หน้าแรก ตรวจหวย เว็บบอร์ด ควิซ Pic Post แชร์ลิ้ง หาเพื่อน Chat หาเพื่อน Line หาเพื่อน Skype Page อัลบั้ม คำคม Glitter เกมถอดรหัสภาพ คำนวณ การเงิน
ติดต่อเว็บไซต์ลงโฆษณาลงข่าวประชาสัมพันธ์แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสมเงื่อนไขการให้บริการ
เว็บบอร์ด บอร์ดต่างๆค้นหาตั้งกระทู้

“ปานเทพ” โฆษกพิจารณาร่าง พ.ร.บ.กัญชากัญชง เรียกร้องกลุ่มทุนแพทย์ และกลุ่มทุนยาข้ามชาติ เลิกผูกขาด “กัญชา” อ้างคณะกรรมการยาเสพติด องค์การสหประชาชาติมีมติให้กัญชาและยางกัญชาออกจากยาเสพติดแล้ว

โพสท์โดย Fukurou

“ปานเทพ” โฆษกพิจารณาร่าง พ.ร.บ.กัญชากัญชง เรียกร้องกลุ่มทุนแพทย์ และกลุ่มทุนยาข้ามชาติ เลิกผูกขาด “กัญชา” อ้างคณะกรรมการยาเสพติด องค์การสหประชาชาติ (UN Commission on Narcotic Drugs) ได้พิจารณาแล้วลงมติเสียงข้างมาก 27 เสียงต่อ 25 เสียงว่าให้กัญชาและยางกัญชาออกจากยาเสพติด

In reviewing a series of World Health Organization (WHO) recommendations on cannabis and its derivatives, the Commission on Narcotic Drugs (CND) zeroed-in on the decision to remove cannabis from Schedule IV of the 1961 Single Convention on Narcotic Drugs — where it was listed alongside specific deadly, addictive opioids, including heroin, recognized as having little to no therapeutic purposes.

With a vote of 27 in favour, 25 against, and one abstention, the CND has opened the door to recognizing the medicinal and therapeutic potential of the drug, although its use for non-medical and non-scientific purposes will continue to remain illegal.  According to news reports, the decision could drive additional scientific research into the plant’s medicinal properties.

ตามที่เครือข่ายนักวิชาการและภาคประชาชนต้านภัยยาเสพติด นำโดย นายแพทย์ชาตรี บานชื่น กรรมการอิสระ บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) ในฐานะอดีตอธิบดีกรมสุขภาพจิต อดีตอธิบดีกรมการแพทย์ อดีตกรรมการแพทยสภา ได้มีจดหมายเปิดผนึกขอชี้แจงทำความเข้าใจต่อกรณีการปลดกัญชาจากการเป็นยาเสพติดในเวทีโลก เมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม 2565 นั้น เนื่องจากเป็นการอธิบายต่อกรณีที่นายปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ ได้โพสต์เฟสบุ๊กไปนั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในจดหมายเปิดผนึกดังกล่าวระบุว่าประเทศไทยกำลังขัดหรือแย้งต่อมติเสียงข้างมากในองค์การสหประชาชาติ จึงขอชี้แจงทำความเข้าใจดังต่อไปนี้

ประการแรก เนื่องจากคำอธิบายของเครือข่ายนักวิชาการและภาคประชาชนต้านภัยยาเสพติด น่าจะเป็นช่วงเวลาที่ผู้เขียนได้มีการโพสต์ช่วงแรก แต่ผู้เขียนเมื่อทำการตรวจสอบแล้วยังมีการปรับแก้ไขจึงทยอยปรับปรุงแก้ไขจนแล้วเสร็จในเวลาประมาณ 14.00 น.ของวันเดียวกัน

ดังนั้นถึงแม้เครือข่ายนักวิชาการและภาคประชาชนต้านภัยยาเสพติด จะเลือกนำเสนออธิบายตอบโต้บทความของผู้เขียนในช่วงเวลาที่ยังแก้ไขบทความปรับปรุงไม่แล้วเสร็จ แต่ผู้เขียนก็ขออภัยและขอน้อมรับความเข้าใจผิดของเครือข่ายนักวิชาการและภาคประชาชนต้านภัยยาเสพติดนั้นไว้แต่เพียงผู้เดียวเอง โดยไม่เกี่ยวข้องกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข หรือ ประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่าง พ.ร.บ. กัญชา กัญชง พ.ศ…​สภาผู้แทนราษฎรแต่ประการใด

