ทุกคนเคยฟังเพลงนี้ยัง "One Night in Bangkok" โดยเฉพาะคนที่ยกย่องชาวตะวันตก!!!
*** "One Night in Bangkok" เป็นเพลงประกอบละครเพลง Chess ในปี 1984 โดย Tim Rice, Benny Andersson และ Björn Ulvaeus
Murrey Head นักแสดงและนักร้องชาวอังกฤษ แร็พท่อนร้อง ขณะที่คอรัสร้องโดย Anders Glenmark นักร้อง นักแต่งเพลง และโปรดิวเซอร์ชาวสวีเดน***
กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว ยังมีสิ่งที่ไม่เป็นที่รู้จักแพร่หลายในโลกสิ่งหนึ่ง ชื่อว่า “การเคารพความต่าง” (Political Correctness หรือ PC) ได้มีเพลงๆ หนึ่ง แต่งขึ้นเพื่อใช้ประกอบละครเวทีชื่อ Chess เพลงนั้นมีชื่อว่า “One Night in Bangkok”
เนื้อเพลงเป็นการเปรียบเปรยชีวิตเมืองบางกอกยามราตรีกับเกมส์หมากรุก หยอกเย้ากับความใจกว้างของสาวๆ ในเมืองนี้ ทั้งแบบที่มีมดลูกและไม่มี อย่างสนุกสนานจนกลายเป็นเพลงฮิตติดชาร์ตอันดับ 3 ในอเมริกา และกลายเป็นเพลงเกี่ยวกับกรุงเทพฯ ที่ดังที่สุดจนถึงบัดนี้
ตั้งแต่ยุค 90s เป็นต้นมา ความ PC ถูกพูดถึงมากขึ้น ว่าการเข้าใจเขา-เข้าใจเราจะทำให้สังคมลดความกระทบกระทั่งได้ แต่เรากลับไปดูกันอีกครั้ง ว่าเพลง “บางกอกคืนเดียวก็เสียวได้” จากปี 1984 เพลงนี้ นี้พูดถึงกรุงเทพฯ ว่าอย่างไรบ้าง เอาแค่ท่อนฮุคพอ
“One night in Bankok and the worlds’s your oyster The bars are temples but the pearls ain’t free You’ll find a god in every golden cloister And if you’re lucky then the god’s a she I can feel an angel sliding up to me”
คืนเดียวที่บางกอก จะทำให้คุณเป็นเจ้าปฐพี มีบาร์เป็นโบสถ์ที่ความโสดสดไม่ฟรี พระเจ้าอยู่ในทุกวิหารทองอร่ามยิ่ง หากฟ้าเมตตาพระเจ้าของคุณจะเป็นสตรีจริง เทวีตัวน้อยสอดกายใส่ตัวฉันนี้
"One night in Bangkok makes a hard man humble Not much between despair and ecstasy One night in Bangkok and the tough guys tumble Can’t be too careful with your company I can feel the Devil walking next to me”
คืนเดียวในบางกอก ชายแข็งปั๋งยังต้องสลด บอกได้ไม่ครบว่าควรหู่หดหรือปรีดี คืนเดียวในบางกอก ใครที่ว่าแน่ยังต้องสยบ ความชื่นมื่นที่พบข้างกายจงระวังให้ดี ฉันรู้สึกเหมือนภูติร้ายเดินขนาบทุกนาที
ถ้าดูเนื้อเพลงแบบละเอียดยิ่งน่าถอนหายใจยาวๆ ไปกันใหญ่ เนื้อเพลงมีปัญหาเรื่องการเหมารวมกรุงเทพอย่างชัดเจน ว่าเป็นดินแดน Exotic (แปลกประหลาดน่าพิศวง) โดยมีนัยยะหลักๆ เรื่องผู้หญิงบาร์ วัด อาบอบนวด การค้าบริการทางเพศ การตีตรากะเทยกับการขายบริการทางเพศ
นี่คือปัญหาการเหมารวมแบบ Eurocentric (การเอาคนขาวเป็นศูนย์กลางที่เหนือกว่าชาติพันธุ์อื่น) และ exoticize (สร้างความแปลกประหลาด) ให้แก่ชนชาติอื่นๆ ที่นอกเหนืออเมริกาและยุโรป (หากสนใจหัวข้อนี้ให้หาหนังสือเกี่ยวกับเรื่อง Orientalism ของEdward Said)
ซึ่งหลายคนวิเคราะห์ว่าการสร้างภาพ exotic ให้ชนชาติอื่นก็เพื่อสร้างปมผู้เหนือกว่า (superiority complex) เพื่อสร้างความชอบธรรมให้แก่ชาวตะวันตกในยุคล่าอาณานิคม และวิธีคิดแบบนี้ก็ตกทอดยาวมาถึงยุคปัจจุบัน แต่มาในรูปแบบการล่าอาณานิคมใหม่ ซึ่งมาในรูปแบบของวัฒนธรรม แฟชั่น ดนตรี อาหาร และทุกสิ่งอย่าง