โปรดอย่าเพิ่งปล่อยมือผู้ประกอบการท่องเที่ยวในวันที่เพิ่งเปิดประเทศแค่ไม่กี่เดือนเลย
นับว่าเป็นนิมิตหมายที่ดี ที่ตัวเลขการติดเชื้อโควิดนับจากช่วงเทศกาลสงกรานต์วันที่ 11-17 เม.ย. 2565 ขณะนี้ถือว่าผ่านมาประมาณ 1 สัปดาห์ โดยสถานการณ์การติดเชื้อโควิด 19 ของประเทศไทยถือว่ามีแนวโน้มลดลงต่อเนื่อง เป็นสัญญาณที่ดีต่อการเปิดประเทศต้อนรับนักท่องเที่ยวให้กลับมา แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าธุรกิจในอุตสาหกรรมท่องเที่ยวจะกลับมาแข็งแรงได้ปุบปับ รัฐก็ต้องมีการดูแลอย่างใกล้ชิดต่อไป โดยต้องอัดมาตรการเยียวยาท่องเที่ยวอย่างต่อเนื่อง
การเปิดประเทศอย่างเป็นทางการเพื่อหวังให้การท่องเที่ยวที่เป็นแหล่งรายได้หลักกลับมาคึกคักอีกครั้ง ซึ่งเป็นสิ่งที่ดีมากๆ เนื่องจากว่าอุตสาหกรรมท่องเที่ยว และธุรกิจบริการที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว สนามบิน ดิวตี้ฟรี ต้องซบเซามาเป็นระยะเวลากว่า 2 ปีแล้ว ที่ผู้ประกอบการต้องพากันเอาตัวรอด โดยไร้การเยียวยาอย่างทันท่วงที บางรายก็ต้องดิ้นรนกันอย่างเอาเป็นเอาตาย เพื่อให้แลกกับการที่องค์กรสามารถหยัดยืนต่อไปได้ ด้วยความหวังการเปิดประเทศอย่างเต็มรูปแบบ
ในที่สุดวันนี้ก็มาถึงจนได้ คือวันที่เปิดประเทศอย่างเต็มรูปแบบโดยอาศัยแค่ตรวจ ATK เท่านั้น ถ้าไม่ติดก็ไปเที่ยวฉลุยได้เลย แต่จริงๆแล้วทางผู้ประกอบการท่องเที่ยว สนามบิน โรงแรม ที่พัก ร้านค้าร้านอาหาร บริการท่องเที่ยวต่างๆ ก็หมายใจอยากที่จะให้มีการเปิดประเทศมาตั้งนานแล้ว แค่ประกาศยกเลิกการตรวจแบบ RT-PCR ตั้งแต่วันที่ 1 เม.ย. 65 ก็ทำให้มีนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นมา 65.97% แล้ว คนทั่วไปที่ตามข่าวเห็นตัวเลขแบบนี้ก็อาจจะรู้สึกว่ามันดีขึ้นใช่ไหม?
