สถานีรถไฟอุบลฯใหม่...ลูกเมียน้อย รฟท. ที่แท้ทรู !!
เพจ UBON NOW โพสต์เรื่องราว "สถานีรถไฟอุบลฯใหม่...ลูกเมียน้อย รฟท. ที่แท้ทรู !!"
.
นับเป็นข่าวดีสำหรับประชาคมชาวอีสานใต้ สำหรับร่าง EIA รถไฟรางคู่ชุมทางจิระ-อุบลราชธานี ระยะทางทั้งสิ้น 307 กิโลเมตร พาดผ่าน 5 จังหวัด ได้แก่โคราช บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ และอุบลราชธานีบ้านเฮาที่ผ่านความเห็นชอบเรียบร้อย นอกการปฏิวัติระบบรางเดี่ยวที่ใช้มาอย่างเนิ่นนานกว่า 7 ทศวรรษแล้ว การรถไฟแห่งประเทศได้เปิดเผยแบบโครงการก่อสร้างสถานีรถไฟหลักตลอดระยะทางที่งูเหล็กวิ่งผ่านจำนวน 4 สถานีคือ สถานีบุรีรัมย์ สถานีสุรินทร์ สถานีศรีสะเกษ และ ปลายทางสถานีรถไฟอุบลราชธานี โดยแต่ละสถานีของเมืองท่านผ่านนั้นได้รับการออกแบบเป็นสถานีรถไฟยกระดับทั้งสิ้น ทั้ง บุรีรัมย์ สุรินทร์ และศรีสะเกษ มาจบที่อุบลฯเป็นสถานีระดับภาคพื้นแบบเก่าเช่นเดิม นี่ก็ไม่น่าแปลกใจเท่าไหร่เพราะบ้านเรานั้นคือสถานีปลายทางของทางรถไฟสายอีสานใต้นี้อยู่เดิมแล้ว
.
จุดพีคที่สุดของงานนำเสนอแบบอาคารผู้โดยสารสถานีรถไฟใหม่ทั้ง 4 สถานีหลักนั่นก็มาสะดุดที่ "สถานีรถไฟอุบลฯอาคารใหม่ของเรา..ที่มันดูพื้นๆ ที่เหมือนจะไม่ได้รับความใส่ใจในงานออกแบบด้านสถาปัตยกรรม" ทั้งๆที่ สถานีอุบลฯ คือสถานีรถไฟหลัก 1 ใน 10 ที่มีผู้ใช้บริการมากที่สุดของประเทศไทย แต่เอ๋ ! ทำไมเหมือนถูกเมิน ไร้ความเหลียวแล ปราศจากความใส่ใจ ทั้งที่นี่คือ บ้านหลังท้ายสุดของ รฟท.ฟากตะวันออกของประเทศ รูปแบบสถาปัตยกรรมของอุบลฯถูกออกแบบที่ฉีก และ หลุดจากแบบพี่ๆน้องๆเมืองอื่นในเส้นทางเดียวกันเป็นมาก เอาง่ายๆใช้ตาเปล่าๆของประชาชนคนธรรมดาเนี่ยแหละดู ก็คงจะมองออกมาว่า "อะไร..? คือความใส่ใจ ? ในการออกแบบ หรือ ความเอาหัวใจใส่ในเนื้องานทุกๆชิ้นด้วยความเสมอภาคกัน" อันนี้ง่ายๆ ใครๆก็รับรู้ได้
.
