หน้าแรก ตรวจหวย เว็บบอร์ด ควิซ Pic Post แชร์ลิ้ง หาเพื่อน Chat หาเพื่อน Line หาเพื่อน Skype Page อัลบั้ม คำคม Glitter เกมถอดรหัสภาพ คำนวณ การเงิน
ติดต่อเว็บไซต์ลงโฆษณาลงข่าวประชาสัมพันธ์แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสมเงื่อนไขการให้บริการ
เว็บบอร์ด บอร์ดต่างๆค้นหาตั้งกระทู้

มาทำแบบประเมิน ความวิตกกังวล ออนไลน์กันที่นี่ได้เลย

เนื้อหาโดย Life Style Chidon

 

General Health Questionnaire - กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข

 กดตรงนี้ https://www.idrlabs.com/th/anxiety-stress-depression/test.php
 
เป็นสถาวะทางอารณ์ของบุคคลที่มีความรู้สึกว่า หวาดหวั่น หวาดหลัว อึดอัด ไม่สบายใจ เกรงว่าจะมีสิ่งร้ายหรือเหตุการณ์ที่ไม่ดีเกิดขึ้นกับตน ลักษณะของความวิตกกังวล ประกอบด้วย
- ความรู้สึกหงุดหงิดไม่สบายในสภาพการณ์ที่ไม่แน่ใจ
- ความรู้สึกหวาดหวั่น หวั่นเกรงจะมีเหตุร้ายเกิดขึ้นกับตน
- สภาวะกระสับกระส่าย อึดอัด ไม่สบายใจ
- ความรู้สึกตระหนก ตกใจ กลัวบางสิ่งบางอย่างที่บอกไม่ได้
- ความรู้สึกไม่มั่นใจในเหตุการณ์ล่วงหน้า - ความรู้สึกเครียดที่ไม่สามารถบอกสาเหตุได้
กระบวนการเกิดความวิตกกังวล เกิดจากเหตุการณ์ต่างๆ ดังนี้
1. ความต้องการของบุคคลมีสิ่งขัดขวาง ทำให้ไม่ประสบความสำเร็จ
2. บุคคลเกิดอารมณ์ไม่สบายใจ ไม่แน่ใจ กระวนกระวายใจ ท้อแท้ไม่สามารถขจัดความไม่สบายต่างๆ ได้ด้วยตนเอง
3. มีถาวะอื่นตามมาเพื่อลดความวิตกกังวลและป้องกันตนเอง เช่น ภาวะโกรธ ก้าวร้าว ตำหนิผู้อื่น
4. พลังความวิตกกังวลถูกเปลี่ยนเป็นพลังอื่น
1. ประเมินสภาพปัญหาและความรุนแรง
1.1 ระดับของความวิตกกังวล ระดับของความวิตกกังวลโดยทั่วไปแบ่งได้เป็น 4 ระดับ คือ
1) ความวิตกกังวลระดับต่ำ (Mild anxiety) เป็นความวิตกกังวลระดับน้อยๆ เป็นปกติในบุคคลทั่วไป ถ้าเกิดขึ้นเป็นสิ่งดี เพราะจะช่วยกระตุ้นให้บุคคลแก้ปัญหา และทำกิจกรรมต่างๆ ได้ดีขึ้น และกระตุ้นให้บุคคลตื่นตัวในการแก้ปัญหาการเจ็บป่วย หรือทำให้บุคคลพยายามทำงานอย่างใดอย่างหนึ่งให้สำเร็จ
2) ความวิตกกังวลระดับกลาง (Moderate anxiety) ในระดับนี้ บุคคลจะเกิดการรับรู้เรื่องต่างๆ แคบลง บุคคลจะสนใจเฉพาะปัญหาที่จะทำให้ตนไม่สบายใจ พยายามควบคุมตนเองมากขึ้น พยายามแก้ปัญหาสูงขึ้น
3) ความวิตกกังวลระดับสูง (Severe anxiety) บุคคลจะมีวิตกกังวลสูง สนามการรับรู้แคบลง สมาธิในการรับฟังปัญหาและข้อมูลต่างๆ ลดลงเพราะครุ่นคิดหมกมุ่นในรายละเอียดมากไป จนไม่สามารถติดตามเนื้อหาของเรื่องราว อย่างกว้างขวาง มีอาการมึนงง กระสับกระส่าย ไม่อยู่กับที่ ไม่สนใจสิ่งแวดล้อม
4) ความวิตกกังวลระดับสูงสุด (Panic anxiety) บุคคลมีความวิตกกังวลสูงสุดจนทำให้สนามการรับรู้น้อย บุคคลจะอยู่ในภาวะตื่นตระหนก สับสน วุ่นวาย หวาดกลัวสุดขีด มึนงง ควบคุมตนเองไม่ได้ ไม่มีแรง อาจมีอาการประสาทหลอน แขนขาขยับไม่ได้ เป็นลม
