14 ปีที่แล้ว GT 200 รัฐไทยสั่งซื้อแล้วได้มีการตรวจสอบ หรือให้หน่วยใดของไทยรับรองมาตรฐานบ้าง อย่างในวันนี้ที่คิดจะทำ
จขกท. หาข้อมูลไม่เจอจริงๆ ว่า GT 200 รัฐไทยสั่งซื้อแล้วได้มีการตรวจสอบ หรือให้หน่วยใดของไทยรับรองมาตรฐานบ้าง อย่างในวันนี้ที่คิด กองทัพบกทำสัญญาจ้าง สวทช. 7.5 ล้านบาท ไปตรวจสอบเครื่องตรวจจับวัตถุระเบิด GT200 จำนวน 757 เครื่อง (เฉลี่ยตกเครื่องละ 10,000 บาท)
มันเลยมีข้อสงสัยไว้ตลอดไปว่า GT200 โผล่มาได้อย่างไร? จนในที่สุดก็ไร้คนออกมารับผิดชอบในเรื่องนี้ รู้สึกว่าเรื่องมาแดพงเอา ตอนมีการตรวจสอบพบข้อมูลมีการฉ้อโกง ในการจัดซื้อเครื่องอัลฟ่า 6 ระหว่าง บริษัทแจ๊คสัน อีเลคโทรนิคส์ จํากัด
ตอนนั้น ทางสํานักงานรัฐมนตรีกระทรวงยุติธรรมให้ทุกหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องดําเนินการจัดทํารายงานสรุปข้อมูลเกี่ยวกับเครื่องตรวจหาวัตถุระเบิด GT 200 และเครื่องมืออื่นที่มีลักษณะเดียวกัน เช่น เครื่องอัลฟ่า 6 เป็นต้น
พร้อม เหตุผลในการจัดซื้อ จํานวนเครื่อง งบประมาณที่ใช้ กระบวนการจัดซื้อ จากนั้นวันที่ 10 สิงหาคม 2553 ศูนย์ทดสอบผลิตภัณฑ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ (ศทอ.) สวทช. ได้จัดทํารายงานผลการทดสอบการตรวจวัดประสิทธิภาพการทํางานของเครื่อง GT 200 และเครื่องอัลฟ่า 6 สรุปผลการทดสอบได้ว่า ไม่พบมีการแผ่สนามไฟฟ้า (Electric Field)
จากเครื่อง GT 200 และอัลฟา 6 ในทุกสภาวะการทดสอบ ไม่พบประจุไฟฟ้าสถิตย์สะสมบนพื้นผิวของเครื่องจ GT 200 และอัลฟ่า 6 ในทุกสภาวะการทดสอบ ไม่พบการแผ่คลื่อนแม่เหล็กไฟฟ้า (electromagnetic Emission) จากตัวเครื่อง GT 200 และอัลฟ่า 6 ในทุกสภาวะการทดสอบ ไม่พบการเคลื่อนที่ของเข็มชี้ทิศทางของเครื่อง GT 200 และอัลฟ่า 6 ที่ทํางานภายใต้สภาวะแวดล้อมที่มีสนามแม่เหล็กรบกวน และไม่พบการเคลื่อนที่บอกทิศทางของเครื่อง GT 200 และอัลฟ่า 6
ในยุครัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ได้สั่งการให้กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ ตรวจสอบ และผลออกมาเป็นเครื่องลวงโลกจริงๆ จึงสั่งทุกหน่วยงาน ยุติการจัดซื้อ GT200 และเครื่องมืออื่นๆ ที่มีลักษณะใกล้เคียงกัน ตั้งแต่ปี 2553
เรื่องราวเริ่มแดงขึ้นเรื่อยๆ จากเหตุระเบิดตลาดสดรถไฟ จ.ยะลา และคาร์บอมบ์ พื้นที่ อ.สุไหงโก-ลก จ.นราธิวาส เมื่อปลายปี 2552 เพราะ GT200 ทำงานผิดพลาด จนสร้างความสงสัยให้กับ รศ.ดร.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ อาจารย์คณะวิทยาศาตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จนต้องนำเครื่องเจ้าปัญหาออกมาผ่าพิสูจน์ และออกมาแฉว่า GT200 เป็นเครื่องตรวจระเบิดลวงโลก ไม่ต่างอะไรกับ "ไม้ล้างป่าช้า" ไม่มีหลักการวิทยาศาสตร์รองรับในการทำงาน เพราะข้างในเครื่องไม่มีอะไร มีเพียงกล่องพลาสติกเปล่าๆ และเป็นบานพับเท่านั้น
ในไทยก็พบทุจริตด้วย ในปี 2555 มีการยื่นคำร้องให้ ป.ป.ช. ตรวจสอบ ผ่านไปกว่า 9 ปี เพิ่งมีการชี้มูลความผิดทั้งทางอาญาและวินัย ผู้เกี่ยวข้องในการจัดซื้อในไทย วันที่ 19 ก.ค. 2564 ที่ผ่านมา ส่วนใหญ่เป็นคณะกรรมการจัดซื้อจัดจ้างฯ และคณะกรรมการตรวจรับงานจ้างฯ จากหน่วยงาน 20 แห่ง รวมเกือบ 100 คน บางคนมีตำแหน่งเป็นอดีตหัวหน้าส่วนราชการ และปัจจุบันดำรงตำแหน่งเป็น ส.ว.
จนเป็นตำนาน ไทยเคยเสียค่าโง่ GT200 เครื่องตรวจระเบิดลวงโลก แค่กล่องพลาสติกเปล่าๆ ทำเอา 14 ปีแห่งความหลัง ครื่องตรวจจับวัตถุระเบิด GT200 หรือเครื่องต้มตุ๋นลวงโลก กลับมาหลอกหลอนคนไทยอีกครั้ง