Share Facebook LINE Twitter
หน้าแรก เว็บบอร์ด Chat ตรวจหวย ควิซ คำนวณ Pageแชร์ลิ้ง
หน้าแรก ตรวจหวย เว็บบอร์ด ควิซ Pic Post แชร์ลิ้ง หาเพื่อน Chat หาเพื่อน Line หาเพื่อน Skype Page อัลบั้ม คำคม Glitter เกมถอดรหัสภาพ คำนวณ การเงิน
ติดต่อเว็บไซต์ลงโฆษณาลงข่าวประชาสัมพันธ์แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสมเงื่อนไขการให้บริการ
เว็บบอร์ด บอร์ดต่างๆค้นหาตั้งกระทู้

เช็คด่วน ใครมีอาการเหล่านี้ เสี่ยงเป็นโรคซึมเศร้า

เนื้อหาโดย Bonloon

 โรคซึมเศร้า  

      โรคซึมเศร้า เป็นอีกโรคหนึ่งที่มีจำนวนผู้ป่วยเพิ่มมากขึ้นในปัจจุบัน แต่ยังมีผู้รู้จักโรคนี้ไม่มากนัก บางคนเป็นโดยที่ตัวเองก็ไม่ทันรู้ตัว หรือบางคนก็คิดว่าเป็นเพราะตนเองคิดมากไปเอง ทำให้ไม่ได้รับการรักษาที่เหมาะสม และทันท่วงที ซึ่งโรคซึมเศร้านั้นสามารถส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันทั้งทางร่างกายและจิตใจได้มากทีเดียว ไม่ว่าจะเป็นการทำให้รู้สึกเบื่อหน่ายเศร้า วิตกกังวล มีปัญหาเรื่องการทานอาหาร รวมไปถึงการนอนหลับ ร้ายแรงสุดถึงขั้นคิดฆ่าตัวตายได้เลย 

โรคซึมเศร้าคืออะไร

โรคซึมเศร้า เป็นอาการผิดปกติของอารมณ์ ซึ่งส่งผลกระทบต่อผู้ป่วยทั้งด้านความคิด ความรู้สึก และพฤติกรรม โรคซึมเศร้าเป็นภาวะอารมณ์เศร้าหมองที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ความรู้สึกเฉยชา ไม่สนใจสิ่งต่าง ๆ ส่งผลต่อความสามารถในการทำงานในแต่ละวัน ซึ่งก่อให้เกิดอาการทางจิตได้มากมาย การดำเนินชีวิตตามปกติอาจทำได้อย่างยากลำบากหรือรู้สึกว่าชีวิตไม่มีค่า 

อาการของโรคซึมเศร้า

เมื่อมีอาการซึมเศร้าครั้งหนึ่งแล้ว อาการอาจกำเริบขึ้นได้อีก ภาวะโรคซึมเศร้ามักจะเกิดขึ้นเป็นระลอก อาการที่อาจพบได้เสมอๆ ได้แก่

-รู้สึกเศร้า ว่างเปล่า อยากร้องไห้ สิ้นหวัง

-รู้สึกโกรธ หงุดหงิด รำคาญเรื่องเล็กน้อย

-หมดความสนใจ หรือรู้สึกไม่สนุกกับกิจกรรมส่วนใหญ่หรือกิจกรรมทั้งหมดในชีวิตประจำวัน เช่น เพศสัมพันธ์ กีฬา หรืองานอดิเรก

-ปัญหาด้านการนอนหลับ เช่น นอนมากเกินไป หรือ นอนไม่หลับ

-เหนื่อยล้า ไม่มีความกระตือรือร้นที่จะทำเรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ

-ความอยากอาหารลดลง น้ำหนักลด หรือ ความอยากอาหารเพิ่มขึ้น น้ำหนักขึ้น

-รู้สึกวิตกกังวล กระสับกระส่าย ประหม่า

-คิดช้าลง พูดหรือขยับร่างกายช้าลง

-รู้สึกไร้ค่า รู้สึกผิด หมกหมุ่นเรื่องความล้มเหลวที่ผ่านมาแล้วหรือโทษตัวเอง

-ขาดสมาธิ มีปัญหาเรื่องความจำ หรือไม่สามารถคิดหรือตัดสินใจเองได้

-คิดถึงเรื่องความตาย การพยายามฆ่าตัวตายบ่อย ๆ

-มีอาการป่วยทางกายที่ไม่พบสาเหตุ เช่น ปวดหัว ปวดหลัง

ผู้ป่วยโรคซึมเศร้ามักมีอาการมากจนกระทบชีวิตประจำวัน เช่น การไปโรงเรียน การทำงาน หรือการพบปะสังสรรค์ บางรายอาจรู้สึกเศร้าหมอง ไม่มีความสุขโดยไม่ทราบสาเหตุ 

