ลองโควิด (Long COVID) อาการที่หลงเหลืออยู่หลังจากรักษาโควิดหายแล้ว
ลองโควิด เป็นอาการที่เกิดขึ้นหลังจากหายจากอาการโควิด-19 ซึ่งถือได้ว่าเป็นอีกหนึ่งอาการที่น่าเป็นห่วง และต้องมีการรักษาให้หายขาด เพราะว่าบางรายที่มีอาการลองโควิดถึงขั้นเสียชีวิต อาการของอาการลองโควิดนั้นเมื่อเชื้อโควิด - 19 ได้หายจากร่างกายไปแล้ว แต่ปรากฏว่าบางอาการไม่ได้หายไปพร้อมกับอาการโควิด - 19 ด้วย ซึ่งทำให้เชื้อบางชนิดยังคงหลงเหลืออยู่ในร่างกายทำให้ร่างกายแสดงอาการต่างๆ ออกมา
ภาวะลองโควิด (Long COVID) คืออะไร
ในผู้ป่วยที่มีอาการลองโควิดนั้น ในแต่ละคนจะมีอาการแตกต่างกันไป เป็นอาการที่ไม่มีลักษณะตายตัว สามารถเกิดขึ้นได้ทั่วร่างกายของผู้ป่วยลองโควิด อาทิเช่น ระบบหายใจ หายใจติดขัด แน่นหน้าอก ระบบประสาท ระบบทางเดินอาหาร หัวใจและหลอดเลือด ทำให้ผู้ที่หายป่วยบางรายไม่สามารถกลับไปใช้ชีวิตได้ปกติเหมือนเดิม ซึ่งอาการลองโควิดมีโอกาสเกิดขึ้นได้ จากผู้ติดเชื้อโควิด-19 ที่รักษาหายแล้ว
ซึ่งอาการลองโควิด (Long COVID) ส่วนใหญ่มักจะเกิดกับผู้ป่วยโควิดโดยเฉพาะกลุ่มผู้ที่มีอาการป่วยรุนแรงหลังจากได้รับเชื้อนาน 4 สัปดาห์ขึ้นไป ไปจนถึง 12 สัปดาห์ มักพบในผู้ป่วยโควิด-19 ที่มีเชื้อโควิดลงปอดและมีโรคเรื้อรังร่วมด้วย และมักจะพบในกลุ่มของผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย
ส่งผลให้การทำงานของปอดไม่เต็มที่ ปอดทำงานหนัก ปอดไม่แข็งแรง จากเดิมตามโครงสร้างทางกายวิภาคของมนุษย์ที่ปอดมีความยืดหยุ่น หลังจากมีอาการลองโควิดปอดจะเริ่มแข็งและอาจเกิดรอยโรคอย่างแผลหรือพังผืดต่าง ๆ ในเนื้อปอด ส่งผลให้การแลกเปลี่ยนออกซิเจนทำได้ไม่เต็มที่ เกิดอาการเหนื่อยง่ายกว่าปกติ หายใจไม่เต็มปอด และมีอาการผิดปกติอื่น ๆ ตามมาขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล
สาเหตุของ Long COVID
อาการหลังติดโควิดเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการที่เรียกว่า Long COVID ถึงแม้ว่าจะหายจากอาการโควิดแล้วในผู้ป่วยหลายๆคน ยังต้องเชิญกับอาการหลังจากโควิด ซึ่งยังไม่มีข้อสรุปที่แน่นอนและชัดเจนเกี่ยวกับอาการที่เกิดขึ้นหลังจากผู้ป่วยติดโควิด หรือที่เรียกอาการนี้ว่าลองโควิด
ในปัจจุบันทางการแพทย์ยังคงให้คำตอบเกี่ยวกับภาวะ Long COVID เป็นข้อสันนิษฐานที่ดูจากอาการที่เกิดขึ้นกับตัวของผู้ป่วยนั้น ยกตัวอย่างข้อสันนิษฐานของอาการลองโควิด เช่น อาจจะเป็นเชื้อไวรัสโควิด – 19 ที่ยังคงหลงเหลืออยู่ในร่างกายของผู้ที่ติดเชื้อ ซึ่งอาจจะเป็นส่วนของเชื้อไวรัสที่ไม่ทำงานแล้วหรือเชื้อไวรัสที่ยังทำงานได้อยู่ ส่งผลให้เชื้อเหล่านี้ไปกระตุ้นภูมิคุ้มกันของผู้ที่เคยติดเชื้อโควิด – 19 ให้ต่อต้าน จนมีอาการป่วยเกิดขึ้น
