ฝนสีแดงสีเลือดใน รัฐเกรละ ที่อินเดีย ปรากฎการธรรมชาติลึกลับ..ความวิปริตแปรปรวนที่ยังหาคำตอบไม่ได้
ปรากฏการณ์ธรรมชาติฝนแดงหรือฝนสีเลือดที่ รัฐเกรละ ทางตอนใต้ของประเทศอินเดีย ปรากฏการณ์ที่แปลกประหลาดมากๆครับ
เมื่อนักวิทยาศาสตร์ได้สันนิษฐานการเกิดฝนสีแดงสีเลือดนี้ ในหลากหลายเหตุผล สุดท้ายก็คือความวิปริตของอากาศและความแปรปรวนวิปริตของธรรมชาติที่ลึกลับมากๆ ส่วนสาเหตุที่เกิดฝนสีแดง สีเลือด..อะไรพวกนี้เราก็ลองมาดูข้อมูลรายละเอียดแล้วก็คิดกันเอาเองก็แล้วกันว่ามันเกิดขึ้นได้อย่างไร?
ปรากฏการณ์ฝนสีแดงในรัฐเกรละ เป็นเหตุการณ์ ฝนสีเลือด (ฝนสีแดง)
ที่เกิดขึ้นตั้งแต่วันที่ 25 กรกฎาคม ถึง 23 กันยายน ค.ศ. 2001 เมื่อเกิดฝนตกเป็นน้ำฝนสีแดงกระจายทั่วไปในรัฐเกรละ ทางตอนใต้ของประเทศอินเดีย ฝนย้อมเสื้อผ้าสีขาวกลายเป็นสีชมพู
นอกจากนี้ยังมีรายงานพบฝนสีเหลือง สีเขียว และสีดำด้วย เคยมีรายงานว่าพบฝนมีสีใน ค.ศ. 1896 และหลังจากนั้นอีกหลายครั้ง ครั้งล่าสุดคือเดือนมิถุนายน ค.ศ. 2012 และตั้งแต่วันที่ 15 พฤศจิกายน ค.ศ. 2012 ถึง 27 ธันวาคม ค.ศ. 2012 ในบรรดาจังหวัดทางภาคตะวันออกและภาคกลางตอนบนของประเทศศรีลังกา
👉🏿ตัวอย่างน้ำฝน (ซ้าย) และหลังกำจัดอนุภาค (ขวา) ตะกอนแห้ง (กลาง)
หลังจากการตรวจสอบด้วยกล้องจุลทรรศน์ใน ค.ศ. 2001 ในช่วงแรกเชื่อกันว่าฝนมีสีเช่นนั้นเนื่องจากผลพวงจากเหตุสะเก็ดดาวระเบิดกลางอากาศ แต่จากการศึกษาที่รัฐบาลอินเดียมอบหมายให้ดำเนินการ
สรุปได้ว่า ฝนมีสีเนื่องจากสปอร์ในอากาศจากสาหร่ายสีเขียวชนิดหนึ่งจากสกุล Trentepohlia ต่อมาชุดนักวิจัยต่างประเทศระบุสายพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตนี้ว่าคือ Trentepohlia annulata
ในต้นปี ค.ศ. 2006 ฝนมีสีในรัฐเกรละได้รับความสนใจอย่างกว้างขวางเมื่อสื่อรายงานว่ากอดฟรีย์ หลุยส์ และ สันโตษ กุมาร จากมหาวิทยาลัยมหาตมะ คานธี ในเมืองโกฏฏายัม (Kottayam) เสนอประเด็นที่เป็นข้อถกเถียงว่า อนุภาคมีสีนั้นเป็นเซลล์จากต่างดาวที่มีลักษณะการเจริญเติบโตแบบพิเศษ
เหตุการณ์
ตำบลโกฏฏายัมในรัฐเกรละที่ประสบเหตุฝนสีแดงบ่อยครั้งที่สุด
ฝนมีสีในรัฐเกรละเริ่มตกในวันที่ 25 กรกฎาคม ค.ศ. 2001 ในเขตโกฏฏายัมและเขตอิฑุกกิ (Idukki) ในตอนใต้ของรัฐ มีรายงานพบฝนสีเหลือง สีเขียว และสีดำด้วย เหตุการณ์ฝนสีแดงตกมีรายงานทั่วไปในเวลาสิบวันต่อมา และจากนั้นความถี่ของฝนลดลงจนถึงปลายเดือนกันยายน ตามข้อมูลของคนในท้องถิ่น
ฝนมีสีที่ตกลงมาชุดแรกตกลงมาตามเสียงฟ้าร้องและฟ้าแลบ และตามด้วยต้นไม้ในป่าละเมาะสลัดใบไม้ที่ "ไหม้" เป็นสีเทาแล้วลงมา
มีรายงานพบใบไม้ร่วงและบ่อน้ำหายไปและก่อตัวขึ้นในทันทีภายในบริเวณนั้น ฝนสีแดงตกลงในพื้นที่เล็ก ๆ ไม่เกิน 2-3 ตารางกิโลเมตร และบางครั้งอยู่ในเขตจำกัดมากจนอาจมีฝนปกติตกลงห่างจากฝนสีแดงออกไปเพียงไม่กี่เมตร โดยปกติฝนสีแดงตกนานไม่ถึง 20 นาที
ปริมาณน้ำฝนแต่ละมิลลิลิตรบรรจุอนุภาคสีแดง 9 ล้านอนุภาค สำหรับการประมาณค่าปริมาณน้ำฝนสีแดงนอกช่วง มีการประมาณว่ามีอนุภาคสีแดง 50,000 กิโลกรัม (110,000 ปอนด์) ตกลงในรัฐเกรละ
รายละเอียดของอนุภาค
ของแข็งสีน้ำตาลแดงที่สกัดจากน้ำฝนสีแดงประกอบด้วยอนุภาคกลมสีแดงประมาณ 90% และสมดุลประกอบด้วยเศษผง อนุภาคในสารแขวนลอยในน้ำฝนมีส่วนทำให้น้ำฝนมีสี
ซึ่งในขณะนั้นเป็นสีแดงเข้มข้น มีอนุภาคเพียงบางส่วนที่เป็นสีเหลืองอ่อน เทาอมฟ้า และเขียวอ่อน อนุภาคมีขนาด 4-10 ไมโครเมตรและเป็นทรงกลมหรือทรงรี ภาพจากกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแสดงให้เห็นอนุภาคต่าง ๆ มีรอยกดตรงกลาง ที่กำลังขยายสูง ๆ สามารถเห็นโครงสร้างภายในอนุภาคได้
👉🏿ปรากฏการณ์ธรรมชาติแปลกๆเกิดขึ้นบ่อยขึ้น โดยที่เราไม่สามารถไปกำหนดกฎเกณฑ์อะไรได้ หรือ เอาชนะธรรมชาติได้ สุดท้ายธรรมชาติก็จะแสดงอะไรๆที่มันแปลกๆออกมาเพื่อเตือนให้มนุษย์รู้ว่าธรรมชาติกำลัง วิปริตแปรปรวน (ภาวะโลกรวน)
อ้างอิงจาก: วิกิพีเดีย และ YouTube