ภาวะซึมเศร้าในเด็กและวัยรุ่น

อาการของโรคซึมเศร้าในทุกวัยมักมีอาการคล้าย ๆ กัน แต่อาจมีบางอาการที่ต่างกันไปตามวัย

-ในวัยเด็ก อาจมีอาการเศร้า รำคาญ เกาะติดพ่อหรือแม่ กังวล น้ำหนักลด ไม่อยากไปโรงเรียน หรือมีอาการเจ็บปวดตามร่างกาย

-ในวัยรุ่น อาจมีอาการเศร้า รำคาญ หงุดหงิด มองโลกในแง่ร้าย รู้สึกไร้ค่า มักรู้สึกว่าไม่มีใครเข้าใจ ขี้ใจน้อย หมดความสนใจในเรื่องต่าง ๆ ไม่เข้าสังคม ใช้สารเสพติดหรือดื่มแอลกอฮอล์ นอนหรือทานอาหารมากเกินไป ทำร้ายตัวเอง โดดเรียน หรือการเรียนแย่ลง 

ภาวะซึมเศร้าในผู้สูงวัย

ภาวะซึมเศร้าพบได้บ่อยในผู้สูงวัย แต่ไม่ถือเป็นภาวะปกติของคนสูงวัย ภาวะดังกล่าวเป็นเรื่องน่าเป็นห่วงและควรได้รับการรักษาทันท่วงที แต่โดยมากผู้ป่วยมักไม่ยอมเข้ารับการรักษาและวินิจฉัยโรค ในผู้สูงวัยมักมีอาการต่างออกไปหรือไม่ชัดเจน ได้แก่

-พฤติกรรมเปลี่ยน ความจำถดถอย

-อาการเจ็บปวดตามร่างกาย

-เหนื่อยล้า เบื่ออาหาร มีปัญหาด้านการนอน หมดความสนใจเรื่องเพศสัมพันธ์ซึ่งไม่สัมพันธ์กับยาหรืออาการอื่น ๆ

-มีความคิดหรือความรู้สึกอยากฆ่าตัวตาย โดยเฉพาะในเพศชายสูงอายุ 

ควรพบแพทย์เมื่อไร

เมื่อรู้สึกว่ามีภาวะซึมเศร้าควรรีบพบแพทย์โดยทันที หรือคุยกับครอบครัว เพื่อน หรือคนใกล้ชิดที่ไว้วางใจ

สาเหตุของโรคซึมเศร้า

สาเหตุที่แท้จริงของโรคซึมเศร้านั้นยังไม่ทราบแน่ชัด เพราะอาการนั้นสัมพันธ์กับความผิดปกติทางจิต ปัจจัยหลาย ๆ ด้านจึงอาจส่งผลกระทบได้

ความแตกต่างทางด้านชีวภาพ: ได้พบความเปลี่ยนแปลงทางกายภาพของสมองในผู้ป่วยโรคซึมเศร้า ความสำคัญของการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวต่อโรคซึมเศร้ายังไม่เป็นที่ประจักษ์ชัด แต่อาจจะช่วยชี้นำไปสู่สาเหตุของโรคได้

สารเคมีในสมอง: สารสื่อประสาทในสมองส่งผลต่อความรู้สึก จากงานวิจัยเมื่อไม่นานมานี้ชี้ให้เห็นว่าการเปลี่ยนแปลงของสารสื่อประสาทในสมองและปฏิสัมพันธ์ของสารดังกล่าวกับวงจรระบบประสาท อาจมีส่วนเกี่ยวข้องกับการเกิดภาวะซึมเศร้า ซึ่งสำคัญต่อการรักษา

การเปลี่ยนแปลงฮอร์โมน: ระดับฮอร์โมนที่ไม่สมดุลอาจจะเป็นตัวกระตุ้นภาวะซึมเศร้า โดยการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวอาจเกิดขึ้นระหว่างตั้งครรภ์ หลังคลอดบุตร หรือหลังหมดประจำเดือน ผู้ป่วยอาจมีอารมณ์แปรปรวนหากมีภาวะโรคไทรอยด์หรือโรคอื่น ๆ