ซึ่งหากได้พิจารณาแล้วบทความที่แก้ไขเสร็จสิ้นแล้ว ข้อทักท้วงทั้งหลายส่วนใหญ่ในจดหมายดังกล่าวนั้นได้มีทำการปรับปรุงแก้ไขในโพสต์เดียวกันแล้ว ก่อนที่เครือข่ายนักวิชาการและภาคประชาชนต้านภัยยาเสพติดจะได้ทำจดหมายแล้วเสร็จมาเผยแพร่เสียอีก

ประการที่สอง การที่นายทีโดรส อัดฮานมอ กีบรีเยซุส ผู้อำนวยการใหญ่องค์กรอนามัยโลก ได้ทำหนังสือถึงนายอังตอนียู กูแตรึช เลขาธิการสหประชาชาติ เมื่อวันที่ 24 มกราคม 2562 เสนอปลดล็อก “ช่อดอก” และ “ยางกัญชา”ออกจากบัญชียาเสพติดตารางที่ 4 (Schedule IV) เป็นเรื่องจริง โดยในหนังสือดังกล่าวนีองค์การอนามัยโลกไม่ได้กล่าวถึงการย้ายให้ “ช่อดอก” และ “ยางกัญชา” ไปเป็นยาเสพติดประเภทอื่นใดทั้งสิ้น ปรากฏเอกสารตามลิงค์อ้างอิง[1] โดยมีการเสนอข้อความว่า

(ช่อดอกที่มียาง)กัญชา และ ยางกัญชา ให้ลบออกจากยาเสพติดตารางที่ 4 ของอนุสัญญาเดี่ยวว่าด้วยยาเสพติดให้โทษ ค.ศ. 1961

โดยใช้ภาษาอังกฤษว่า “Cannabis and Cannabis resin to be deleted from Schedule IV of the Single Convention on Narcotic Drugs (1961)”

ประการที่สาม การที่องค์การอนามัยโลก ซึ่งเป็นองค์กรผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพได้ทำหนังสือถึงเลขาธิการสหประชาชาติ เมื่อวันที่ 24 มกราคม 2562 นั้น เป็นผลจากการประชุมของ “คณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญยาเสพติด” ขององค์การอนามัยโลก หรือ Expert Committee on Drug Dependence (ECDD) โดยได้มีการจัดประชุมครั้งที่ 41 ระหว่างวันที่ 12-16 พฤศจิกายน 2561

ย่อมแสดงให้เห็นว่า “คณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญยาเสพติด” องค์การอนามัยโลกซึ่งเป็นองค์กรระหว่างประเทศที่มีความเชี่ยวชาญด้านสุขภาพเล็งเห็นแล้วว่าการปลดล็อก “ช่อดอก” และ “ยางกัญชา” มีน้ำหนักเป็นคุณประโยชน์มากกว่าโทษ แต่ก็ยังมีข้อเสนอให้มีการควบคุมสารสกัด THC (หรือสารที่ทำให้เมา)ให้ใช้ประโยชน์ทางการแพทย์และทางวิทยาศาสตร์ (Schedule I) ในขณะที่สารสกัดของกัญชงที่ชื่อ CBD ที่มีองค์ประกอบของสาร THC ต่ำกว่าร้อยละ 0.2 ไม่เป็นยาเสพติดที่ต้องถูกควบคุมระหว่างประเทศ (ซึ่งประเทศไทยเลือกแนวทางตามนี้เช่นกัน)

ประการที่สี่ อย่างไรก็ตามเมื่อถึงวันที่ 2 ธันวาคม 2563 คณะกรรมการยาเสพติด องค์การสหประชาชาติ (UN Commission on Narcotic Drugs) ได้พิจารณาแล้วลงมติเสียงข้างมาก 27 เสียงต่อ 25 เสียงว่าให้กัญชา และยางกัญชาออกจากยาเสพติดตารางที่ 4 (ควบคุมความรุนแรงในระดับเฮโรอีน) แต่ยังคงให้กัญชาอยู่ในยาเสพติดตารางที่ 1 คือกลุ่มยาที่ใช้ในทางการแพทย์ได้ เช่น มอร์ฟีน เฟนตานิล

แม้จะแสดงให้เห็นว่ามติทั้งหมดของวันที่ 2 ธันวาคม 2563 โดยคณะกรรมการยาเสพติด องค์การสหประชาชาติ (UN Commission on Narcotic Drugs) จะไม่สอดคล้องไปกับ “คณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญยาเสพติด” องค์การอนามัยโลกเสียทีเดียว

