วัฒนธรรมของ สัตว์เลื้อยคลาน ที่มันคือกิ้งก่าขนาดใหญ่
วัฒนธรรมของ สัตว์เลื้อยคลานในเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่มันคือกิ้งก่าขนาดใหญ่ ความยาว 2.5–3 เมตร เป็นสัตว์ในตระกูลนี้ที่มีความใหญ่เป็นอันดับสองรองจากมังกรโกโมโด
1. คำว่า "เ...้ย" นั้นมักใช้เป็นคำด่าและเป็นคำหยาบคายที่หรือภาษาที่ไม่สุภาพสำหรับสามัญชนทั่วไปในภาษาไทย บางครั้งจึงเลี่ยงไปใช้คำว่า ตัวเงินตัวทอง หรือ ตัวกินไก่ หรือ น้องจระเข้ แทน หรือบางครั้งก็ใช้คำว่า ตะกวด (ซึ่งในเชิงอนุกรมวิธานแล้วตะกวดเป็นสัตว์คนละชนิดกับเ...้ย) และบางครั้งยังใช้คำว่า วรนุช (มาจากคำว่า Varanus ซึ่งเป็นสกุลของเ...้ย) สันนิษฐานว่าคำว่า "เ...้ย" มาจากภาษาบาลี "...น" ที่แปลว่าต่ำช้า กร่อนเหลือ "xี" แล้วแผลงเป็นเ...้ย ภาคอีสานของไทยเรียก แลน
2.นอกจากนี้แล้ว ไข่เ...้ยยังสามารถนำมารับประทานได้ โดยนำมาต้มให้สุก แล้วใช้เข็มจิ้มให้เป็นรู แล้วแช่น้ำเกลือให้ความเค็มซึมเข้าไป แล้วจึงนำไปย่างไฟ มีรสชาติเค็ม ๆ มัน ๆ ใช้รับประทานคู่กับมังคุดจะได้รสชาติดี จึงเป็นที่มาของคำพังเพยที่ว่า "เกลียดตัวกินไข่ เกลียดปลาไหลกินน้ำแกง"
3. รัชกาลที่ 1 ทรงโปรดการเสวยไข่เหี้ยมาก ครั้งหนึ่งมีโปรดจะเสวยไข่เ...้ยกับมังคุด แต่หาไม่ได้ เนื่องจากขณะนั้นไม่ใช่ฤดูกาลเ...้ยวางไข่ เจ้าจอมแว่นจึงได้ประดิษฐ์ขนมชนิดหนึ่งขึ้นมา โดยให้มีความใกล้เคียงกับไข่เหี้ยมากที่สุด คือ "ขนมไข่เ...้ย" ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อมาเป็น "ขนมไข่หงส์" ในช่วงรัชกาลที่ 4
4. เชื่อว่าคำว่าเ...้ยเริ่มกลายมาเป็นคำหยาบและคำด่าทอในสมัยรัชกาลที่ 4 เนื่องจากก่อนหน้านั้น เ...้ย ก็ยังถูกบันทึกไว้ในวรรณกรรมของเจ้าฟ้ากุ้งในสมัยกรุงศรีอยุธยาในฐานะเป็นแค่ชื่อเรียกสัตว์เลื้อยคลานชนิดนี้เท่านั้น โดยเป็นการเรียกเพี้ยนมาจากภาษาจีนแต้จิ๋วคำว่า "ตั่วเฮีย" (จีน: 大哥) ซึ่งหมายถึง พี่ชายคนโต หรือพี่ใหญ่ เนื่องจากในสมัยนั้นมีการปราบปรามฝิ่น และชาวจีนที่อาศัยอยู่ในประเทศสยามขณะนั้นถือได้ว่าเป็นผู้เสียผลประโยชน์จากการปราบปรามฝิ่น จึงออกล้างแค้นโดยฆ่าฟันชาวสยามล้มตายเป็นจำนวนมาก ดังนั้นชาวสยามในเวลานั้นจึงได้ใช้คำว่า ตั่วเฮีย เป็นคำด่าทอและเพี้ยนมาเป็น "ตัวเ...้ย" หรือ "เ...้ย" ในที่สุด
ตะกวด/ตัวเงินตัวทอง? สำริด ใช้ในพิธีการขอฝนยุคเหล็กสุวรรณภูมิ อายุราว 2,500 ปีมาแล้ว พบที่ เขาบ่อพลับ ใกล้เขาไม้เดน เมืองโบราณสมัยทวารวดี ที่ ตำบลท่าน้ำอ้อย อำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์ ปัจจุบันจัดแสดงอยู่ที่มิวเซียมท้องถิ่นวัดเขาไม้เดน