พันธุกรรม: ความเสี่ยงของการป่วยเป็นโรคซึมเศร้าสูงขึ้นหากสมาชิกในครอบครัวเคยป่วยเป็นโรคซึมเศร้ามาก่อน 

ปัจจัยเสี่ยงโรคซึมเศร้า

ภาวะซึมเศร้าเกิดขึ้นได้ในทุกวัย แต่อาการมักเริ่มตั้งแต่ในวัยรุ่น และมักพบในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย แต่อาจเป็นเพราะเพศหญิงมักเข้ารับการรักษามากกว่า ปัจจัยที่ก่อให้เกิดภาวะซึมเศร้า มีดังนี้

-ลักษณะนิสัยบางประการ เช่น การมองโลกในแง่ร้าย การตำหนิติเตียนตนเอง การพึ่งพาคนอื่นมากเกินไป การไม่นับถือตนเอง

-ผ่านเหตุการณ์ที่สร้างความบอบช้ำทางจิตใจ เช่น ถูกทำร้ายร่างกาย ถูกทารุณกรรมทางเพศ สูญเสียคนในครอบครัวหรือบุคคลอันเป็นที่รัก มีปัญหาด้านความสัมพันธ์ หรือปัญหาด้านการเงิน

-คนในครอบครัวมีประวัติติดสุราเรื้อรัง ฆ่าตัวตาย เป็นโรคซึมเศร้า และไบโพลาร์

-ภาวะเบี่ยงเบนทางเพศสภาพ ซึ่งไม่ได้รับการยอมรับจากคนรอบข้าง

-มีประวัติความเจ็บป่วยทางจิตเวช เช่น พฤติกรรมการกินอาหารที่ผิดปกติ โรควิตกกังวล หรือสภาวะป่วยทางจิตใจหลังจากต้องเผชิญกับเหตุการณ์กระทบกระเทือนใจอย่างรุนแรง

-ภาวะติดสุราหรือสารเสพติด

-โรคเจ็บป่วยเรื้อรัง เช่น โรคหลอดเลือดสมอง โรคมะเร็ง โรคหัวใจ

-การใช้ยา เช่น ยานอนหลับ หรือยาลดความดันโลหิต ควรปรึกษาแพทย์ก่อนเปลี่ยนหรือหยุดยาทุกครั้ง 

ภาวะแทรกซ้อน

โรคซึมเศร้าเป็นปัญหาที่ส่งผลต่อผู้ป่วยและผู้คนรอบข้าง อาการมักแย่ลงหากไม่ได้รับการรักษา ซึ่งอาจส่งผลต่อปัญหาด้านอารมณ์ พฤติกรรม รวมถึงสุขภาพและการใช้ชีวิต ภาวะแทรกซ้อนที่พบได้ ดังนี้

-ภาวะน้ำหนักเกินหรือโรคอ้วน ซึ่งอาจนำไปสู่โรคหัวใจและโรคเบาหวาน

-ความเจ็บปวดและเจ็บป่วยทางร่างกาย

-การติดสุราและสารเสพติด

-โรควิตกกังวล โรคแพนิค หรือโรคกลัวสังคม

-ปัญหาด้านความสัมพันธ์ เช่น ครอบครัว ที่ทำงาน และโรงเรียน

-แยกตัวออกจากสังคม

-คิดหรือพยายามฆ่าตัวตาย

-ทำร้ายตัวเอง

-การตายก่อนวัยอันควร 

การป้องกันโรคซึมเศร้า

ยังไม่มีวิธีป้องกันภาวะซึมเศร้า แต่หากเริ่มมีอาการผู้ป่วยควรจะ

-ควบคุมอารมณ์ความเครียด ยืดหยุ่น รักและนับถือตนเอง

-พูดคุยกับครอบครัวหรือเพื่อน โดยเฉพาะในช่วงเวลายากลำบาก เพื่อระบายความรู้สึก

-เมื่อเริ่มรู้สึกซึมเศร้า ควรเข้ารับการตรวจวินิจฉัยเพื่อป้องกันไม่ให้อาการแย่ลง

-ควรเข้ารับการรักษาอย่างสม่ำเสมอระยะยาว เพื่อป้องกันไม่ให้ภาวะซึมเศร้าเกิดซ้ำ 

 

