หน้าแรก ตรวจหวย เว็บบอร์ด ควิซ Pic Post แชร์ลิ้ง หาเพื่อน Chat หาเพื่อน Line หาเพื่อน Skype Page อัลบั้ม แต่งรูป คำคม Glitter สเปซ ไดอารี่ เกมถอดรหัสภาพ เกม วิดีโอ คำนวณ การเงิน
ติดต่อเว็บไซต์ลงโฆษณาลงข่าวประชาสัมพันธ์แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสมเงื่อนไขการให้บริการ
เว็บบอร์ด บอร์ดต่างๆค้นหาตั้งกระทู้

ท่องโลกดึกดำบรรพ์: แอ่งมอริสสัน แอ่งกระทะมรณะ (ยุคจูราสสิค)

โพสท์โดย samuraimasterj

        ยุคจูราสสิคจัดเป็นยุคที่เกิดการบูมทางวิวัฒนาการของสัตว์หลายๆ ชนิดบนโลกของเรา มีทั้งสัตว์ขนาดใหญ่และเล็กปะปนกันไป แต่หนึ่งในสถานที่ที่บอกเล่าเรื่องราวอันน่ามหัศจรรย์นี้ อยู่ที่ภูเขาอันแห้งแล้งแห่งหนึ่งในรัฐโคโลราโด้ มันมีชื่อว่า หมวดหินมอริสสัน

        หมวดหินมอริสสันนี้ มีอายุตั้ง 199 ล้านปีมาแล้ว เป็นหนึ่งในขุมทรัพย์และสถานที่สำคัญอันเป็นมรดกโลกทางบรรพชีวินวิทยา ทุกๆ ปีนักวิทยาศาตร์ นักบรรพชีวินวิทยา และนักธรนีวิทยาจากทั่วสารทิศหลั่งไหลเข้ามาเพราะความสมบูรณ์ของซากดึกดำบรรพ์ที่ขุดค้นพบทุกๆ ปี ครั้งหนึ่งชั้นหินในภูเขานี้ เคยบอกว่าภูเขาลูกนี้เคยเป็นทุ่งหญ้าและป่าโปร่งที่ไม่ต่างอุทยานแห่งชาติห้วยขาแข้งของไทยเท่าใดนัก วันนี้ คุณจะได้เดินทางท่องเวลาไปพบกับเรื่องราวในอดีตของที่นี่กัน มาร่วมผจญภัยไปด้วยกันนะครับ!

       ย้อนไป 199 ล้านปีที่แล้ว สภาพแวดล้อมของแอ่งมอริสสันเป็นแอ่งกะทะของแผ่นดิน ที่ราบลุ่มที่มีน้ำและโคลนดูด ยามฤดูแล้งดินจะแห้งเป็นแผ่น แต่เมื่อฝนตกชุก น้ำจะเติมและมอบความชุ่มชื้นให้กับต้นสนโบราณหลายๆ ต้นที่ขึ้นอยู่รอบๆ รวมถึงเหล่าหญ้งหางม้าที่งอกแทงขึ้นมาจากพื้นดินด้วย 

       คุณเดินเข้ามายังสถานที่แห่งนี้ ทั้งขรุขระและลำบาก พื้นโคลนก็พร้อมจะดูดขา ข้างหน้าก็เหม็นกลิ่นดินและซากสัตว์ มีโครงกระดูกหลายๆ ชิ้นนอนกองทับถมในแอ่งนี้ รอบๆ ข้างมีต้นไม้ขนาดใหญ่ อย่าประมาทแม้แต่ก้าวเดียวเชียวล่ะ ไดโนเสาร์ในยุคนี้ ไม่ใช่ทุกตัวจะเป็นยักษ์ใหญ่ใจดี

       ทันใดนั้น แผ่นดินสั่นสะท้านโครมครามพลันในทันใด คุณรับรู้ถึงแรงสั่นสะเทือนนี้ได้และเงยหน้าขึ้นมอง คอยาวๆ กับร่างของสัตว์ยักษ์ลำตัวอวบอ้วนเป็นมัดกล้ามเหมือนถังไม้นับก้าวเท้าเดินพลางส่งเสียงขู่เบาๆ ในลำคอ พวกมันคือ ซอโรพอด (Sauropods) กลุ่มของไดโนเสาร์คอยาว พวกมันวิวัฒนาการจนกลายเป็นยักษ์ใหญ่ที่ครองพื้นที่นี้ คอยาวๆ ของพวกมันช่วยในการสอดส่องหาพืชมากินเป็นอาหาร และยังใช้ในการระวังภัยป้องกันตัวด้วย 