เชื้อไวรัสไปทำลายภูมิคุ้มกันทำให้การทำงานของภูมิคุ้มกันที่ผิดปกติไปจากเดิม ซึ่งในกรณีดังกล่าวอาจจะเกิดขึ้นกับผู้ป่วยที่มีภูมิคุ้มกันที่แข็งแรงดีมาก หลังติดเชื้อไวรัสโควิด-19 กลับกลายว่าเมื่อหายจากโควิด - 19 แล้ว ภูมิคุ้มกันอาจหันมาทำลายเซลล์ในร่างกายหรือโดยทั่วไปเรียกว่าร่างกายไม่มีภูมิคุ้มกันที่จะต่อต้านกับเชื้อไวรัสที่ยังคงหลงเหลืออยู่ในร่างกายได้
หลังจากหายจากการติดเชื้อโควิด-19 เชื้อไวรัสอาจทำลายและทิ้งร่องรอยความเสียหายในอวัยวะส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ทำให้อวัยวะที่ถูกเชื้อไวรัสทลายเกิดความเสียหายและไม่สามารถฟื้นฟูหรือกลับมาทำงานได้เหมือนเดิมตามปกติ หากมีความเสียหายที่ปอด ผลกระทบที่เกิดขึ้นจะเกี่ยวกับทางเดินหายใจ ทำให้เกิดความผิดปกติ เช่น หายใจถี่ เหนื่อยหอบง่ายหรือ หากเกิดความเสียหายที่บางส่วนของสมอง อาจเกิดภาวะสมองล้า เป็นต้น
นอกจากนี้สาเหตุต่างๆที่ทำให้เกิดอาการลองโควิด อาจจะมาจากภาวะเครียดหลังเจอเรื่องร้ายแรงหรือแม้กระทั่งนอนพักรักษาตัวมานาน ไม่ค่อยได้เคลื่อนไหวร่างกายทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของร่างกาย ก็อาจจะเป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการลองโควิด
ทั้งนี้จะเห็นได้จากการยกตัวอย่างสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการลองโควิดจะเป็นเพียงการประเมินตามอาการของแพทย์ที่สันนิษฐานขึ้นตามหลักการทางการแพทย์เท่านั้น
กลุ่มผู้เสี่ยงพบอาการลองโควิด
ในกลุ่มของผู้เสี่ยงพบอาการลองโควิดหลังจากที่หายจากอาการโควิด -19 ประกอบด้วย
- ลุ่มของผู้สูงอายุ ในกลุ่มของผู้สูงอายุส่วนใหญ่ที่พบอาการลองโควิดจะพบในกลุ่มผู้สูงอายุผู้หญิงมากกว่ากลุ่มผู้สูงอายุผู้ชาย
- ผู้ป่วยที่เคยเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลแล้ว มีอาการค่อนข้างรุนแรงเชื้อลงปอดแล้วเกิดภาวะปอดอักเสบรุนแรง เนื่องจากจะเกิดรอยโรคที่มีในปอดได้มากกว่า และใช้ระยะเวลาฟื้นตัวนานกว่าปกติ
- กลุ่มของผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคหืดหอบ โรคเบาหวาน หรือแม้กระทั่งอยู่ในกลุ่มของผู้ที่มีภาวะโรคอ้วน
- กลุ่มที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ และกลุ่มของผู้ที่ติดเชื้อแต่ไม่แสดงอาการ
ซึ่งกลุ่มของผู้ที่เสี่ยงต่ออาการลองโควิดที่ยกตัวอย่างมานี่เป็นเพียงส่วนหนึ่งที่เสี่ยงต่ออาการลองโควิด ฉะนั้นการสร้างภูมิต้านทานให้กับร่างกายเป็นสิ่งที่สำคัญในการป้องกันไม่ให้เกิดอาการลองโควิด หากได้รับเชื้อโควิด -19
