8 โรคเกี่ยวกับดวงตาที่ควรระวัง⚠️👀
ก่อนจะไปอ่าน📚👀
อย่าลืมกด 5 ดาว🌟และกดติดตาม➕
เพื่อเป็นกำลังใจ✊🏻💓ในการคิดคอนเทนต์ดีๆ
ถ้าพร้อมแล้วก็🔥
ไปกันเลย🎉✨
1) ต้อหิน🪨🗿
🗿ต้อหิน (Glaucoma)
🪨เกิดจากความเสื่อมของเส้นประสาทตา
🗿ส่งผลให้สูญเสียการมองเห็นได้ในที่สุด
🪨ส่วนใหญ่มีความดันลูกตาสูง
🗿ซึ่งอาการที่สามารถสังเกต ได้แก่
🪨หากเป็นต้อหินแบบเฉียบพลัน
🗿จะปวดตา ตามัวลง และเห็นรุ้งรอบดวงไฟ
🪨อาจมีอาการปวดศีรษะ
🗿คลื่นไส้ อาเจียนร่วมด้วยได้
🪨เนื่องจากความดันตาสูงมาก
🗿แต่ความน่าสนใจของโรคต้อหิน
🪨คือผู้ป่วยจำนวนไม่น้อยไม่มีอาการเลย
🗿เหมือนภัยเงียบค่อย ๆ ทำลายเส้นประสาท
🪨โดยไม่มีอาการเตือนล่วงหน้า
🗿ต้อหินเฉียบพลันพบบ่อยในคนเอเชีย
🪨และปัจจุบันพบในคนอายุน้อย
🗿(เช่น เริ่มตั้งแต่อายุ 30 กว่า ๆ) เพิ่มมากขึ้น
2) ต้อกระจก🪞🔍
🪞ต้อกระจก (Cataract)
🔍เป็นภาวะที่เลนส์ตามีความขุ่นมัว
🪞จากปกติที่มีความใส
🔍ทำให้แสงผ่านเข้าดวงตาลดลง
🪞บดบังทำให้ไม่สามารถทำให้จอประสาทตา
🔍รับภาพได้ชัดเจน
🪞ทำให้การมองเห็นลดลงเรื่อย ๆ
🔍ส่วนใหญ่พบในผู้สูงวัย
🪞อายุมากกว่า 50 – 60ปีขึ้นไป
🔍แต่สามารถเกิดขึ้นได้ทุกวัยตั้งแต่วัยเด็ก
🪞หรือเป็นแต่กำเนิด หรือกลุ่มคนอายุน้อย
🔍หากมีการใช้สเตียรอยด์
🪞ติดต่อกันเป็นเวลานาน อุบัติเหตุทางตา
🔍หรือโรคที่มีการอักเสบในตา เป็นต้น
🪞อาการที่สังเกตได้คือ ตาจะค่อย ๆ พร่ามัวลง
🔍เหมือนมีหมอกหรือฝ้าบัง เห็นภาพซ้อน
🪞เห็นแสงไฟกระจาย
🔍มองภาพเป็นสีเหลืองหรือสีผิดเพี้ยนไป
🪞อาจมีค่าสายตาเปลี่ยนแปลงรวดเร็ว
🔍เช่น สายตาสั้นมากขึ้น
🪞ต้องเปลี่ยนแว่นตาบ่อยผิดปกติ
3) ต้อเนื้อ🥩ต้อลม💨
🥩ต้อเนื้อ (Pterygium)
💨คือ ความเสื่อมสภาพของเยื่อบุตา
🥩ทำให้มีเนื้อเยื่อผิดปกติเป็นเยื่อสีแดง
💨ยื่นเข้าไปในตาดำเป็นรูปสามเหลี่ยม
🥩ค่อย ๆ ลุกลาม ถ้าเป็นมากใกล้
💨หรือบังปิดรูม่านตา การมองเห็นจะผิดปกติ
🥩มีสายตาเอียงมากขึ้นหรือตามัวลงมาก
💨ต้อเนื้อพบบริเวณหัวตามากกว่าหางตา
🥩โรคนี้มีความสัมพันธ์กับแสงแดด
💨แสงอัลตราไวโอเลต
🥩ทำให้เยื่อบุตาเสื่อมสภาพลง
💨พบบ่อยในเขตร้อนและผู้ที่ทำงานกลางแจ้ง
🥩พบเจอทั้งแสงแดด ลม ฝุ่น ควัน ทราย
💨พบมากในผู้ที่มีอายุ 30 – 35 ปี
🥩ซึ่งอาการที่เกิดขึ้นคือ ตาแดง ระคายเคือง
💨ไม่สบายตา ถ้าเป็นมากจะเห็นภาพไม่ชัด
🥩ส่วนต้อลม (Pinguecula)
💨คือ การเสื่อมสภาพเช่นเดียวกับต้อเนื้อ
🥩แต่ยังไม่ลุกลามเข้าตาดำ
