เกษตรกรผู้รับกรรม
อาชีพเกษตรกรที่หลายๆคนมองว่าเป็นอาชีพที่มั่นคงและยั่งยืนมีความพอเพียงเป็นอาชีพที่ใช้เพียงแรงงานแรงกายถึงไม่ได้ร่ำรวยแต่ก็มีความสุข ผู้คนภายนอกอาจจะเห็นเป็นเช่นนั้น แต่ใครเล่าจะรู้วิถีชีวิตเกษตรกรในปัจจุบันต้องต่อสู้และยากลำบาก ทั้งในเรื่องเศรษฐกิจผลตอบแทนปัญหาโรคภัยปัญหาธรรมชาติ
ผมในฐานะผู้เป็นเกษตรกรมายาวนาน 30 ปีผมประกอบอาชีพเกษตรกรโคนม ย้อนกลับไปเมื่อ 30 ปีที่แล้วผมได้เริ่มต้นกับอาชีพเลี้ยงโคนม เรียกได้ว่าเป็นรุ่นบุกเบิกกับอาชีพนี้ วิถีชีวิตเกษตรกรในสมัยนั้นค่อนข้างเรียบง่ายแม้รายได้ไม่เยอะแต่ก็อยู่ได้แบบพอเพียงจริงๆ ไม่ต้องซื้อวัตถุดิบอาหารราคาแพง โรคระบาดก็รักษาเองได้ตามวิธีทางของธรรมชาติ เช็คได้ว่าเป็นเกษตรอินทรีย์อย่างแท้จริง แต่เมื่อยุคสมัยเปลี่ยนไปเทคโนโลยีเข้ามาธุรกิจเชิงพาณิชย์เข้ามาการแข่งขันที่สูงขึ้น เกษตรกรก็ต้องปรับตัวตามให้ทันทั้งเรื่องอาหารการกินเรื่องยารักษาโรคโรคภัยธรรมชาติและโรคระบาด สมัยก่อนโคนมกินเพียงหญ้าและฟางเท่านั้นส่วนอาหารข้นก็จะเป็นเพียงหยวกกล้วยโรยด้วยรำ แน่นอนผลผลิตที่ได้ก็ไม่มาก เมื่อยุคสมัยเปลี่ยนไปการพัฒนาย่อมเปลี่ยนตามกาลเวลา เริ่มมีการนำวัตถุดิบอาหารประเภทต่างๆเพื่อบำรุงโปรตีนให้กับโคนมมีจำนวนหลากหลายมากขึ้นเช่นกากปาล์มเปลือกสับปะรดกากถั่วเหลืองเป็นต้น แน่นอนเพื่อเป็นการเพิ่มผลผลิตแต่ก็แลกกับค่าใช้จ่ายที่สูงขึ้น
ปัจจุบันนี้เกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมแบกรับภาระค่าใช้จ่ายที่สูงขึ้นตามกาลเวลาและตามเศรษฐกิจ หน่ำซ้ำเหมือนโดนบีบทุกช่องทาง วัตถุดิบอาหารที่มีราคาแพงขึ้น และมาตรฐานคุณภาพของน้ำนมดิบที่สูงขึ้นเนื่องด้วยการแข่งขันที่สูงตามมา หากคุณภาพโปรตีนและไขมันในน้ำนมดิบน้อยก็จะได้ราคาที่น้อยลงตาม ทำให้มีธุรกิจขายอาหารข้นให้แก่เกษตรกร ซึ่งปัจจุบันมีราคาที่แพงมาก
เกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมในปัจจุบันต้องแบกรับภาระที่สูงขึ้นเมื่อเทียบกับราคาน้ำนมดิบในปัจจุบัน สิ่งที่น่าแปลกใจก็คือ
ราคาเนื้อโคนมในท้องตลาดมีราคาที่สูงขึ้นและไม่มีทีท่าว่าจะลดราคาลงตามเศรษฐกิจ แต่ทว่าผู้เลี้ยงโคนมกับขายโคนมจำหน่ายเป็นเนื้อได้ในราคาที่ถูกมาก โคนมจาดเป็นประเภทเนื้อโคธรรมดาตามท้องตลาดตามหน้าเขียนทั่วไป ราคาน่าเขียงอยู่ที่กิโลกรัมละ 200-300 บาท แต่พ่อค้าที่มาซื้อโคนมออกจำหน่ายตามหน้าฟาร์มรับซื้ออยู่ที่กิโลกรัมละ 70 บาท
เมื่อโคนมของเกษตรกรหมดวาระการให้น้ำนมเกษตรกรก็มีความจำเป็นที่จะต้องจำหน่ายโคนมเหล่านี้ออก หรือบางครั้งเพราะทนแบกรับภาระค่าใช้จ่ายที่สูงขึ้นไม่ไหวต้องมีความจำเป็นจำหน่ายโคนมประเภทผสมไม่ติดหรือมีปัญหาออกเพื่อลดค่าใช้จ่าย แต่ก็ถูกกดดันบีบบังคับด้วยพ่อค้าที่เอารัดเอาเปรียบเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนม
ความรู้สึกของเกษตรกร ตาเฒ่าบ่น