1.2 ลักษณะอาการของบุคคลที่มีความวิตกกังวล เมื่อมีความวิตกกังวลจะมีการเปลี่ยนแปลงดังนี้
1) การเปลี่ยนแปลงด้านร่างกาย จะมีอาการ
- หัวใจเต้นเร็ว และถี่ขึ้น
- ความดันโลหิตเพิ่มขึ้น
- อึดอัด แน่นหน้าอก หายใจลำบาก
- เหงื่ออกบริเวณฝ่ามือ ตามตัว
- ปากแห้ง
- ตัวสั่น กระตุก
- มีอาการตึงบริเวณต้นคอหรือหลัง
- ปวดศีรษะ
- ปัสสาวะบ่อย หรือท้องเสีย
- คลื่นไส้ อาเจียน
- นอนไม่หลัีบ
- เบื่ออาหาร
- เหนื่อยง่าย อ่อนเพลีย
- เวียนศีรษะ
- เจ็บป่วยบ่อย
- บุคลิกภาพ รูปร่าง การทรงตัวเปลี่ยนไป
- มีการเปลี่ยนแปลงในรอบเดือน (ในเพศหญิง)
- ผิวหนังซีด
- น้ำตาลถูกขับออกจากตับมากขึึ้น รู้สึกหวิวๆ คล้ายจะเป็นลม
- มีการเปลี่ยนแปลงของน้ำย่อย การเผาผลาญ
2) การเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ จะมีอาการ
- หงุดหงิดง่าย กระสับกระส่าย
- โกรธง่าย
- รู้สึกตนเองไม่มีค่า ไม่มีความสำคัญ
- เศร้า เสียใจง่าย ร้องไห้บ่อย
- สงสัยบ่อย จะซักถามมากขึ้น
- พักผ่อนได้น้อย
- หวาดหวั่น
- แยกตัว
- ขาดความสนใจ ขาดความคิดริเริ่ม
- ร้องไห้ง่าย แม้เรื่องเพียงเล็กน้อย
- เรียกร้อง พึ่งพาผู้อื่น
- ตำหนิติเตียนผู้อื่น
- วิจารณ์ตัวเองและผู้อื่น
- มีความโน้มเอียงที่จะทำลายตัวเอง
- ฝันร้าย
- ไร้อารมณ์
- แยกตัว สัมพันธภาพกับผู้อื่นเปลี่ยนแปลงไป
3) การเปลี่ยนแปลงทางความคิด ความจำ และการรับรู้ จะมีอาการ
- ลืมง่าย
- ครุ่นคิด
- หมกหมุ่น
- การคิดและการใช้ภาษาผิดพลาด
- การตัดสินใจไม่ไดี ความคิดติดขัุด
- ไม่ค่อยมีสมาธิ
- ไม่สนใจเตื่องราวที่ควรจะเป็น
- ครุ่นคิดแต่อดีต
- ไม่ค่อยรับรู้ต่อสิ่งกระตุ้นต่างๆ
- ไม่ีมีความคิดที่จะทำสิ่งใดๆ ขาดผลผลิต
- ความสนใจลดลง
- การพูดติดขัด เปลี่ยนเรื่องพูดบ่อย หรือไม่พูดเลย
- การรับรู้ผิดพลาด
- มีความคิดและการกระทำซ้ำๆ โดยไม่สามารถห้ามได้
2. การวางแผนการพยาบาล กำหนดเป้าหมายการพยาบาลเป็น 2 ระยะ คือ
2.1 เป้าหมายระยะสั้น
- ลดความวิตกกังวลจนถึงปกติ สามารถปฏิบัติหน้าที่ประจำวันได้
2.2 เป้าหมายระยะยาว
- เน้นการรู้ถึงเหตุและผลของความวิตกกังวล
- รู้จักวิธีการลดความวิตกกังวล
- ลดความถี่การเกิดความวิตกกังวล
- ปรับบุคลิกภาพและใช้กลไกทางจิตที่เหมาะสม
- ขจัดความขัดแย้ง และบรรเทาประสบการณ์ที่เจ็บปวด
3. การช่วยเหลือผู้ที่วิตกกังวล เน้นที่
- แสดงการยอมรับ
- อยู่เป็นเพื่อน พูดคุย ให้ระบายความวิตกกังวล พยาบาลรับฟัง และให้ข้อเสนอแนะ
- ให้ความมั่นใจว่าจะได้รับการช่วยเหลือ
- จัดสภาพแวดล้อมให้สงบและลดสิ่งกระตุ้นความเครียด และวิตกกังวล
- ดูแลตอบสนองความต้องการด้านร่างกาย เช่น อาหาร น้ำ ความสะอาด เป็นต้น
- กระตุ้นให้บุคคลได้ระบายความวิตกกังวล
- ให้ได้รับยาตามแผนการรักษา