5.ชาวบูกิต ซึ่งเป็นชาวพื้นเมืองบนเกาะซูลาเวซี ในอินโดนีเซีย ซึ่งนับถือศาสนาอิสลาม เชื่อว่าเ...้ยเป็นสัตว์ศักดิ์สิทธิ์ โดยเชื่อว่าเป็นวิญญาณบรรพบุรุษที่กลับมาเกิดใหม่ในร่างของสัตว์เลื้อยคลาน มีตำนานเล่าว่ากษัตริย์โกอา ซึ่งเป็นบรรพบุรุษของชาวบูกิตมีโอรสฝาแฝดสององค์ที่เพิ่งกำเนิดมา โอรสผู้ที่เป็นมนุษย์ได้ตายไป แต่อีกองค์หนึ่งเป็นเ...้ย พระองค์จึงรักเหี้ยมาก แต่หลังจากนั้นไม่นานเ...้ยก็ไม่ยอมกินอะไรจนเป็นที่กลัวว่าอาจจะตาย พระองค์จึงนำไปปล่อยที่ปากแม่น้ำ จึงทำให้ชาวบูกิตจะรักและเลี้ยงดูเ...้ยเสมือนหนึ่งว่าเป็นลูกหลานของตนเอง มีการเลี้ยงดูและอาบน้ำให้เป็นอย่างดี และเมื่อถึงเวลาจะมีพิธีแห่นำเ...้ยไปปล่อยที่แม่น้ำ ด้วยหวังว่าสักวันหนึ่งเ...้ยจะกลับหามาตนและครอบครัวอีกครั้ง ซึ่งน้ำที่เ...้ยลงไปว่ายถือเป็นน้ำศักดิ์สิทธิ์สามารถนำไปดื่มกินหรืออาบได้ ซึ่งความเชื่อนี้แม้ถูกมองว่าแปลกสำหรับสายตาคนนอก เพราะไม่มีอยู่ในหลักศาสนาอิสลาม แต่นี่เป็นความเชื่อดั้งเดิมที่มีมาก่อนที่ศาสนาอิสลามจะเข้ามาเผยแผ่ และชาวบูกิตก็นำเอาความเชื่อนี้มาผนวกเข้ากับศาสนา โดยเชื่อว่าผู้ที่เข้าร่วมพิธีปล่อยเ...้ยลงแม่น้ำ จะได้บุญเสมอเหมือนกับการได้ไปจาริกแสวงบุญที่นครเมกกะ
6. แนวคิดเปลี่ยนชื่อ ครั้งหนึ่ง เจ้าหน้าที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมพูดกันเป็นวงในว่า จะเปลี่ยนชื่อจากตัวเ...้ยเป็น "วรนัส" หรือ "วรนุส" หรือ "วรนุช"(สกุล Varanus อ่านเป็นภาษาละตินว่า วารานุส ซึ่งคล้ายกับคำว่า วรนุช) จนเกิดเป็นกระแสข่าวอยู่ช่วงหนึ่งในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2552 ซึ่งหลังจากที่มีกระแสข่าวนี้ออกมา คำว่าวรนุชนั้นก็ถูกนำไปใช้ในการสื่อความหมายไปในทางเสื่อมเสียบนอินเทอร์เน็ต และส่งผลกระทบต่อบุคคลที่ชื่อวรนุชไปโดยปริยาย
รัชกาลที่ 1 ทรงโปรดการเสวยไข่เหี้ยมาก ครั้งหนึ่งมีโปรดจะเสวยไข่เ...้ยกับมังคุด แต่หาไม่ได้ เนื่องจากขณะนั้นไม่ใช่ฤดูกาลเ...้ยวางไข่ เจ้าจอมแว่นจึงได้ประดิษฐ์ขนมชนิดหนึ่งขึ้นมา โดยให้มีความใกล้เคียงกับไข่เหี้ยมากที่สุด คือ "ขนมไข่เ...้ย" ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อมาเป็น "ขนมไข่หงส์" ในช่วงรัชกาลที่ 4
เชื่อว่าคำว่าเ...้ยเริ่มกลายมาเป็นคำหยาบและคำด่าทอในสมัยรัชกาลที่ 4 เนื่องจากก่อนหน้านั้น เ...้ย ก็ยังถูกบันทึกไว้ในวรรณกรรมของเจ้าฟ้ากุ้งในสมัยกรุงศรีอยุธยาในฐานะเป็นแค่ชื่อเรียกสัตว์เลื้อยคลานชนิดนี้เท่านั้น โดยเป็นการเรียกเพี้ยนมาจากภาษาจีนแต้จิ๋วคำว่า "ตั่วเฮีย" (จีน: 大哥) ซึ่งหมายถึง พี่ชายคนโต หรือพี่ใหญ่ เนื่องจากในสมัยนั้นมีการปราบปรามฝิ่น และชาวจีนที่อาศัยอยู่ในประเทศสยามขณะนั้นถือได้ว่าเป็นผู้เสียผลประโยชน์จากการปราบปรามฝิ่น จึงออกล้างแค้นโดยฆ่าฟันชาวสยามล้มตายเป็นจำนวนมาก ดังนั้นชาวสยามในเวลานั้นจึงได้ใช้คำว่า ตั่วเฮีย เป็นคำด่าทอและเพี้ยนมาเป็น "ตัวเ...้ย" หรือ "เ...้ย" ในที่สุด