จากดราม่า "ดอกลำดวน" ในโปสเตอร์ “บุพเพสันนิวาส 2” กับดอกไม้ประจำจังหวัดศรีสะเกษ
หลังมีดราม่าเพืื่อนบ้าน ประเทศเพื่อนบ้านพาทัวร์มาลงในภาพโปรโมท "บุพเพสันนิวาส 2" เพราะนางเอกถือดอกลำดวนซึ่งเป็นดอกไม้ประจำชาติบ้านเขา ดอกลำดวน คือดอกไม้ประจำชาติของกัมพูชา ทำไม? ถึงไม่ใช้ ดอกคูน ที่เป็นดอกไม้ประจำชาติไทยแทน https://board.postjung.com/1412694
จริงๆ แล้ว ดอกลำดวน หมายถึง ที่หนังจะสื่อถึงคือความรักที่ยั่งยืน เพราะดอกไม้ชนิดนี้คือไม้ยืนต้น อายุยืน เป็นดอกไม้แทนผู้สูงอายุ และนอกจากนั้นดอกลำดวนยังเป็นดอกไม้พระราชทานให้เป็นดอกไม้ประจำจังหวัดศรีสะเกษอีกด้วย
ลำดวน ( Melodorum fruticosum Lour.) มีชื่อตามภาษาท้องถิ่นว่า หอมนวล (ภาคเหนือ) ลำดวน (ภาคอีสาน) เป็นไม้ดอกชนิดหนึ่งมีถิ่นกำเนิดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และเป็นพันธุ์ไม้มงคลพระราชทานประจำจังหวัดศรีสะเกษ นอกจากนี้ ดอกหอมนวลยังเป็นดอกไม้ประจำมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง และมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษด้วย
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ลำดวนเป็นไม้ต้นขนาดกลาง สูง 5 - 20 เมตร ไม่ผลัดใบ เรือนยอดรูปกรวย หนาทึบ ลำต้นเปลาตรง มีเปลือกสีน้ำตาล แตกขรุขระเป็นสะเก็ด ใบเดี่ยว เรียงสลับ แผ่นใบรูปขอบขนานหรือรูปใบหอก กว้าง 2.5-4 เซนติเมตร ยาว 5-11.5 เซนติเมตร ปลายใบแหลมโคนใบสอบหรือมน ดอกมีสีนวลกลิ่นหอม ออกเดี่ยวตามซอกใบที่ปลายกิ่ง กลีบดอกหนาและแข็ง กลีบดอก ชั้นนอก 3 กลีบแผ่ออก ชั้นใน 3 กลีบ หุบเข้าหากัน เมื่อบานเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 2 เซนติเมตร ลักษณะผลเป็นผลกลุ่ม ทรงกลม เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 0.6 เซนติเมตร สีเขียว เมื่อสุกสีดำ รสหวานอมเปรี้ยว
สัญลักษณ์ประจำจังหวัด
จังหวัดศรีสะเกษ
สัญลักษณ์ประจำสถานศึกษา
มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย
มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ จังหวัดศรีสะเกษ
โรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) ๒ กรุงเทพมหานคร
การตั้งถิ่นฐานในจังหวัดศรีสะเกษมาแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ จนเกิดพัฒนาการที่เข้มข้นในสมัยอาณาจักรขอมซึ่งได้ทิ้งมรดกทางวัฒนธรรมหลายประการไว้ เช่น ปราสาทหินและปรางค์กู่ ครั้นในสมัยอาณาจักรอยุธยาตอนปลาย
อนุสาวรีย์ พระยาไกรภักดีศรีนครลำดวน (หลวงแก้วสุวรรณ หรือ ตากะจะ) เจ้าเมืองคนแรกผู้ก่อตั้งเมืองขุขันธ์ ต้นเค้าที่พัฒนามาเป็นจังหวัดขุขันธ์และจังหวัดศรีสะเกษ
ได้มีการยกบ้านปราสาทสี่เหลี่ยมโคกลำดวน(บริเวณใกลๆปราสาทกุด หรือปราสาทสี่เหลียมโคกลำดวน วัดเจ็ก อำเภอขุขันธ์ ในปัจจุบัน) เป็นเมืองขุขันธ์ พ.ศ. 2449 ได้มีการย้ายเฉพาะ ศาลากลางเมืองขุขันธ์ จากที่ตั้งเดิม คืออำเภอเมืองขุขันธ์ ไปตั้งบริเวณศาลากลางเมืองศีร์ษะเกษ แต่ยังคงใช้ชื่อ ศาลากลางเมืองขุขันธ์
ส่วนพื้นที่ อำเภอเมืองขุขันธ์ เมืองขุขันธ์ ประเทศสยาม ยังอยู่ที่ตั้งแห่งเดิม โดยเหตุผลที่ย้ายเฉพาะ ศาลากลางเมืองขุขันธ์ จากที่ตั้งเดิมก็เพื่อความมั่นคง กล่าวคือ
๑. พื้นที่ซึ่งจะยกฐานะหรือตั้งเป็นจังหวัด มักจะไม่ตั้งในพื้นที่ติดพรมแดนของประเทศเพื่อนบ้าน
๒. เพื่อป้องกันการแสวงหาเมืองขึ้นของประเทศมหาอำนาจผู้ล่าเมืองขึ้น โดยเฉพาะประเทศฝรั่งเศส เป็นต้น
๓. เพื่อรองรับความเจริญที่จะเกิดขึ้นในอนาคต โดยเฉพาะยุคนั้น จะสร้างเส้นทางรถไฟจากโคราชสู่ปลายทางอุบลราชธานี
๔. เพื่อให้ห่างไกลจากการรบกวนของผู้ที่ยังเคารพศรัทธาท้าวบุญจันทร์(น้องชายเจ้าเมืองขุขันธ์ท่านที่ ๙) ที่ถูกกล่าวหาว่าเป็นกบถซึ่งถูกปราบและเสียชีวิต
ดอกลำดวน ถูกจารึกไว้ในประวัติศาสตร์ในปราสาทสระกำแพงใหญ่ ปราสาทพระวิหาร พูดถึงเรื่องราวการสร้างเมืองและการสร้างเทวาลัย ก็คือปราสาทสระกำแพงใหญ่ที่อุทุมพรพิสัย และพูดถึงเมืองนี้อยู่ในป่าดงลำดวนใหญ่
ศรีสะเกษ กับ "เทศกาลดอกลำดวนบาน สืบสานประเพณีสี่เผ่าไทศรีสะเกษ" ในช่วงเดือนมีนาคมของทุกปี เพราะในช่วงนี้ดอกลำดวนที่เป็นสัญลักษณ์คู่เมืองศรีสะเกษ กำลังเบ่งบานส่งกลิ่นหอมเย้ายวน โดยในปีนี้งานได้จัดผ่านไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว เมื่อวันที่ 9-13 มีนาคม 65 ที่ผ่านมา