💨เป็นอยู่บริเวณเยื่อบุตาเท่านั้น
🥩จึงมีอาการแค่ระคายเคือง แต่ตาไม่มัวลง
4) วุ้นตาเสื่อม🧊👀
🧊วุ้นตา (Vitreous Degeneration)
👀มีลักษณะเป็นเจลหนืดใส
🧊เหมือนวุ้นอยู่ภายในส่วนหลังของลูกตา
👀โดยอยู่ติดกับจอประสาทตาที่ล้อมรอบมันอยู่
🧊เมื่อวุ้นตาเสื่อม น้ำวุ้นในตามีการเปลี่ยนสภาพ
👀บางส่วนจะกลายเป็นของเหลว
🧊และบางส่วนจับเป็นก้อนหรือเป็นเส้น
👀เหมือนหยากไย่
🧊และวุ้นตาอาจจะหดตัว
👀ลอกออกจากผิวจอประสาทตา
🧊ทำให้มองเห็นเป็นเงาดำ จุดเล็ก ๆ เส้น ๆ วง ๆ
👀หรือเส้นหยากไย่ลอยไปลอยมา
🧊ขยับไปมาได้ตามการกลอกตา
👀หรือมีแสงวาบคล้ายฟ้าแลบ
🧊หรือแสงแฟลชจากกล้องถ่ายรูป
👀ความน่าสนใจคือสาเหตุของโรค
🧊มักเกิดจากความเสื่อมตามวัย
👀พบมากในคนที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป
🧊และกลุ่มสายตาสั้น
👀แต่ปัจจุบันผู้ที่เป็นโรคนี้อายุน้อยลงเรื่อย ๆ
🧊และหากปล่อยทิ้งไว้ไม่เข้ารับการรักษา
👀อาจร้ายแรงถึงขั้นจอประสาทตาฉีกขาด
🧊หลุดลอก และสูญเสียการมองเห็นถาวรได้
👀ดังนั้นจึงควรตรวจคัดกรอง
🧊และหากมีอาการต้องรีบพบแพทย์ทันที
5) จอประสาทตาเสื่อมตามวัย👵🏻👀
👵🏻จอประสาทตาเสื่อมตามวัย ไฟ(Age –
👀Related Macular Degeneration: AMD)
👵🏻เกิดจากจุดรับภาพบริเวณกลางจอประสาทตา👀เสื่อม มักเป็นไปตามวัย
👵🏻พบมากในผู้ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป
👀มีความร้ายแรงถึงขั้นสูญเสียการมองเห็น
👵🏻อาการที่สังเกตได้คือ มองภาพไม่ชัด
👀มองเห็นบิดเบี้ยว ตาพร่ามัว
👵🏻มีจุดดำหรือเงาตรงกลางภาพ
👀ซึ่งจอประสาทตาเสื่อม
👵🏻เป็นโรคที่ต้องรีบทำการรักษา
👀กับจักษุแพทย์โดยเร็วเพื่อรักษา
👵🏻และช่วยควบคุมไม่ให้การมองเห็นแย่ลง
👀จนรบกวนคุณภาพชีวิต
👵🏻ที่น่าสนใจคือปัจจุบัน
👀ยังไม่มีวิธีรักษาจอประสาทตาเสื่อมให้หายขาด
👵🏻การป้องกันดูแลที่ดีที่สุดคือ
👀การตรวจคัดกรองและรักษาดูแลดวงตา
👵🏻เลี่ยงแดดจ้า ทานอาหารที่มีประโยชน์
👀ออกกำลังกายเป็นประจำ
👵🏻ควบคุมน้ำหนัก งดสูบบุหรี่
👀จะช่วยชะลอความเสื่อมที่อาจเกิดขึ้นได้
6) เบาหวานขึ้นตา🍬🍭
🍬เบาหวานขึ้นตา (Diabetic Retinopathy)
🍭เป็นความผิดปกติที่เกิดขึ้นจากโรคเบาหวาน
🍬พบในผู้ป่วยเบาหวาน
🍭โดยมีสาเหตุมาจากการที่น้ำตาลในเลือดสูง
🍬ทำให้หลอดเลือดและระบบประสาทเสื่อมลง
🍭ส่งผลให้ชั้นจอประสาทในลูกตาเกิดความเสื่อม
🍬ถ้าทิ้งไว้ไม่ได้รับการรักษา
🍭จะทำให้ตามัวและตาบอดได้
