphenols) และมีเส้นใยที่ช่วยลดไขมันได้ แต่ว่าต้องรับประทานแค่ 1 พูต่อวัน (นพ.กฤษดา ศิรามพุช)
เนื่องจากทุเรียนมีสารต่อต้านอนุมูลอิสระ การบริโภคทุเรียนในปริมาณที่เหมาะสมจะช่วยป้องกันการเกิดโรคในมนุษย์ได้ เช่น โรคหัวใจ และโรคมะเร็ง เป็นต้น
แม้ทุเรียนจะมีไขมันมากก็ตาม แต่ก็เป็นไขมันชนิดดีที่ไม่เป็นโทษต่อร่างกาย
-เส้นใยของทุเรียนมีส่วนช่วยในการขับถ่ายให้สะดวกยิ่งขึ้น
คุณค่าทางโภชนาการของเนื้อทุเรียนต่อ 100 กรัม
-พลังงาน 174 กิโลแคลอรี่
-คาร์โบไฮเดรต 27.09 กรัม
-เส้นใย 3.8 กรัม
-ไขมัน 5.33 กรัม
-โปรตีน 1.47 กรัม
-วิตามินเอ 44 หน่วยสากล
-วิตามินบี1 0.374 มิลลิกรัม 33%
-วิตามินบี2 0.2 มิลลิกรัม 17%
-วิตามินบี3 1.74 มิลลิกรัม 7%
-วิตามินบี5 0.23 มิลลิกรัม 5%
วิตามินบี6 0.316 มิลลิกรัม 24%
-วิตามินบี9 36 ไมโครกรัม 9%
-วิตามินซี 19.7 มิลลิกรัม 24%
-ธาตุแคลเซียม 6 มิลลิกรัม 1%
-ธาตุเหล็ก 0.43 มิลลิกรัม 3%
-ธาตุแมกนีเซียม 30 มิลลิกรัม 8%
-ธาตุแมงกานีส 0.325 มิลลิกรัม 15%
-ธาตุฟอสฟอรัส 39 มิลลิกรัม 6%
-ธาตุโพแทสเซียม 436 มิลลิกรัม 9%
-ธาตุโซเดียม 2 มิลลิกรัม 0%
-ธาตุสังกะสี 0.28 มิลลิกรัม 3%
% ร้อยละของปริมาณแนะนำที่ร่างกายต้องการในแต่ละวันสำหรับผู้ใหญ่
(ข้อมูลจาก : Agricultural Research Service United States Department of Agriculture
National Nutrient Database for Standard Reference Release 27)