ปีเตอร์ แพน ซินโดรม ไม่อยากโตเป็นผู้ใหญ่ อาการไร้วุฒิภาวะ พฤติกรรมของคนที่ชอบหนีความรับผิดชอบ
ปีเตอร์ แพน ซินโดรม (Peter Pan Syndrome) คือ โรคที่ไม่อยากโตเป็นผู้ใหญ่ มีความคิดเป็นเด็ก ไม่อยากทำงาน ไม่รับผิดชอบอะไรเลย พฤติกรรมของคนที่ชอบหนีความรับผิดชอบ หรือหน้าที่ของตัวเอง หันไปหาเซฟโซน และความบันเทิงอื่น ๆ ให้ตัวเองมีความสุขมากกว่าจะเอาเวลามานั่งเครียด ไม่สามารถแก้ไขปัญหาด้วยตัวเองได้ ขาดวุฒิภาวะทางอารมณ์และสังคม และไม่มีทักษะที่จำเป็นสำหรับการใช้ชีวิตและแก้ปัญหาเมื่อโตเป็นผู้ใหญ่
สาเหตุ
การเลี้ยงดู มีพ่อแม่ตามใจมากเกินไปตั้งแต่เด็ก ลูกจึงไม่รู้จักแบ่งเบาหน้าที่ทางบ้าน หรือไม่รับผิดชอบตัวเอง แม้แต่ลูกทำผิดก็ไม่ลงโทษ พฤติกรรมการเลี้ยงดูลูกดังกล่าวนี้เป็นความผิดพลาดครั้งยิ่งใหญ่ของพ่อแม่ที่ส่งผลกระทบต่อลูกในอนาคต การเลี้ยงดูแบบตามใจนั้นส่งผลกระทบต่อลูกในอนาคต ดังนี้
- ขาดทักษะในการแก้ไขปัญหาด้วยตัวเอง
- ควบคุมอารมณ์ตัวเองไม่ได้
- เป็นคนไม่มีระเบียบวินัย
- เอาแต่ใจตัวเอง คิดว่าตัวเองมีศูนย์กลางของจักรวาล
สัญญาณเตือนพ่อแม่ ว่าลูกของคุณเสี่ยงเป็นโรคปีเตอร์ แพน ซินโดรม
- ขาดความมั่นใจในตัวเอง
- ไม่สามารถแก้ด้วยตัวเองได้ ต้องถามพ่อแม่หรือคนในครอบครัวทุกครั้ง
- ขาดความรับผิดชอบ
- อยากใกล้ชิดพ่อแม่ตลอดเวลาเพราะรู้ว่าครอบครัวคุ้มครองเขาได้
วิธีการรักษาเมื่อลูกเป็นโรคปีเตอร์ แพน ซินโดรม
- ไม่ตามใจลูกจนเกินไป หัดให้เขารักผิดชอบและแก้ปัญหาด้วยตัวเอง
- สอนลูกปรับทัศนคติให้รู้จักมีวินัยในตัวเอง รู้จักรับผิดชอบในหน้าที่ของตนเอง
- ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ การบำบัดทางจิตวิทยาทำการณ์ประเมินสถานการณ์เพื่อทำการรักษาที่เหมาะสม
เช็กอาการว่าเข้าข่ายเป็น Peter Pan Syndrome ไหม ?
- หนีปัญหาเก่งเป็นที่หนึ่ง เลี่ยงภาระทุกอย่างที่เป็นไปได้ จัดการปัญหาด้วยความเงียบ ไม่ก็เฟดตัวไปหลบหลังคนอื่นอยู่บ่อย ๆ
- ความสนุกต้องมาก่อน เรื่องงานเอาไว้ทีหลัง ชอบเที่ยว ชอบเจอคนใหม่ ๆ ไม่ค่อยอยากมีความสัมพันธ์จริงจัง ชอบมีความรักแบบง่าย ๆ
- งานบ้านไม่ยอมจับ ทำน้อยถึงไม่ทำเลย จะว่าซกมกก็ไม่เชิง ชอบปล่อยเสื้อผ้ากองไว้ตรงนั้น จานชามไม่ยอมล้าง เพราะเบื่อไม่อยากทำ อยากออกไปเล่นสนุก ๆ มากกว่า
- ไม่วางแผนอนาคต เงินทั้งหมดที่หามาได้ก็เอาไปลงกับอะไรสนุก ๆ ชอบรวยทางลัด อาจขอพ่อแม่เพิ่มอีก
- ทำงานไม่มีคุณภาพ ทำแบบส่ง ๆ ขอไปที ทำเสร็จแล้วทำตัวปล่อยจอย
วิธีรับมือและการปรับตัว
- ตั้งเป้าหมาย อย่างเช่น ถ้าเรารู้สึกใช้จ่ายเกินตัว ทำชีวิตติดปัญหาขัดสน ลองตั้งเป้าหมายแบ่งเงินเก็บซักหน่อย ห้ามเอาออกมาใช้เด็ดขาด ส่วนที่เหลือถ้าใช้จ่ายหนี้หมดแล้ว ก็ตามใจเลย
- หาแรงบันดาลใจ ทุกคนมีด้านมืดของตัวเองทั้งนั้น บางครั้งเรื่องราวของคนอื่น อาจเป็นหนทางสว่างของคนที่เจอปัญหาอยู่ก็ได้ คิดกับตัวเองเยอะๆ ว่าอยากเป็นอะไร? อยากเปลี่ยนแปลงอะไร?
- เปลี่ยนแปลงตัวเองทีละนิด เริ่มจากเรื่องจิ๋ว ๆ อย่างเอาผ้าไปซักซักตะกร้าหนึ่ง ถ้ามีผ้ากองเยอะมาก อาทิตย์หน้าก็เพิ่มเป็นสอง ทำไปเรื่อย ๆ จนกว่าผ้าที่กองพะเนินจะซักจนหมด และเอาวิธีนี้ไปปรับใช้กับด้านอื่น ๆ ด้วย