แต่ก็แสดงให้เห็นว่าคณะกรรมการยาเสพติด องค์การสหประชาชาติ ได้เล็งเห็นประโยชน์และคุณค่าในการบำบัดรักษาของกัญชามากกว่าเดิม จึงยอมได้ถอนออกจากตารางกัญชาออกจากกลุ่มยาเสพติดร้ายแรงในตารางที่ 4 (กลุ่มเดียวกับ เฮโรอีน) แต่ยังคงกัญชา ยางกัญชา และสารสกัด เป็นยาเสพติดใน ตารางที่ 1 ที่เป็นยารักษาโรคในกลุ่มเดียวกับ มอร์ฟีน และเฟนตานิล ย่อมแสดงให้เห็นว่าคณะกรรมการยาเสพติด องค์การสหประชาชาติลดระดับความร้ายแรงของกัญชาอย่างชัดเจนเป็นลำดับแล้ว

แต่การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวก็อาจจะทำให้การโจมตีกัญชาอาจเพิ่มมากขึ้นเป็นขบวนการเพราะกลายเป็นคู่แข่งยาแก้ปวดบางประเภทเช่นกัน โดยเฉพาะการขัดขวางไม่ให้ประชาชนพึ่งพาตัวเองได้ และต้องให้ผลประโยชน์ของกัญชาถูกผูกขาดอยู่กับกลุ่มทุนแพทย์และกลุ่มทุนบริษัทยาบางแห่งเท่านั้น เพราะในหลายประเทศพบว่าในประเทศที่มีการให้กัญชามาใช้กับผู้ป่วยจะสามารถช่วยลดการติดการใช้ยาแก้ปวดที่ออกฤทธิ์เสพติดรุนแรง หรือลดยาออกฤทธิ์ทางจิตประสาทรุนแรงได้

ประการที่ห้า สำหรับการดำเนินนโยบายให้ถอดกัญชาออกจากยาเสพติดของประเทศไทยนั้น เป็นไปตามมติของผู้แทนปวงชนชาวไทย โดยมติรัฐสภาเมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2564 เห็นชอบกับประมวลกฎหมายยาเสพติด ที่ไม่ปรากฏชื่อ “กัญชา” เป็นยาเสพติดให้โทษประเภทใดๆ ด้วยจำนวนคะแนนทั้งส้ิน 467 เสียง โดยไม่มีเสียงคัดค้านแม้แต่เสียงเดียว

ประการที่หก ต่อมาคณะกรรมการควบคุมยาเสพติด และ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดของประเทศไทย ได้เห็นชอบให้ถอดกัญชาทุกส่วนออกจากยาเสพติดให้โทษ คงเหลือแต่สารสกัดของกัญชาที่มีสาร THC ไม่เกินร้อยละ 0.2 ที่ยังคงเป็นยาเสพติด มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 9 มิถุนายน 2565 ก็เป็นแนวทางเดียวที่ภาครัฐดำเนินตามคณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญยาเสพติด ขององค์การอนามัยโลกเช่นเดียวกัน

ประการที่เจ็ด ถึงแม้ประเทศไทยโดยคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดจะได้ถอดช่อดอกกัญชาออกจากยาเสพติดแล้วก็ตาม แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะไม่มีการควบคุมใดๆ เพราะร่างพระราชบัญญัติ กัญชา กัญชง พ.ศ…. ของพรรคภูมิใจไทยสำหรับการควบคุมกัญชาและกัญชงนั้นได้ถูกเสนอต่อประธานสภาผู้แทนราษฎรตั้งแต่วันที่ 27 มกราคม 2565 โดยได้รับความเห็นชอบจากสภาผู้แทนราษฎรเมื่อวันที่ 8 มิถุนายน 2565 แล้ว และกำลังอยู่ในระหว่างการพิจารณาของคณะกรรมาธิการวิสามัญฯ

ดังนั้นจึงเป็นหลักประกันว่าแม้จะไม่เรียก “กัญชา” ว่า “ยาเสพติด” แต่ก็ยังมีมาตรการควบคุมกำกับดูแลทั้งการปลูก การนำเข้า การส่งออก การผลิต การจำหน่าย ฯลฯ รวมถึงบทลงโทษตามแนวทางอนุสัญญาเดี่ยวว่าด้วยยาเสพติดให้โทษ ค.ศ. 1961 เช่นกัน

