โรงเรียนแห่งแรกของไทย!
โรงเรียนเก่าแก่ที่สุดของไทย ชาย-หญิง
รู้กันดีอยู่แล้วว่า การศึกษา การก่อตั้งโรงเรียน เริ่มขึ้นตั้งแต่สมัย พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวฯ รัชกาลที่ ๔ และสืบเนื่องจากการมีชาวต่างประเทศ ได้เริ่มเข้ามาติดต่อ ทางสัมพันธไมตรี ทางการค้า และเข้ามาเผยแพร่ศาสนาคริสต์ ตั้งแต่ในสมัยรัชกาลที่ ๓ ต่อมาในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวฯ นำวิทยาการต่างๆ ของชาวตะวันตก ก็ได้เข้ามาเผยแพร่มากขึ้น
โรงสกูล (School) หรือ โรงเรียนหลวง โรงเรียนแรกของเมืองไทย
: หลังจากที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวฯ ทรงขึ้นครองราชสมบัติ ในปีพุทธศักราช 2411 ต่อมาอีกไม่กี่ปี ในปีพุทธศักราช 2414 พระองค์ท่านได้โปรดเกล้าฯ ให้ ตั้งโรงเรียนขึ้นเป็นครั้งแรกในสยาม สถานที่ดังกล่าวนี้ คือ โรงสกูลหลวง (โรงเรียนหลวง) และ โรงเรียนหลวงสอนภาษาอังกฤษ
: โรงสกูลหลวง ตั้งอยู่ข้างโรงละครเก่าในสนาม วัดพระศรีรัตนศาสดาราม โดยครูใหญ่คนแรกก็คือ หลวงสารประเสริฐ ปลัดกรมอาลักษณ์ (นามจริง “น้อย อาจารยางกูร ต่อมา ได้เลื่อนบรรดาศักดิ์เป็น “พระศรีสุนทรโวหาร”) และโปรดฯ ให้ตั้งโรงเรียนหลวงสอนภาษาอังกฤษสำหรับสอนภาษาอังกฤษ ให้กับสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ และหม่อมเจ้าต่างกรม ที่ทรงได้เรียนภาษาไทยแล้ว โดยตั้งอยู่ที่ตึกสองชั้น ข้างประตูพิมานไชยศรี ด้านทิศตะวันออก มีนายฟรานซิส ยอร์ช แปเตอร์สัน เป็นครูผู้สอน
โรงเรียนสวนนันทอุยาน (กำเนิด “โรงเรียน” ที่มีคุณลักษณะ เป็นโรงเรียนอย่างแท้จริง)
ต่อมาเมื่อนาย ฟรานซิส ยอร์ช แปเตอร์สัน ครูสอนภาษาอังกฤษ กราบทูลฯ ขอลากลับยุโปร ในปีพุทธศักราช 2419 โรงเรียนสอนภาษาอังกฤษ จึงต้องเลิกไป จนกระทั่งในปี พุทธศักราช 2422 จึงทรงโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งโรงเรียนสอนภาษาอังกฤษขึ้นมาใหม่ ณ พระราชวัง นันนทอุทยาน เรียกชื่อว่า “โรงเรียนนันทอุทยาน” หรือ “โรงเรียนสวนนันทอุยาน” โดยโปรดฯ ให้หมอแมคฟาร์แลนด์ (S.G. Mc. Farland) มิชชั่นนารีชาวอเมริกัน ทำหน้าที่เป็นครูใหญ่ และมีคณะกรรมการคณะหนึ่ง จำนวน 8 ท่าน ทำหน้าที่ควบคุม ดูและจัดการ และนี่คือกำเนิด “โรงเรียน” ที่มีคุณลักษณะ เป็นโรงเรียนอย่างแท้จริง แทนการเรียนตามวัด หรือบ้าน อย่างที่เคยเป็นมา
โรงเรียนวัดแห่งแรกของไทย
ในสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีพระราชปรารภให้จัดตั้งโรงเรียนขึ้นหลายแห่ง แต่ ส่วนใหญ่จะเป็นโรงเรียนสำหรับราชนิกูลหรือบุตรหลานของข้าราชการ พระองค์จึงได้ทรงโปรดฯ ให้พระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้าดิศวรกุมาร ตั้งโรงเรียนหลวงขึ้น เพื่อให้บุตรหลานของเหล่าราษฎรได้เล่าเรียน
ในปี 2427 ที่ได้ มีการตั้งโรงเรียนเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบ โรงเรียนหลวง สำหรับราษฎร ขึ้นตามวัดหลายแห่งทั้งในพระนคร และตามหัวเมืองสำคัญ ๆ ดังนั้น โรงเรียนหลวงสำหรับราษฎรแห่งแรกจึงถือกำเนิดขึ้น ที่กรุงเทพฯ นี่เอง ณ วัดมหรรณพาราม ถนนตะนาว ตำบลเสาชิงช้า อำเภอพระนคร โรงเรียนหลวงสำหรับราษฎร แห่งแรกนี้ ก็คือ “โรงเรียนวัดมหรรณพาราม” หรือ “โรงเรียนวัดมหรรณพ์” โดยเปิดสอนในระดับชั้นอนุบาลถึงระดับชั้นประถมศึกษาแบบสหศึกษา
โรงเรียนชายล้วนเก่าแก่ที่สุดในประเทศไทย (เอกชน)
เพื่อนๆเคยได้ยินและรู้จัก โรงเรียนในกลุ่มจตุรมิตร กันบ้างรึเปล่า ซึ่งประกอบไปด้วย โรงเรียนชายล้วนเก่าแก่ 4 สถาบันของประเทศไทยคะ ได้แก่ โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย โรงเรียนเทพศิรินทร์ และโรงเรียนอัสสัมชัญ นั่นเอง ..
โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย (Bangkok Christian College หรือ BCC) เป็นโรงเรียน (เอกชน) เก่าแก่ที่สุดของประเทศไทย ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2395 (ค.ศ. 1852) โดยคณะคณะมิชชันนารีอเมริกันเพรสไบทีเรียน?ถือเป็น โรงเรียนชายล้วนแห่งแรกในประเทศไทย
เป็นยังไงกันบ้างคะ เรียกได้ว่าประวัติความเป็นมานั้นยาวนานมากๆ แต่ละโรงเรียนเก่าแก่สุดๆ