นอนน้อย..ทำให้อ้วนจริงไหม?
จากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญที่ทำการตรวจคนไข้มาจำนวนมาก รวมถึงคนไข้ผ่าตัดลดน้ำหนัก ซึ่งแต่ละคนจะพบในไซส์ที่ค่อนข้างใหญ่และพบว่าปัญหาอย่างหนึ่งที่คนไข้กลุ่มนี้เป็นคล้ายกันคือ นอนดึก ตื่นสาย และมีปริมาณการนอนที่ค่อนข้างน้อย
เรื่องนี้เคยถูกงานวิจัยชิ้นหนึ่งโดย นิตยสารBMJ ซึ่งเป็นนิตยสารทางการแล้ว ชื่อดังตีพิมพ์มาตั้งแต่ปี 2018 ว่า การนอนมีผลกับความอ้วนโดยเฉพาะการนอนที่สั้น และการนอนที่น้อย มีผลต่อฮอร์โมนทั้งหมด 4 ชนิด
โดยคู่แรก คือ Leptin และ Ghrelin
ฮอร์โมน 2 ตัวนี้ถูกรบกวนได้ ถ้าหากนอนหลับไม่เพียงพอ Ghrelin ที่มีหน้าที่กระตุ้นให้ร่างกายเกิดความหิวโดยเฉพาะอย่างยิ่งการอยากแป้ง น้ำตาล จะมากขึ้นถ้านอนไม่พอในขณะเดียวกันฮอร์โมนแลปตินซึ่งเป็นฮอร์โมนที่กระตุ้นให้ร่างกายเกิดความอิ่มและการใช้พลังงานอย่างเหมาะสมก็จะลดลงเช่นเดียวกันถ้าร่างกายนอนไม่พอ
จะเห็นได้ว่าการนอนมีความสำคัญต่อกระบวนการต่างๆมาก
3 Growth
Growth ฮอร์โมน ปกติจะเป็นฮอร์โมนที่หลั่งออกมาเมื่อได้นอนเยอะๆ โดยจะเริ่มทำงานตั้งแต่ 22:00 น. ไปเรื่อย จนกระทั่งน้อยลงหลังตี02:00 น.
ข้อเสียของการนอนดึก : ก็จะทำให้พลาดในการได้รับฮอร์โมนนี้ไป ซึ่งอาจเป็นฮอร์โมนที่ อาจเข้าไปช่วยในการเผาผลาญไขมันได้ดี
4.Cortisol
Cortisol คือ ฮอร์โมนเคลียด การใช้ฮอร์โมนชนิดนี้มาก ๆ ก็จะส่งผลกระตุ้นให้อ้วนได้อีก
ดังนั้น 4 ฮอร์โมนนี้ก็จะเป็นฮอร์โมนที่มีความผิดปกติจากการนอนน้อย
ข้อมูลเพิ่มเติม: การนอนจะควบคุมด้วยต่อม Pineal อีกรอบหนึ่งดังนั้นเมื่อไหร่ที่มีแสงสว่างขึ้น หรือในช่วงเวลา08:00 น. ต่อมนี้จะปลุกให้ตื่น
กรณีของคนส่วนใหญ่มักนอนดึกตื่นอีกที่ 14:00 น แล้วเชื่อว่านี่ล่ะการนอนที่เพียงพอ ในความเป็นจริงนั้นผิด เนื่องจากการนอนแบบนี้จะมีคุณภาพที่แย่ลง เพราะว่าร่างกายจะถูกกระตุ้นให้ตื่น เพราะการทำงานของระบบภายในก็มีการทำงานที่ทั้งกลางวันเมื่อมนุษย์ต้องตื่นและกลางคืนเมื่อมนุษย์ต้องหลับไป ฉะนั้นเมื่อไม่เป็นไปตามที่ระบบหรือเวลาของภายในที่ดี ก็จะเกิดการผิดวงจร
จากการศึกษาของหลายสถาบันพบว่าคุณภาพการหลับที่ไม่ดีหรือการนอนที่ไม่เพียงพอเป็นความเสี่ยงหนึ่งในการที่จะทำให้เกิดโรคอ้วนได้ข้อมูลล่าสุดจาก National sleep Foundation (NSF) Obesity and Sleep อัปเดตเมื่อ 2022 บอกว่าผู้ใหญ่ที่อายุตั้งแต่ 18 ถึง 64 ปีควรจะนอนให้ได้ประมาณคืนละ 7-9 ชั่วโมงในขณะที่ผู้ใหญ่ที่อายุมากกว่า 65 ปีต้องนอนให้ได้ 7-8 ชั่วโมงต่อวันแต่ด้วยวิถีชีวิตของคนในปัจจุบันไม่ว่าจะการทำงานการใช้คอมพิวเตอร์จนดึกอาการเสพติดโซเชียลรวมถึงสุขภาพไม่ว่าจะเป็นสุขภาพร่างกายหรือแม้แต่สุขภาพจิตใจก็ตามมีโอกาสที่จะส่งผลต่อคุณภาพการหลับได้วัฒนธรรมการดื่มคาเฟอีนรวมถึงเครื่องดื่มประเภทแอลกอฮอล์ก็ส่งผลต่อคุณภาพการหลับได้เช่นกัน
ดังนั้นวิธีที่ง่ายที่สุด คือควรจะให้ ความสำคัญกับการนอนหลับอย่างมีคุณภาพ วิธีการง่าย ๆ คือ การจัดสภาพแวดล้อมห้องนอนให้มีความเหมาะสมปรับห้องนอนไม่ควรจะมี ทีวี โทรศัพท์ ตื่นเช้าเป็นปกติ ตั้งแต่ 06:00 น. หรือ 08:00 น. ก็จะเพียงพอเพื่อทำให้เกิดคุณภาพของการนอนมากขึ้นแล้วน้ำหนักก็จะเริ่มลดลง เพราะตอนเช้าจะมีความสดใส ช่วยให้รู้สึกอยากออกกำลังด้วย
Reference
1.Your 'Hunger Hormones'How they affect your appetite and your weightBy Elaine Magee, MPH, RDReviewed by Brunilda Nazario, MD
2.Cortisol Level TestMedically reviewed by Elaine K. Luo, M.D. — Written by Karla Blocka — Updated on August 3, 2020
.
รูปภาพ :Pobpad