อ่านจบแล้วเป็นยังไงบ้างคะ โรคซึมเศร้าที่หลายๆคนกลัว จริงๆแล้วหากเรารักษาถูกวิธี หรือมีคนช่วยให้กำลังใจ ให้คำแนะนำ ก็จะสามารถผ่านพ้นมันไปได้ค่ะ

เนื้อหาโดย: Longjai
⚠ แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสม 
Bonloon's profile


โพสท์โดย: Bonloon
เป็นกำลังใจให้เจ้าของกระทู้โดยการ VOTE และ SHARE
มาเป็นคนแรกที่ VOTE ให้กระทู้นี้
Hot Topic ที่น่าสนใจอื่นๆ
“ภาวะหัวใจสลาย” อกหัก เสียใจมาก ๆ หัวใจจะสลายจนตายได้ไหม ?"เชฟกระทะฮ้าง" เจอแฉซ้ำ เพจดังลุยขุดอดีตไม่มีพักเกิดเหตุแผ่นดินไหว ก่อนคลื่นยักษ์ เข้าปะทะปาปัวนิวกินีปลานิลผัดคื่นช่าย ทำกินได้ ทำขายได้กำไรงานงอกมีคลิปหนัง Minecraft ฉบับตัดต่อไม่เสร็จออกเผยแพร่ทางออนไลน์หนุ่มจีนถูกไล่ออกจากอพาร์ทเมนต์ถึง 2 ครั้ง เพราะนำลูกวัวป่ามาเป็นสัตว์เลี้ยงนายกแคนดาลั่น "แคนาดาจะเป็นผู้นำโลก!!""แอมป์ พีรวัศ" ขายขนมปัง 8 ชั่วโมงกว่าจะได้อันแรก ร้องไห้เพราะกลัวลูกเมียลำบากเซฟกะทะฮ้าง ยอมรับผิดเต็มปาก หลังดราม่าด่าผู้บริหารค่ายมือถือดัง"คิมโบรา" เพื่อนรัก "คิมแซรน" โพสต์อาลัยเพื่อนรัก หลังตายไป 49 วัน
Hot Topic ที่มีผู้ตอบล่าสุด
รอยเลื่อนในประเทศไทยมีที่ไหนบ้าง อยากรู้ห้ามพลาดJujutsu Kaisen ซีซั่น 3 ยังไม่ออก แต่ตอนสุดท้ายจะทำให้คุณหัวใจสลาย"แอมป์ พีรวัศ" ขายขนมปัง 8 ชั่วโมงกว่าจะได้อันแรก ร้องไห้เพราะกลัวลูกเมียลำบากฝรั่งงง คนไทยไว้ใจกันเกิน วางของไว้เฉยๆ ไม่มีใครขโมยรัสเซียประณามมะกัน หลังมะกันขู่ถล่มอิหร่าน“ภาวะหัวใจสลาย” อกหัก เสียใจมาก ๆ หัวใจจะสลายจนตายได้ไหม ?
กระทู้อื่นๆในบอร์ด สาระ เกร็ดน่ารู้
Yakhchāl: โรงน้ำแข็งโบราณอัจฉริยะของชาวเปอร์เซีย อายุเก่าแก่กว่า 2,400 ปี"ดาบแห่ง Dunvegan: อาวุธโบราณอายุกว่า 500 ปี สุดยอดพลังจากเหล็กสก็อต"ฝรั่งงง คนไทยไว้ใจกันเกิน วางของไว้เฉยๆ ไม่มีใครขโมยต้นหนุมานประสานกาย
ตั้งกระทู้ใหม่
หน้าแรกเว็บบอร์ดหาเพื่อนChatหาเพื่อน Lineหาเพื่อน SkypePic PostตรวจหวยควิซคำนวณPageแชร์ลิ้ง
Postjung
เงื่อนไขการให้บริการ ติดต่อเว็บไซต์ แจ้งปัญหาการใช้งาน แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสม ข่าวประชาสัมพันธ์ ลงโฆษณา
เว็บไซต์นี้ใช้ Cookie
เพื่อประสบการณ์ที่ดีและการใช้งานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ดูข้อมูลเพิ่มเติม อ่านนโยบายการใช้งาน
ตกลง