เป็นอย่างไรมาคุยกันด้วยนะทุกคน

 
โหวต Poll: (โหวตไม่ลับ)
มีสาระ
2
ขอบคุณที่แนะนำ
0
ดูว่าใครโหวตอะไรบ้าง
หากต้องการโหวต Poll, กรุณา Login เข้าสู่ระบบ ก่อนค่ะ
เนื้อหาโดย: DD News Update
⚠ แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสม 
Life Style Chidon's profile


โพสท์โดย: Life Style Chidon
เป็นกำลังใจให้เจ้าของกระทู้โดยการ VOTE และ SHARE
15 VOTES (5/5 จาก 3 คน)
VOTED: Thorsten, เจ๊ฉอดรังสิต, DD News Update
Hot Topic ที่น่าสนใจอื่นๆ
ฝรั่งเล่นมุกหลอกกินฟรี ถูกจับได้เพราะให้ห่อกลับบ้าน5 วิธีจัดระเบียบบ้าน ให้น่าอยู่ตามแบบฉบับผู้เชี่ยวชาญเช็กไทม์ไลน์ บัตรคนจน ก.ย.นี้ เงินดิจิทัล 10,000 เข้าวันไหนแน่CIA จับมือ MI6 ออกโรงเตือนรัสเซียและเตือนโลกนักเรียนหญิงชั้น ป.5 ของญี่ปุ่น ผ่านการทดสอบ และได้รับการประกาศนียบัตร ให้สามารถแล่และควักไส้ปลาปักเป้า เพื่อปรุงอาหารได้"เบลล่า-วิล" ควงคู่สวีทหวาน ดูคอนเสิร์ต "ปาล์มมี่"..โดนแซวหนักว่าพามาเปิดตัวตำนานพื้นบ้าน ทุ่งกุลาร้องไห้อนิเมะ Ranma 1/2 ฉบับเอามาทำใหม่บน Netflix เปิดเผยตัวละครเก่าแต่ถูกวาดใหม่ 5 คนเตือนภัย โครมมิง (Chroming) เทรนด์มรณะ หลังมีเด็กเสียชีวิตแล้วหลายราย'สควิป' (squib) ผู้เกิดในครอบครัวของผู้วิเศษแต่ไม่มีอำนาจเวทมนต์อนิเมะ ฉันจะเป็นนางร้ายที่จะถูกบันทึกไว้ในประวัติศาสตร์ เปิดตัวอย่างใหม่ภาพที่น่าประทับใจ ขณะพายุเข้าเมืองฮานอย เวียดนาม
Hot Topic ที่มีผู้ตอบล่าสุด
CIA จับมือ MI6 ออกโรงเตือนรัสเซียและเตือนโลก"เบลล่า-วิล" ควงคู่สวีทหวาน ดูคอนเสิร์ต "ปาล์มมี่"..โดนแซวหนักว่าพามาเปิดตัวultimate: ที่สุด ขั้นสูงสุดภาพที่น่าประทับใจ ขณะพายุเข้าเมืองฮานอย เวียดนามตำนานพื้นบ้าน ทุ่งกุลาร้องไห้นักเรียนหญิงชั้น ป.5 ของญี่ปุ่น ผ่านการทดสอบ และได้รับการประกาศนียบัตร ให้สามารถแล่และควักไส้ปลาปักเป้า เพื่อปรุงอาหารได้
กระทู้อื่นๆในบอร์ด สาระดี สาระเด็ด
สัญชาติ Nationality - ตัวย่อ ของสัญชาติต่างๆ ทั่วโลกการดูแลสุขภาพองค์รวม (Holistic Health) คืออะไร?ใครไม่รู้จัก :เห็ดลม ถือว่าเชย: มาดู ประโยชน์ และ เมนูอร่อยๆ จากเห็ดลมกันว่ามีอะไรบ้าง6 วิธีแก้ร้อนในเร่งด่วน ช่วยให้หายเร็วขึ้น!
ตั้งกระทู้ใหม่