3 นายกฯ สายทหารไทย ดำรงตำแหน่งยาวนานที่สุด
1. จอมพล แปลก พิบูลสงคราม หรือ ป. พิบูลสงคราม หรือบรรดาศักดิ์เดิม หลวงพิบูลสงคราม (นามเดิม แปลก ขีตตะสังคะ ; 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2440 – 11 มิถุนายน พ.ศ. 2507) เป็นนายทหารและนักการเมืองชาวไทย ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีระหว่างปี 2481 ถึง 2487 และ 2491 ถึง 2500 รวมระยะเวลา 14 ปี 11 เดือน นับเป็นนายกรัฐมนตรีไทยที่ดำรงตำแหน่งนานที่สุด และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
2. จอมพล ถนอม กิตติขจร (11 สิงหาคม พ.ศ. 2454 – 16 มิถุนายน พ.ศ. 2547) เป็นนายกรัฐมนตรีไทยคนที่ 10 เคยดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการทหารบก ผู้บัญชาการทหารสูงสุด รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ได้ชื่อว่าหนึ่งใน " สามทรราช "
เป็นหัวหน้าคณะรัฐบาลในเหตุการณ์ 14 ตุลา พ.ศ. 2516 ซึ่งเป็นเหตุการณ์การประท้วงของ นิสิต นักศึกษา และประชาชน โดยในเหตุการณ์ ทหารได้ใช้อาวุธสงครามเข้าปราบปรามนักศึกษาประชาชนที่ชุมนุมเรียกร้องรัฐธรรมนูญ จนทำให้มีผู้เสียชีวิตเป็นจำนวนมาก เป็นผลให้จอมพล ถนอม กิตติขจร ต้องประกาศลาออกจากตำแหน่ง และเดินทางออกจากประเทศ พร้อมกับ จอมพล ประภาส จารุเสถียร และ พ.อ.ณรงค์ กิตติขจร ภายหลังเหตุการณ์ จอมพล ถนอม กิตติขจร ก็ได้เดินทางกลับ แล้วบวชเป็นพระสามเณร เป็นชนวนไปสู่การขับไล่ ของนักศึกษาธรรมศาสตร์ จนโยงไปสู่เหตุการณ์ 6 ตุลา พ.ศ. 2519 ทำให้มีผู้บาดเจ็บ เสียชีวิต และสูญหายจำนวนมาก
จอมพล ถนอม กิตติขจร เคยดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีถึง 4 สมัย เป็นระยะเวลาถึง 10 ปี 6 เดือนเศษ ได้ชื่อว่าเป็น " จอมพลคนสุดท้าย " ถึงแก่อสัญกรรมด้วยโรคเส้นเลือดในสมองแตกเมื่อวันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2547 รวมอายุได้ 92 ปี 309 วัน
3. พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ (26 สิงหาคม พ.ศ. 2463 – 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2562) เป็นนายทหารและนักการเมืองไทย ประธานองคมนตรี เริ่มต้นดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการทหารบก ก่อนได้เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม และนายกรัฐมนตรีไทยคนที่ 16 (ดำรงตำแหน่งปี 2523 ถึง 2531) หลังจากนั้นเป็นประธานองคมนตรี รัฐบุรุษ และผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ในพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวช่วงระยะหนึ่ง ในปี 2559