(ดิปโพลโดคัส)

        เหล่าซอโรพอดนั้นมาดื่มน้ำที่ยังคงเหลือในฤดูแล้ง คุณสังเกตได้ว่าสัตว์ในยุคนี้ต่างก็แบ่งปันแหล่งน้ำที่มีอยู่น้อยนิดจนกว่าฝนจะมา หากพิจรณารูปร่างของซอโรพอดเหล่านี้ ก็จะจำแนกได้สามชนิด ในแอ่งมอริสสันมีซอโรพอดอยู่สามชนิดที่ค้นพบบ่อยๆ ตัวที่คอยาว ปากแบน หางยาวคล้ายแส้ ตาโตนี้ คือ ดิปโพลโดคัส (Diplodocus) พวกนี้พบได้บ่อยมากๆ และมีรูปร่างที่ค่อนข้างจำเพาะ หางยาวคล้ายแส้สามารถตวัดฟาดเกิดแรงที่ทำลายกระดูกได้  พวกเราเคยเชื่อว่าหางยาวๆ นี้ตวัดแล้วสร้างคลื่นเสียงที่ดังมากๆ ได้ ทว่า จากการวิจัยหลักกลศาตร์ของ ดร. ไซม่อน คอนติ พบว่าพวกมันตวัดหางด้วยความเร็วเพียง 100 กิโลเมตร/ชั่วโมงเอง จึงไม่ดังมาก แต่ก็เพียงพอจะขับไล่นักล่าได้ และจากการค้นพบซากดิปโพลโดคัสหลายๆ ตัวในแอ่งกะทะนี้ เราจึงรู้ว่าพวกมันในวัยเด็กจะอยู่กันอย่างกระจัดกระจายในป่า แล้วค่อยๆ โตขึ้นมารวมฝูง เพราะเราพบซากของแต่ละช่วงวัยที่อาศัยแยกกัน

             (อะแพตโตซอรัส)

        ซอโรพอดอีกสองชนิดก็น่าสนใจไม่แพ้กัน ตัวนี้อ้วนกลม คอสั้นกว่าแต่ก็ดูแข็งแรง ยักษ์ใหญ่ตัวนี้คือ อะแพตโตซอรัส (Apatosaurus) พวกมันเป็นไดโนเสาร์ที่ผู้คนนิยมมากๆ หากดูที่เท้า เล็บของอะแพตโตซอรัสไม่เหมือนช้างหรือแรดในปัจจุบัน แต่มีนิ้วสั้นๆ แยกออกมาเป็นเล็บแหลมๆ โดยที่เล็บหัวแม่โป้งโค้งแหลมคล้ายมีด อีกชนิดที่อยู่ข้างๆ กันคือ คามาราซอรัส (Camarasaurus) เป็นซอโรพอดที่ตัวใหญ่และคอจะยกสูงแบบยีราฟ รูปทรงของหัวนั้นกลมไม่ยาวยื่นแบบอะแพตโตซอรัส 

       (คามาราซอรัส)

        มองดูรอบๆ ก็มีไดโนเสาร์อีกจำนวนหนึ่งอาศัยอยู่แถวๆ นี้เช่นกัน มีสเตโกซอรัส (Stegosaurus) เจ้าหลังแผ่นที่เราคุ้นเคย สเตโกซอรัสนั้นค่อนข้างทรงพลัง ถึงแม้จะไม่ทราบว่าครีบหลังที่เป็นแผ่นมีไว้ทำอะไร แต่หนามสองคู่ที่หางนั้นใช้ป้องกันตัวได้ โดยมันสามารถทิ่มแทงนักล่าให้เสียเลือดจนเข็ดขยาดได้ สเตโกซอรัสกำลังขุดดินมองหารากไม้ พวกมันพลิกพิ้นดินหาพืชที่ยังถูกเก็บไว้ในโคลนช่วงหน้าแล้ง ถึงปกติช่วงฤดูฝนพวกมันจะมีพืชกิน แต่หน้าแล้งผลักดันให้พวกมันออกมาจากป่ามาอาหารริมแอ่งกะทะ รอบๆ ก็มีไดโนเสาร์ขนาดเล็กที่มีปากเหมือนนกกระจอก นี่คือ ดรายโอซอรัส (Dryosaurus) พวกมันเป็นนักกินเมล็ดพืชที่เก่งฉกาจ สามารถขุดคุ้ยดินด้วยขาหน้าที่ยกขึ้นเพื่อมองหาเมล็ดสนได้