🍬ความน่าสนใจของโรคนี้คือ
🍭ผู้ป่วยเบาหวานบางคนไม่เคยตรวจตาเลย
🍬จึงไม่ทราบว่าการมองเห็น
🍭ของดวงตาแต่ละข้างเป็นอย่างไร
🍬เพราะโดยรวม 2 ข้างยังมองยังเห็นอยู่
🍭แต่อาจมีด้านหนึ่งที่แย่กว่าแล้ว
🍬และบางคนรู้สึกว่ามองเห็นโดยรวมยังปกติ
🍭จึงไม่มาพบจักษุแพทย์
🍬ทำให้บางครั้งรักษาช้าเกินไป
🍭และตาบอดได้ในที่สุด
🍬(โดยทั่วไปผู้ป่วยเบาหวานต้องตรวจ
🍭อย่างน้อยปีละครั้ง
🍬หรือบ่อยกว่านั้นถ้าเริ่มมีเบาหวานขึ้นตา)
🍭ซึ่งการตรวจคัดกรอง
🍬และปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์
🍭รวมถึงควบคุมโรคเบาหวานให้ดี
🍬จะช่วยลดความเสียหาย
🍭และความรุนแรงที่จะเกิดขึ้นได้กับตา
🍬และอวัยวะอื่น ๆ
7) ตาแห้ง⛱️🏜️
⛱️ตาแห้ง (Dry Eyes)
🏜️เป็นโรคตาที่พบได้บ่อยในกลุ่มสูงวัย
⛱️และในวัยทำงาน มีอาการไม่สบายตา
🏜️ระคายเคือง เหมือนมีสิ่งแปลกปลอมในตา
⛱️แสบตาหรืออาจน้ำตาไหลมากได้
🏜️เกิดจากหลายสาเหตุ
⛱️เช่น การทำงานผิดปกติ
🏜️ของต่อมไขมันที่เปลือกตา
⛱️(Meibomian Gland Dysfunction)
🏜️การใส่คอนแทคเลนส์
⛱️การใช้หน้าจอคอมพิวเตอร์
🏜️หรือโทรศัพท์นาน ๆ
⛱️หรือการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน
🏜️หรือโรคและการรับประทานยาบางชนิด
⛱️หากปล่อยไว้ไม่ได้รักษา
🏜️อาจทำให้การมองเห็นมัวลง
⛱️มีการอักเสบของเยื่อบุตาหรือกระจกตา
🏜️สามารถตรวจวินิจฉัยได้
⛱️โดยการตรวจตาอย่างละเอียดจากจักษุแพทย์
🏜️รวมทั้งอาจมีวัดปริมาณ
⛱️และคุณภาพของน้ำตา
🏜️การรักษาตาแห้งขึ้นกับสาเหตุ
⛱️มักต้องใช้น้ำตาเทียมร่วมด้วย
🏜️ปรับพฤติกรรมการใช้งาน
⛱️หรือประคบอุ่น นวด
🏜️และทำความสะอาดเปลือกตา
⛱️กรณีมีเปลือกตาผิดปกติ
8) ตาบอดสี🏳️🌈🎨
🏳️🌈ตาบอดสี (Color Blindness)
🎨เป็นความบกพร่อง
🏳️🌈ในการแยกแยะความแตกต่างของสี
🎨เช่น ตาบอดสีแดงกับเขียวอาจเห็นเป็นสีเทา
🏳️🌈ไม่สามารถบอกสีได้ถูกต้อง
🎨หรือตาบอดสีแบบไม่เห็นสี
🏳️🌈อาจเห็นแค่สีขาวกับดำ
🎨ความน่าสนใจของโรคนี้คือ
🏳️🌈ผู้ชายมีโอกาสเป็นตาบอดสีมากกว่าผู้หญิง
🎨และจะรู้ว่าตาบอดสี
🏳️🌈ต่อเมื่อได้รับการตรวจกับจักษุแพทย์
🎨ที่สำคัญตาบอดสีไม่ทราบสาเหตุแน่ชัด
🏳️🌈อาจเกิดจากกรรมพันธุ์แต่กำเนิดได้เช่นกัน
🎨ซึ่งตาบอดสีทำให้มีข้อจำกัดในชีวิต
🏳️🌈จึงควรเข้ารับการตรวจอย่างละเอียด
🎨และปฏิบัติตามคำแนะนำของจักษุแพทย์
อ่านจบแล้ว👀📚ก็อย่าลืม
กด 5 ดาว🌟และกดติดตาม➕
เพื่อเป็นกำลังใจ✊🏻💓ในการคิดคอนเทนต์ดีๆ
บ๊ายบาย🎉👋🏻