อาการลองโควิดมีอะไรบ้าง แบ่งเป็นกี่กลุ่ม
ในกลุ่มของผู้ที่มีอาการลองโควิดมีการแบ่งกลุ่มผู้ป่วยลองโควิดออกเป็น 3 กลุ่มดังนี้
- กลุ่มที่ 1 : มักจะมีอาการอ่อนเพลีย
- กลุ่มที่ 2 : มีอาการหายใจไม่เต็มอิ่ม ทำกิจกรรมปกติได้ลดลง เหนื่อยง่ายขึ้น
- กลุ่มที่ 3 : ภาวะสมองเสื่อม เช่น ขาดสมาธิ ไม่สามารถจดจ่อในสิ่งที่ทำได้ ความจำลดลง มีปัญหาการนอนหลับ ความสามารถในการควบคุมความคิด อารมณ์ และพฤติกรรมลดลง
1. อาการลองโควิดที่พบได้ทั่วไป
ในผู้ป่วยอาการลองโควิด ซึ่งมีมากกว่า 200 อาการ สามารถส่งผลกระทบระยะยาวต่อสุขภาพในหลายระบบของร่างกาย ซึ่งอาการลองโควิดที่พบได้ทั่วไปจะมีอาการเช่น ปวดศีรษะ มึนงง รู้สึกไม่สดชื่น ปวดท้อง อาหารไม่ย่อย ปวดข้อ กล้ามเนื้ออ่อนแรง กล้ามเนื้อลีบ มีภาวะสมองล้า นอนไม่หลับ ความดันโลหิตสูง วิตกกังวล ซึมเศร้า กล้ามเนื้อ ไอ เจ็บหน้าอก และใจสั่น เป็นต้น
2. ภาวะแทรกซ้อนจากการติดเชื้อโควิด
เป็นกลุ่มที่มีภาวะแทรกซ้อนจากการติดเชื้อโควิด 19 ได้แก่ มีภาวะลิ่มเลือดอุดตัน มีปัญหาเกี่ยวกับระบบหัวใจและหลอดเลือด ไตวายเฉียบพลัน ตับอักเสบเฉียบพลัน ภาวะแทรกซ้อนทางระบบประสาท เป็นต้น และการติดเชื้อในกระแสเลือดซึ่งอาจเกิดได้ในระยะ 1 เดือน หรือมากกว่า 3 เดือน
3. ผลข้างเคียงจากการรักษาโควิด
ผลข้างเคียงจากการรักษาโควิด นอกจากอาการ Long Covid แล้ว ยังปัจจัยอื่นๆที่ส่งผลต่อการฟื้นตัวของร่างกาย เช่น ผลข้างเคียงจากยา หรือการรักษาที่กินเวลาระยะเวลานาน ทั้งนี้เมื่อรักษาอาการโควิดหายดีแล้วควรหมั่นสังเกตอาการและความผิดปกติในร่างกายเพื่อป้องกันจากอาการ Long Covid
อาการลองโควิดในกลุ่มผู้มีโรคประจำตัว
กลุ่มเสี่ยงที่มีโอกาสได้รับอันตรายจากภาวะ Long COVID ได้แก่ ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันต่ำหรือผู้ที่ได้รับเคมีบำบัด ผู้สูงอายุ หรือผู้ที่โรคร่วม เช่น โรคหลอดเลือดสมอง โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคไตวาย โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง หรือหอบหืดชนิดรุนแรง โรคตับ โรคเบาหวาน และคนอ้วน เป็นต้น
อาการลองโควิดในเด็ก (Mis-C)
อาการลองโควิดในเด็ก (Mis-C) เป็นภาวะอักเสบของอวัยวะทั่วร่างกายหลายระบบ นอกจากนี้ยังมีภาวะแทรกซ้อนเกิดขึ้นเมื่อหายจากการติดเชื้อโควิด-19 ส่วนใหญ่มักจะพบในเด็กผู้ชายมากกว่าเด็กผู้หญิง การอักเสบในระบบต่างๆ ทั่วทั้งอวัยวะของร่างกายซึ่งเกิดจากระบบภูมิคุ้มกันที่สูงผิดปกติ จะมีอาการมากกว่า 1 อย่าง เช่น มีผื่นขึ้น อาเจียน ท้องเสีย เจ็บคอ ตาแดง อ่อนเพลีย ปวดท้อง เป็นต้น ถ้าหากมีอาการรุนแรงสามารถส่งผลให้เกิดอันตรายถึงขั้นเสียชีวิตได้