 (สเตโกซอรัส)

       (ดรายโอซอรัส)

        ซอโรพอดบางตัวก็ใช้โอกาสในช่วงที่โคลนตมยังชื้นแฉะ อะแพตโตซอรัสหนุ่มตัวหนึ่งเดินแยกจากกลุ่มออกมาและเริ่มคลุกโคบนเกลือกกลิ้งเกาหลัง โคลนเย็นๆ สามารถช่วยดึงเห็บและแมลงปรสิตที่เกาะตามหลังช่วยให้มันไม่คัน และยังทำให้เย็นจากแสงอาทิตย์ด้วย ถึงจะไม่มีหลักฐานการกลิ้งโคลนโดยตรง หากคุณดูนกปัจจุบัน พวกมันก็มีพฤติกรรมคลุกดินทรายเพื่อไล่แมลงปรสิตออกจากขนและซอกผิวหนังด้วย แต่อย่างเพลิดเพลินมากนักล่ะ

       ทันใดนั้น มีนักล่าขนาดใหญ่ตัวหนึ่งเดินเข้ามา ไดโนเสาร์เทอโรพอดกินเนื้อตัวนี้เด่นสง่า ที่หัวมีนอคล้ายแรดสามนอเป็นแผ่นแบนๆ นอหนึ่งแผ่นอยู่ปลายจมูก อีกข้างอยู่ที่กรอบตา ด้วยความยาวถึงเจ็ดเมตรและสูงสองเมตร นี่คือ เซราโตซอรัส (Ceratosaurus) เจ้าตัวนี้เดินมายังแอ่งกะทะ ไม่ได้มาเพื่อล่าไดโนเสาร์กินพืช มันมาเพื่อหาสิ่งอื่นกิน เจ้านักล่าเดินลงมา คุณเห็นได้ว่ามันใช้ขาหลังขุดดินจนเจอก้อนบางอย่างอยู่ในโคลน นักล่าเริ่มโละสิ่งนั้นและกัดลงไปพร้อมกับเสียงกระดูกและเลือดไหลออกมาจากเจ้าก้อนที่ดิ้นในปาก มันคือตะพาบน้ำนั่นเอง เซราโตซอรัสยามปกติอาจจะกินไดรโอซอรัสหรือแคมป์โตซอรัส (Camptosaurus) ที่เป็นออร์นิโธพอดขนาดใหญ่ แต่ก็มีหลักฐานของฟอสซิลชิ้นส่วน ปลา กุ้ง และกระดูกของเต่าและตะพาบ จึงเชื่อว่ามันจะอาหารเปลี่ยนไปตามแต่ละวัน อีกทั้งอาหารจำพวกสัตว์น้ำนั้นพอจะล่าง่ายกว่าการวิ่งไล่ตามเหยื่อที่รวดเร็ว 

(เซราโตซอรัส)

       และแล้ว ขณะที่ทุกชีวิตกำลังเพลิดเพลิน จู่ๆ ก็ปรากฏฝูงไดโนเสาร์เทอโรพอดจำนวนหนึ่งโผล่ออกมาที่เนินของชายขอบ นักล่าเหล่านี้ดูน่ากลัวมาก นี่คือ อัลโลซอรัส (Allosaurus) พวกมันเป็นเทอโรพอดจากกลุ่มอัลโลซอรอยด์ (Allosauroid) ซึ่งพวกมันมีสายพันธุ์ต่างๆ กระจัดกระจายอยู่ทั่วโลก นักล่าพวกนี้ออกแบบมาเพื่อการฆ่าอย่างแท้จริงและยังดุร้าย ปกติแล้วพวกมันจะแยกกันอยู่มีอณาเขตหากินชัดเจน แต่วันนี้ พวกมันมารวมตัวกันที่แอ่งกะทะเพื่อล่าสัตว์กินเนื้อ ตัวอื่นๆ ก็ตามมาเช่นกัน ทุ่งแล้งและป่าโปร่งไร้ซึ่งเหยื่อให้กินในฤดูแล้ง การมาในที่โล่งนั้นน่าจะง่าย

(อัลโลซอรัส)

       ดิปโพลโดคัสที่เห็นอันตรายก่อนเริ่มกระวนกระวายส่งเสียงดังและเริ่มเดินหนี สัตว์อื่นๆ ก็แตกตื่นไม่เว้นแม้แต่เซราโตซอรัสเช่นกัน อัลโลซอรัสหากสู้กันตัวต่อตัว เซราโตซอรัสอาจจะแพ้ แต่ศัตรูของมันมีมากกว่าและมันก็สามารถตกเป็นเหยื่อได้ คุณเองก็กลิ้งตัวไปหลบหลังก้อนหินก่อนเร็ว!