แต่อย่างไรก็ตามในมุมของผู้ประกอบการก็ไม่ได้โอเคนักหรอก ที่เพิ่งจะมาประกาศเอาหลังจากช่วยไฮซีซั่น หลังสงกรานต์ไปแล้ว แทนที่จะประกาศช่วงเดือน ก.พ.-มี.ค. 65 ที่ผ่านมา ตัวเลขนักท่องเที่ยวจะได้เข้ามากมากกว่านี้ ช่วยไฮซีซั่นมันต้องกอบโกย หลังจากซบเซามานาน แต่ก็นะ ดันประกาศวันที่ 1 พ.ค.65 ที่มันจะเข้าโลว์ซีซั่น แล้วผู้ประกอบการโรงแรมก็ออกมาโอดครวญตามข่าวเลย https://www.prachachat.net/local-economy/news-915809
พอจบเทศกาลสงกรานต์ ยอดจองโรงแรมในต่างจังหวัดก็เริ่มลดลง ภาคเหนือก็เข้าหน้าฝน เพื่อนของ จขกท. ก็เล่าให้ฟังว่าเดือนหน้าก็โดน leave with out pay หลายวันเหมือนกัน เพราะงานโรงแรมช่วงโลว์ซีซั่นจะเป็นแบบนี้อยู่แล้ว คึกคักกันได้แป๊บเดียวเท่านั้น
ฟังเพื่อนบ่นมาแบบนี้ก็ทำให้เรานึกได้ว่า ความไม่แน่นอนยังไม่ได้หนีหายไปไหนนี่หว่า เมื่อเปิดประเทศต้อนรับนักท่องเที่ยวแล้ว ก็จริง แต่ทุกอย่างมันก็ยังกลับมาเหมือนเดิมไม่ได้ และถึงแม้ว่ารัฐเอง ก็มีมาตรการออกมาเยียวยาช่วยเหลือมาแล้ว คือ
1. ส่งเสริมด้านสภาพคล่อง ด้วยมาตรการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ (Soft Loan) วงเงินรวมกว่า 1.5 แสนล้านบาท
2.ด้านการลดภาระค่าใช้จ่าย ด้วยมาตรการลดภาระในการวางเงินหลักประกันของผู้ประกอบการธุรกิจนำเที่ยวฯ
3.ด้านการเตรียมความพร้อมเปิดประเทศและกระตุ้นการท่องเที่ยว ประกอบด้วย การจัดงาน “ท่องเที่ยวจับคู่ กู้เศรษฐกิจ (Restart Tourism)/
มาตรการเหล่านี้ยังต้องถูกช่วยเหลือเยียวยาผู้ประกอบการต่อไป ไม่ว่าจะออกมาในนามของหน่วยงานของรัฐหน่วยงานไหน หรือรูปแบบใดก็ตามแต่ จนกว่าสถานการณ์จะกลับมาแข็งแกร่ง การท่องเที่ยวสร้างเม็ดเงินมูลค่ามากมายเข้าประเทศได้ดั่งเดิม
(ข้อมูลมาตรการเยียวยาธุรกิจท่องเที่ยวปี 2565 https://www.thaigov.go.th/infographic/contents/details/4784)
ดูตัวอย่างประเทศสิงคโปร์ ตอนนี้ก็มีเป้าหมายผลักดันสนามบินซางงี ให้เป็นสนามบินที่มีผู้เดินทางมากที่สุดในภูมิภาคเอเชีย ปรับปรุงใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย ให้บริการแบบไร้การสัมผัสเพื่อปรับตัวเข้ากับยุคโรคระบาด จัดการแข่งขันกีฬาดึงดูดนักเดินทางและท่องเที่ยว โดยที่ประเทศสิงคโปร์เองก็เล็งเห็นสัญญาณที่เปลี่ยนแปลงไปในทิศทางที่ดีขึ้น โดยเฉพาะในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ที่ประเทศต่างๆ ได้เริ่มเปิดประเทศต้อนรับนักเดินทาง ซึ่งการฟื้นตัวของการท่องเที่ยวในภูมิภาคเป็นหนึ่งในปัจจัยในการกระตุ้นเศรษฐกิจโลก
จากตัวอย่างของสิงคโปร์ ก็เห็นว่าในการแข่งขันที่จะดึงนักท่องเที่ยวเข้าประเทศในภูมิภาคนี้มีสูงอย่างมาก และอย่าลืมเราเพิ่งจะเริ่มเปิดประเทศได้แค่ เดือนสองเดือนเท่านั้น แต่เราเจอพิษโควิด 19 มา 2-3 ปีแล้ว ตั้งแต่สนามบินปิดตัวลง ทำการบินไม่ได้ ขายของก็ขายไม่ได้ บริการต่างๆ ก็ต้องหยุดชะงักลง ตามคำสั่งของรัฐที่มีความจำเป็นต้องควบคุมโรคระบาด จนในวันนี้ที่สถานการณ์เริ่มดีขึ้น ก็อย่าเพิ่งปล่อยมือพวกเขา ถึงแม้ว่ารัฐจะจับมือพวกเขาช้าไปหน่อยแต่ก็ยังดีกว่าปล่อยให้เผชิญชะตากรรมแบบตัวใครตัวมัน จงปล่อยมือพวกเขาในวันที่ทุกคนแข็งแรงและพร้อมกันมากกว่านี้
เพื่อเศรษฐกิจของประเทศที่ยั่งยืนเถอะนะ