อย่างไรก็ตาม แม้ในช่วงเวลาการรอการพิจารณา ร่างพระราชบัญญัติ กัญชา กัญชง พ.ศ…. นี้จะเกิดสุญญากาศทางกฎหมาย แต่ก็อยู่ในวิสัยที่จะสามารถอธิบายต่อคณะกรรมการยาเสพติดระหว่างประเทศได้ เพราะประเทศไทยได้เคยผ่านช่วงเวลาลงทะเบียนนิรโทษกรรมผู้ใช้กัญชาใต้ดินในช่วงสุญญากาศเริ่มแรกที่มีการบังคับใช้ พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2562 มาแล้วเช่นกัน

ประกอบรัฐบาลได้มีมาตรการให้ข้อมูล ความรู้และการประยุกต์กฎหมายอื่นๆมาบังคับใช้ชั่วคราวเพื่อบรรเทาผลกระทบต่างๆที่เกิดขึ้น อีกทั้งยังได้รับความร่วมมือจากสื่อมวลชนที่ได้ช่วยเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารให้ประชาชนมีความระมัดระวังการใช้กัญชา โดยช่วงเวลาสุญญากาศทางกฎหมายนี้จะยุติได้ในเวลาอีกไม่นาน เมื่อมีการประกาศบังคับใช้ พระราชบัญญัติ กัญชา กัญชงแล้ว

ประการที่แปด แม้อนุสัญญาเดี่ยวว่าด้วยยาเสพติดให้โทษ ค.ศ. 1961 จะยังคงให้ใช้กัญชาทางการแพทย์และทางวิทยาศาสตร์เท่านั้น แต่ในความเป็นจริงแล้วมีหลายประเทศได้ดำเนินการไปมากกว่านั้นถึงขั้นการ “ใช้กัญชาเพื่อนันทนาการ”มานานมากแล้ว เช่น แคนนาดา หลายมลรัฐในสหรัฐอเมริกา เนเธอร์แลนด์ อุรุกวัย เม็กซิโก แอฟริกาใต้ ฯลฯ

ย่อมแสดงให้เห็นว่าแต่ละประเทศซึ่งมีเอกราชของตัวเอง มีสิทธิที่จะดำเนินนโยบายประเทศของตัวเองด้วยเหตุผลที่แตกต่างกันไปเพื่อประโยชน์ของประเทศตนเอง และบางประเทศ เช่น เนเธอร์แลนด์ ที่มีการใช้กัญชาเพื่อนันทนาการอย่างมีการควบคุมเกิน 46 ปีแล้ว แต่ก็ไม่ได้ก่อปัญหาความรุนแรงหรือถูกคว่ำบาตรในเวทีระหว่างประเทศเช่นเดียวกัน

ประการที่เก้า สำหรับประเทศไทยได้ปรากฏว่ามีความแตกต่างจากต่างชาติ เพราะมีประวัติศาสตร์การใช้กัญชาในทางวัฒนธรรมมาอย่างยาวนาน มีประวัติศาสตร์การใช้กัญชาประกอบอาหารทางวัฒนธรรมอย่างปลอดภัย อีกทั้งยังมีการแพทย์แผนไทยซึ่งมีประวัติศาสตร์ที่ทรงคุณค่าว่ามีตำรับยาที่เข้าตัวยากัญชาจำนวนมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งมีตำรับยาเข้ากัญชาขึ้นทะเบียนประกาศลงในราชกิจจานุเบกษาว่าเป็นตำรับยาแผนไทยของชาติมากกว่า 162 ตำรับ และยังไม่นับกรณีที่มีการใช้ในการแพทย์พื้นบ้าน โดยเฉพาะช่วงเวลาที่แพทย์กีดกันการใช้กัญชาในประเทศไทย ประชาชนและครอบครัวผู้ป่วยได้เรียนรู้ในการทำและใช้กัญชาใต้ดินเพื่อรักษาตัวเองอีกจำนวนมาก

โดยจากการรวบรวมข้อมูลของกระทรวงสาธารณสุข พบว่า ตำรับยาเข้ากัญชา และน้ำมันกัญชาที่ใช้ในประเทศไทยที่ผ่านมานั้น สามารถช่วยดูแลผู้ป่วยให้มีคุณภาพชีวิตดีขึ้นได้มาก องค์ประกอบเหล่านี้จึงทำให้ประเทศไทยจำเป็นต้องมีการบริหารจัดการของตัวเองเพื่อประโยชน์ทางการแพทย์ สุขภาพ และเศรษฐกิจ ที่มีความแตกต่างจากชาติอื่น

จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องคำนึงถึงผลประโยชน์ของประชาชนในชาติให้มากกว่า การผูกขาดผลประโยชน์กัญชาเอาไว้แต่เฉพาะกลุ่มทุนทางการแพทย์หรือบริษัทยาใด

ประการที่สิบ ปัญหาของประเทศไทยเครื่องดื่มแอลกอฮอลนั้นอาจจะร้ายแรงยิ่งกว่ากัญชา ทั้งในมิติการเสพติดสุราที่ง่ายแล้ว ยังก่อให้เกิดการทำร้ายร่างกายและทะเลาะวิวาทหรือก่ออาชญากรรมในสังคมได้ซึ่งตรงกันข้ามกับกัญชาอย่างมาก ดังนั้นหากจะมีการควบคุมการก่อความรุนแรงในสังคมก็ควรจะเน้นการควบคุมสุราให้มากกว่ากัญชาหรือไม่ ในขณะที่บุหรี่ซึ่งเสพติดง่ายกว่ากัญชาแต่ก็ก่อให้เกิดแต่โทษต่อสุขภาพอย่างมาก ซึ่งต่างจากกัญชาที่ยังเป็นสมุนไพรมีประโยชน์ต่อสุขภาพในหลายมิติ ด้วยเหตุผลนี้จึงไม่มีความสมเหตุผลที่จะควบคุมกัญชาให้เข้มข้นเกินเลยไปกว่าสุราและบุหรี่ไปมากได้

ในทางตรงกันข้ามหากมีการบริหารจัดการที่ดี กัญชา จะเป็นสมุนไพรสำคัญที่จะช่วยลดปัญหาการติดบุหรี่ ติดสุรา และติดยาบ้าได้ด้วย ซึ่งสอดคล้องกับตำรับยาไทยที่ใช้กัญชาและกระท่อมในการอดฝิ่นในอดีต ดังนั้นในที่สุดแล้วกัญชาก็อาจจะขัดผลประโยชน์ของกลุ่มทุนสุราและยาเสพติดอื่นด้วยเช่นกัน

ดังนั้นหากนักวิชาการทุกภาคส่วนช่วยกันให้ข้อมูลประชาชนในการใช้กัญชาอย่างถูกต้อง และไม่ให้นำไปใช้ในทางที่ไม่ถูกต้อง ย่อมจะช่วยประชาชนให้พึ่งพาตัวเองในด้านสุขภาพได้มากขึ้นในที่สุดต่อไป

ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์
โฆษกคณะกรรมการสื่อสารและประชาสัมพันธ์การใช้กัญชาอย่างเข้าใจ กระทรวงสาธารณสุข
โฆษกและกรรมาธิการ คณะกรรมาธิการวิสามัญ พิจารณา ร่าง พ.ร.บ. กัญชา กัญชง พ.ศ….
18 กรกฎาคม 2565

⚠ แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสม 
Fukurou's profile


โพสท์โดย: Fukurou
เป็นกำลังใจให้เจ้าของกระทู้โดยการ VOTE และ SHARE
Hot Topic ที่น่าสนใจอื่นๆ
"เลขเด็ดปฏิทินจีน" รับปีใหม่ งวดวันที่ 2 มกราคม 68 มาแล้ว!..คอหวยห้ามพลาด!!แรงงานต่างด้าวในเกาหลี'หนาวตาย'!สังคมกังขาในมนุษยธรรม!ครูสาวกรี้ดลั่น!จงอางซุกศูนย์เด็กเล็ก แจ้งกู้ภัยท่องคาถาตาพรานบุญจับ
Hot Topic ที่มีผู้ตอบล่าสุด
ทำไมน้ำแข็งชุบแกลบถึงละลายช้ากว่าปกติ?
กระทู้อื่นๆในบอร์ด MISCELLANEOUS-จิปาถะ
ประเทศในกลุ่มอาเซียนที่มีอุณหภูมิสูงสุดและต่ำสุดในรอบ 20 ปี"เจี๊ยบ อมรัตน์"ยอมรับรู้จัก"พ่อกำนันนก"ข้าวปลูกครั้งแรกอย่างน้อย 9,400 ปีที่แล้วในจีนสหรัฐฯยอมยกเลิกการอาญัติกองทุนน้ำมันอิหร่านกว่าสองแสนล้านบาท เพื่อแลกกับนักโทษ 5 คน
ตั้งกระทู้ใหม่