       อัลโลซอรัสทั้งหลายวิ่งด้วยความเร็วพุ่งตรงมายังอะแพตโตซอรัสหนุ่มที่นอนอยู่ในโคลน ขายาวๆ ของมันกับน้ำหนักตัวที่มหาศาลเริ่มทำให้โคลนที่มันนอนอยู่ค่อยๆ ยึดร่างของมัน หากยืนขึ้นได้ก็อาจจะใช้ขาหน้าสู้กับนักล่า แต่วันนี้มันไม่โชคดีเลยเพราะมัวแต่ติดความสบาย อัลโลซอรัสตัวแรกกระโจนกัดเข้าไปที่ลำคอและอยู่ห่างจากขาหน้าและหาง ตัวที่เล็กกว่าและขาดประสบการณ์ก็พากันเข้าไปกัดขาหน้าบ้าง หางบ้าง แต่ก็ถูกฟาดจนหน้าหงาย นักล่าทั้งหมดเริ่มจมโคลนไปด้วย น้ำหนักที่เติมมาของพวกมันทำให้แอ่งโคลนรับไม่ไหวและดูดพวกมันลงไป มันบ้าคลั่งมากๆฟันของไดโนเสาร์กลุ่มอัลโลซอรอยด์ออกแบบมาสำหรับกัดให้เหยื่อเสียเลือดแล้วจึงวิ่งตาม แถมกรามยังอ้าออกได้ถึง 150 องศาเลย พวกนักล่ากัดเหยื่อแย่งกัน บางตัวตบตีใช้กรงเล็บที่ขาหน้าตีกันให้ตัวที่อ่อนแอเจ็บจะได้ครองซาก แต่พวกมันก็ออกไปไม่ได้จากแอ่งโคลนดูด นักบรรพชีวินวิทยาเคยเชื่อว่าพวกอัลโลซอรอยด์ฉลาดจนมีกลุ่มและสังคมแบบสิงโต แต่เมื่อได้นำตัวอย่างช่องกระโหลกมาทำ CIT สแกนเพื่อดูปริมาตรสมอง พวกมันกลับไม่ฉลาดมากนัก และยังมีสติปัญญาที่ต่ำ การที่เราเจอซากฟอสซิลของพวกมันอยู่รวมกันแสดงว่าพวกมันอาจจะแค่ใช้โอกาสเข้ามากินเหยื่อที่พวกมันเลือก 

       อะแพตโตซอรัสผู้โชคร้ายโชกเลือดขณะที่พวกกินพืชตัวอื่นๆ ตะกายแอ่งโคลนที่ลื่นและชัน เนื่องด้วยมันเป็นดินหลวมๆ ดิปโพลโดคัสตัวหนึ่งลื่นและพลาดกลิ้งทับเซราโตซอรัสจนกลิ้งลงไปกระแทกพื้นทั้งคู่ ทั้งสองกลิ้งทับจนลอยมาติดกับร่างของอะแพตโตซอรัสที่จมดินไปพร้อมกับอัลโลซอรัสทั้งกลุ่ม คุณที่อยู่บนพื้นแห้งๆ ควรจะก้มตัวหลบไปก่อนนะ สเกโตซอรัสชราที่รั้งท้ายถูกคามาราซอรัสถีบกลิ้งตกลงมาเช่นกันจนถูกแท่งกระดูกซี่โครงเก่าๆ ทิ่มทะลุลำคอจนสิ้นใจ ทุกตัวทรมานดิ้นพล่านในแอ่งโคลนมรณะรอความตายโดยมีเลือดและโคลนกลิ่นเหม็นคละคุ้ง แมลงวันนับพันไต่ตอมซากของไดโนเสาร์ที่แน่นิ่งจากการะเบียดทับกันจนขาดอากาศหายใจรอวันเน่า พวกที่มาเจอชะตากรรมนี้จะกลายเป็นซากดึกดำบรรพ์มาให้มนุษย์ตามมาศึกษา ไดโนเสาร์ตัวอื่นๆ ที่ปีนออกจากแอ่งกะทะก็วิ่งทิ้งฝุ่นตลบไว้ชายตาของคุณ แต่มันยังไม่จบแน่ๆ หากยังคงมีความแห้งแล้งเช่นวันนี้ จะต้องมีผู้โชคร้ายหล่นลงมาตายอีกเรื่อยๆ แน่นอน

