ภัยธรรมชาติที่สูญเสียมากเป็นประวัติการ?
เหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นบนโลกใบนี้ แต่ละเหตุุการณ์ล้วนก่อให้เกิดความเสียหายทั้งชีวิตและทรัพย์สิน ซึ่งบางเหตุการณ์มูลค่าความเสียหายมากมายมหาศาล เราจะรวบรวมเหตุการณ์ไว้ที่นี้ ไปดูกันครับ..
ทุกครั้งที่เกิดเหตุการณ์ภัยธรรมชาติอย่างแผ่นดินไหวขึ้น ไม่ว่าจะเป็นที่ใดในโลก ก็มักจะมีคำถามทิ้งไว้เบื้องหลังทุกเหตุการณ์ เกี่ยวกับความแข็งแรงของอาคารที่อยู่อาศัย รวมทั้งอาคารสูงต่างๆในเขตเมืองใหญ่ๆ และเช่นเดียวกันครับ ล่าสุดกับเหตุการณ์แผ่นดินไหวครั้งรุนแรงที่สุดอีกครั้งบนเกาะคิวชู ทางตอนใต้ของญี่ปุ่น ซึ่งคงต้องบอกว่าในความโชคร้ายก็ยังคงมีความโชคดีอยู่บ้าง ที่ศูนย์กลางของเหตุการณ์นี้ คือเมืองที่เป็นธรรมชาติมากๆ อย่างคุมาโมโตะ และเมืองรายรอบอย่าง เบปปุ และโออิตะ ซึ่งเมืองเหล่านี้มีอาคารสูงไม่มากนัก หากเทียบกับเมืองใหญ่ๆ อย่างโตเกียว แน่นอนครับว่า หากศุนย์กลางแผ่นดินไหวขยับเข้าสู่เมืองใหญ่ ความเสียหายคงจะมากกว่านี้หลายร้อยเท่านัก
ย้อนกลับไปมองเหตุการณ์แผ่นดินไหวครั้งใหญ่ของญี่ปุ่น หลายคนคงจำ “The Great Hanshin earthquake” หรือแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ฮันชินที่เมืองโกเบได้ (เวลาเกิดประมาณ 05:46 น. วันที่ 17 มกราคม 2538) นั่นคือรอยร้าวที่ฝังลึกในประวัติศาสตร์ของประเทศญี่ปุ่น โดยแรงสั่นไหวมีขนาดถึง 6.8 แมกนิจูด ศูนย์กลางของแผ่นดินไหวห่างจากเมืองโกเบ 20 กิโลเมตร และระยะเวลาการสั่นสะเทือนเพียงแค่ 20 วินาที คร่าชีวิตผู้คนไปกว่า 6,400 คน และไร้ที่อยู่อาศัยประมาณ 300,000 คน นอกจากนี้มีสิ่งปลูกสร้างเสียหายถึง 400,000 ยูนิต รวมมูลค่าความเสียหายทั้งสิ้นกว่า 10 ล้านล้านเยน
เช่นเดียวกัน
26 เมษายน 2529 เป็นอีกวันแสนเศร้าที่โลกต้องจดจำ เพราะวันนี้เมื่อ 34 ปีที่แล้ว โรงไฟฟ้า นิวเคลียร์ เชอร์โนบิล (Chernobyl nuclear power plant) เกิดการระเบิดขึ้น และถือได้ว่าเป็นอุบัติภัยของโรงไฟฟ้า นิวเคลียร์ ที่ร้ายแรงที่สุดในประวัติศาสตร์มนุษยชาติคือ ความรุนแรงระดับ 7 ซึ่งเป็นความรุนแรงสูงสุด และเป็นอุบัติเหตุร้ายแรงที่สุดในรอบ 56 ปีตั้งแต่มีการก่อตั้งโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ขึ้นมาในโลกนี้
โรงไฟฟ้านิวเคลียร์เชอร์โนบิล ตั้งอยู่ที่เมืองพรีเพียต ภายใต้การปกครองของประเทศสหภาพโซเวียต ซึ่งปัจจุบันคือที่ตั้งของประเทศยูเครน เหตุการณ์ระเบิดครั้งนั้นเกิดจากเตาปฏิกรณ์ 1 ใน 4 เตาของโรงไฟฟ้าเกิดไฟไหม้นานถึง 9 วัน หลังทดลองเดินเครื่อง มีผู้เสียชีวิตทันที 47 ราย พื้นที่ในรัศมี 30 กิโลเมตร รอบโรงไฟฟ้า เชอร์โนบิล ถูกประกาศให้เป็นเขตอันตราย และต่อมาเพียง 1 ปี มีผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์นี้เพิ่มเป็น 4,000 คน
การระเบิดครั้งนั้นทำให้เกิดการรั่วไหลของสารซีเซียม-137 ได้ตกค้างอยู่ในระบบนิเวศ มีรายงานว่าในรัศมี 30 กิโลเมตร ซึ่งมีประชาชนอาศัยอยู่ราว 5-8 ล้านคน กลายเป็นเขตปนเปื้อนกัมมันตภาพรังสีเข้มข้น และแพร่กระจายไปอีก 14 ประเทศแถบยุโรป ไกลถึง ออสเตรีย สวีเดน ฟินแลนด์ นอร์เวย์ ซึ่งมีการตรวจพบสารปนเปื้อนทั้งในพืชพรรณ ธรรมชาติ ในเนื้อสัตว์ และนมวัว
ช่วง 3-5 ปีแรก หลังการระเบิด พบว่ามีผู้ป่วยมะเร็งต่อมไทรอยด์เนื่องจากได้รับสารปนเปื้อนไอโอดีน-131 ที่แฝงมากับนมวัว จากวัวที่กินหญ้าปนเปื้อนสารดังกล่าว ในปี พ.ศ. 2535 เด็กๆ ในยูเครนป่วยเป็นมะเร็งต่อมไทรอยด์เพิ่มขึ้น 7 เท่า