ฉีดวัคซีนลดความเสี่ยงภาวะ Long COVID ได้หรือไม่
ความรุนแรงของโรคโควิด-19 ส่งผลกระทบระยะยาวที่อาจเกิดขึ้นภายหลังจากการติดเชื้อโควิด-19 การฉีดวัคซีนจะช่วยลดโอกาสเกิดภาวะรุนแรงของโรคโควิด-19 และภาวะ LONG COVID ได้
การดูแลตัวเองป้องกันภาวะลองโควิด
ในการดูแลตัวเองป้องกันภาวะลองโควิด การลดความรุนแรงของเชื้อโรคโควิด-19 คือการฉีดวัคซีนจะช่วยลดโอกาสเกิดภาวะรุนแรง และการสวมแมสเมื่อออกไปที่สาธารณะ การรักษาสุขภาพและการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันเพื่อให้ร่างกายมีความแข็งแรงในการป้องกันการติดเชื้อโควิด 19
เป็นลองโควิดกินอะไร ทำอย่างไรเพื่อฟื้นฟูร่างกาย
ในการฟื้นฟูร่างกายเพื่อให้หายจากอาการลองโควิด ประกอบไปด้วย
1. ทานอาหารที่ช่วยฟื้นฟูและบำรุง
การรับประทานอาหาร 5 หมู่ ปรุงสุก สะอาด เน้นอาหารย่อยง่าย เลือกกินอาหารที่เป็นแหล่งโปรตีนเน้นกิน เช่น โปรตีน โพรไบโอติกส์ วิตามิน ซึ่งจะเป็นตัวช่วยในการฟื้นฟูและบำรุงร่างกาย
2. ออกกำลังกายที่ไม่หนัก
การออกกำลังกายสามารถออกกำลังกายเบาๆ ด้วยการเดิน หรือทำกิจกรรมต่างๆ ในชีวิตประจำวันได้
3. ปรึกษาแพทย์เพิ่มเติม
ในการรักษาอาการลองโควิด การปรึกษาปรึกษาแพทย์ในเรื่องของสุขภาพ และจิตใจถือเป็นเรื่องสำคัญ เนื่องจากสองสิ่งนี้ถือเป็นหัวใจสำคัญในการรักษา ถ้าสุขจิตดี สุขภาพกายก็จะดีตามฉะนั้นในช่วงที่พักฟื้นรักษาตัวอยู่ที่บ้านการปรึกษาแพทย์เพิ่มเติมเป็นอีกหนึ่งทางเลือกในการฟื้นฟูดูแลร่างกาย
ตรวจสุขภาพด้วยโปรแกรมฟื้นฟูร่างกายจาก Long COVID
ในการเลือกตรวจสุขภาพด้วยโปรแกรมฟื้นฟูร่างกายจาก Long COVID ทั้งในโรงพยาบาลรัฐและเอกชน เป็นการเช็คสภาพร่างกาย และฟื้นฟูร่างกายให้แข็งแรงและสมบูรณ์ โดยมีโปรแกรมการตรวจสุขภาพ เช่น ตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ทรวงอกเพื่อดูปอดและหัวใจ (CT Chest) ตรวจคลื่นเสียงสะท้อนเป็นภาพหัวใจเพื่อดูการทำงานของหัวใจ (Echocardiogram) ตรวจเลือดดูความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด (CBC) เป็นต้น
ข้อสรุป
โรคโควิด 19 (COVID-19) เป็นโรคอุบัติใหม่ที่ทำให้เกิดการเสียชีวิต และยังทิ้งร่องรอยของโรค หรือภาวะแทรกซ้อน หรือปัญหาสุขภาพในระยะยาว ดังนั้น ผู้ที่มีโอกาสเกิดภาวะ LongCOVID ควรได้รับการป้องกันและดูแลที่ครอบคลุมเพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบที่รุนแรงหลังการติดเชื้อโควิด 19