       ถึงทุกวันนี้เรายังไม่แน่ชัดว่าแอ่งมอริสสันนั้นทำไมจึงมีซากของไดโนเสาร์ทั้งซอโรพอดและเทอโรพอดนอนทับกันมากมายก่ายกอง แต่ก็จัดได้ว่านี่คือความโหดร้ายของธรรมชาติอันแท้จริง สิ่งเหล่านี้ หากไร้ซึ่งผู้ค้นพบที่เชี่ยวชาญและเก่งกาจทุ่มเทออกตามสำรวจและศึกษา คงจะมีน้อยคนที่ได้ทราบถึงโศกฆนาตกรรมอันแสนบ้าคลั่งนี้

     ตอนต่อไป เดินทางไปยังชายฝั่งของทะเลแห่งยุโรปเพื่อตามหาพญามังกรทะเลในตำนาน ไลโอพลูโรดอน เรียนรู้วิถีชีวิตของสัตว์ในทะเล และบนฝั่งของเยอรมันนี พบกับปลาที่ใหญ่ที่สุดที่โลกเคยรู้จักมา ลิดส์อิกธิส จะเกิดอะไรขึ้นเมื่อการอพยพของพวกมันนำพาฝูงนักล่ามา จะมีอะไรรอเราอยู่กันแน่ โปรดติดตามใน ท่องโลกดึกดำบรรพ์! 

⚠ แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสม 
samuraimasterj's profile


โพสท์โดย: samuraimasterj
เป็นกำลังใจให้เจ้าของกระทู้โดยการ VOTE และ SHARE
5 VOTES (5/5 จาก 1 คน)
VOTED: tonrt
Hot Topic ที่น่าสนใจอื่นๆ
หนุ่มเครียด! แฟนไปทำศัลยกรรม แล้วหน้าตลกจนไม่มีอารมณ์..ด้วย?สิ่งที่สาวก iPad " รอคอยมา 14 ปี "สาวสอบติดครู ร้องไห้หนัก เหตุบนลิเกไว้ 4 วัด เข่าทรุดหลังรู้ราคาลิเกยังจำ " คลิปแรก " ของโลกบน YouTube กันได้ไหมนักเรียนมุสลิมในเยอรมันเผย "ศาสนาของเรา อยู่เหนือกฎหมาย!!"สำนักงานพุทธฯ สั่งตรวจสอบ พ่อแม่ "น้องไนซ์" เชื่อมจิตทำไมจู่ๆ lกย์ 700 คนถึงพร้อมใจกัน "ฟ้องร้องแอป Grindr"หนุ่มกล้ามโตจีบสาว สาวไม่เล่นด้วย เลยจับสาวทุ่มลงพื้นตั้งเวทีแปลกๆ แบบนี้..หมดสิทธิ์มั่วหน้าเวทีแน่นอน
Hot Topic ที่มีผู้ตอบล่าสุด
สำนักงานพุทธฯ สั่งตรวจสอบ พ่อแม่ "น้องไนซ์" เชื่อมจิตเขมรเตรียมฉาย หนังบางระจันเวอร์ชั่นเขมร อ้างหมู่บ้านบางระจันมีที่มาจากกัมพูชา!ทำไมจู่ๆ lกย์ 700 คนถึงพร้อมใจกัน "ฟ้องร้องแอป Grindr"แม่จีนโกรธจัดตบลูกชายหน้าหัน เหตุเพราะแอบดูสาวในห้องน้ำ จนตำรวจตามจับถึงบ้าน เเม่สุดเอือมเพราะนี่ไม่ใช่ครั้งเเรก😌
ประวัติศาตร์และต้นกำเนิดของ "วรนุช" และผองเพื่อนประวัติศาตร์การเปลี่ยนรูปร่างของไดโนเสาร์และสัตว์ดึกดำบรรพ์อื่นๆ จากอดีตถึงปัจจุบัน (ค.ศ. 1900 ต้นๆ-ปัจจุบัน)Special พาลิโอนิวส์: มันคือตัวอะไร? ไดโนเสาร์แห่งแก่งกรุงท่องโลกดึกดำบรรพ์: มังกรเย้ยยุทธ แผ่นดินบรรพกาล (ยุคครีเตเชียส)
ตั้งกระทู้ใหม่