มาพูดคุยกันในแง่มุมงานออกแบบละกัน สถาปัตยกรรมตามภาพตัวอย่าง ย้ำนะครับแอดมินจะวิพากษ์จากภาพตัวอย่างที่ใช้ในการประชาสัมพันธ์ในส่วนของแบบสถานีรถไฟอุบลฯอาคารใหม่ รูปแบบที่เห็นนอกจากจะไร้อัตลักษณ์ความเป็นอุบลฯแล้ว งานออกแบบก็มักง่ายไม่มีความเข้าใจในงานสถาปัตย์อีสานแต่ประการใด ซุ้มอาคารใหญ่ที่ถูกออกแบบในภาพมันสะท้อนถึงงานสถาปัตย์แบบขอม (ซุ้มตัวปราสาทหิน) ซึ่งขัดกับอัตลักษณ์ของเมืองอุบลฯที่ต้องเป็นงานสถาปัตย์ล้านช้างจึงจะเชื่อมโยงความเป็นพื้นถิ่นได้ ลักษณะอาคารใหม่ เป็นอาคารโถงขนาดใหญ่ระดับพื้นดิน (ชั้นเดียว) มีการออกแบบสะพานข้ามชาลชาลาไปยังชาลชาลาที่ 1-8 ไว้ด้านใน แต่ลักษณะตัวอาคารก้ยังดู เชยๆ ตามสไตล์ การรถไฟวรารามอยู่ดี ซึ่งดูทึบ ไม่โปร่ง อึดอัด ต่างกันอย่างมากกับ สถานีบุรีรัมย์ และ ศรีสะเกษ ที่ให้ความรู้โปร่ง โล่ง สบาย หายใจคล่องได้เต็มปอด งานสถาปัตย์ภาพรวมที่พยายามสื่อถึงการเชื่อมโยงกับสถานีเดิม มองเผินเหมือนจะสมเหตุสมผล..แต่จริงๆแล้ว มันคือความไม่ใส่ใจ พิถีพิถัน ความเข้าใจในงานสถาปัตย์ที่ถึงแม้ผู้คนจะวิจารณ์ วิพากษ์ รฟท.ขนาดไหน...แต่เสียงนั้น ก็แค่เสียงนก เสียงกา ของผู้บริหารมาตลอดหลายยุคสมัย โคตรเหนื่อใจ !
.
เพจ UBON NOW ในฐานะกระบอกเสียงของชาวอุบลฯ ก็มีความยินดีปรีดาที่โครงการรถไฟรางคู่ จิระ-อุบลฯผ่าน EIA เมื่อกลางปีที่แล้ว แต่นะ..ใครๆก็มีสิทธิ์คิดและวิจารณ์ได้ ก็ในเมื่อ "งานออกแบบ มันเหมือน 2 มาตรฐาน" ที่อื่นดูดี ดูสวย โดยเฉพาะบ้านท่านผู้ใหญ่ในกระทรวงราชรถ แต่พอหลุดมาบ้านเรา..แอดได้แต่อุทานว่า เห้ย...!! ทีบ้านกูออกแบบ เฮีย..จังเลยว่ะ !! คือมันอดคิดไม่ได้จริง จึงอยากจะให้ประชาชคมชาวอุบลฯของเรา รวมพลัง แสดงออกทางความเห็นสิว่า ชอบ หรือ ไม่ชอบ หรือว่า คิดยังไงกับอาคารสถานีใหม่เมืองอุบลฯในครั้งนี้
.
ข้อมูล
.
โครงการทางคู่ ชุมทางถนนจิระ-อุบลราชธานี (ขนาดราง 1.0 เมตร) ระยะทางทั้งสิ้น 307 กิโลเมตร
.
รองรับรถไฟความเร็วสูงสุด : 160 กม/ชม (ความเร็วผ่านพื้นที่เมือง 120 กม/ชม)
.
ผ่านพื้นที่ 5 จังหวัด คือ
- สุรินทร์
- ศรีสะเกษ
- อุบลราชธานี
.
มีสถานีรถไฟทั้งหมด 34 สถานี เป็นสถานีรถไฟขนาดใหญ่ 4 สถานีคือ คือ
- บุรีรัมย์ (สถานียกระดับ)
- สุรินทร์ (สถานียกระดับ)
- ศรีสะเกษ (สถานียกระดับ)
- อุบลราชธานี
.