สังเกตการเป็นหมันทั้งหญิงและชาย??
สังเกตการเป็นหมันทั้งหญิงและชาย??
ภาวะมีบุตรยาก คือ การที่คู่สมรสแต่งงานหรือใช้ชีวิตร่วมกันมาแล้วอย่างน้อย 1 ปี มีกิจกรรมทางเพศสม่ำเสมอสัปดาห์ละ 2-3 ครั้ง โดยที่ระยะเวลา 1 ปีนั้นไม่ได้ยุ่งเกี่ยวกับการคุมกำเนิดด้วยวิธีใดๆ เลย แล้วยังไม่มีการตั้งครรภ์เกิดขึ้น ทางการแพทย์ถือว่าเป็นภาวะการมีบุตรยาก
สาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะมีบุตรยากเกิดขึ้นได้หลายสาเหตุ (บางสาเหตุก็สามารถแก้ไขได้)
1.การมีเพศสัมพันธ์ไม่ตรงกับไข่ตก แก้ไขได้ง่ายๆ ด้วยการไปนับวันไข่ตกให้เป็นและมีกิจกรรมให้ตรงกับวันไข่ตกให้มากที่สุด
2.การที่คู่สมรสมีกิจกรรมทางเพศบ่อยเกินไปทำให้น้ำเชื้อมีจำนวนอสุจิไม่เพียงพอ
3.มีเพศสัมพันธ์น้อยเกินไป
4.ปัจจัยด้านอายุ โดยเฉพาะในผู้หญิงที่มีอายุมากกว่า 35 ปี โอกาสในการตั้งครรภ์จะน้อยลง เพราะเมื่ออายุเกิน 35 ปี การตกไข่ การสร้างไข่จะลดลงเรื่อยๆ ปีละ 1% ไข่ที่ตกมีเปลือกแข็งและหนาทำให้อสุจิของผู้ชายเจาะไปได้ยากขึ้น
5.เกิดภาวะมีบุตรยากเนื่องจากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีภาวะเป็นหมัน
วิธีสังเกตผู้หญิงเป็นหมัน
1.ดูจากปริมาณของประจำเดือน โดยปกติรอบประจำเดือนจะอยู่ที่ 21-35 วัน และจะมีระยะเวลาในการมีประจำเดือน 2-7 วัน หากใครที่มีประจำเดือนขาด มีน้อยๆ มาบ้างไม่มาบ้าง ในหนึ่งปีมีประจำเดือนน้อยกว่า 9 ครั้ง อาจมีภาวะไข่ไม่ตกเรื้อรัง เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดภาวะมีบุตรยาก
2.สังเกตจากน้ำหนักตัว มีงานวิจัยพบว่าผู้หญิงที่มีน้ำหนักตัวเกินว่าน้ำหนักมาตรฐานจะมีอัตราการตั้งครรภ์ต่ำกว่าผู้หญิงที่มีน้ำหนักตัวอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานถึง 40% เนื่องจากน้ำหนักตัวที่เกิน ไขมันที่เยอะจะส่งผลกระทบต่อฮอร์โมนของการเจริญพันธ์ ผู้หญิงที่มีน้ำหนักเกินมักจะมีประจำเดือนที่มาไม่ปกติ
3.สังเกตได้จากอายุ โดยปกติแล้วช่วงอายุของผู้หญิงจะอยู่ที่ 21-25 ปี ร่างกายจะสมบูรณ์เหมาะสมมากๆ สำหรับการตั้งครรภ์ และโอกาสของการตั้งครรภ์จะลดลงเรื่อยๆ ตามอายุที่มากขึ้น โดยเฉพาะอายุที่ 35 ปีไปแล้วก็จะเพิ่มความเสี่ยงในการมีบุตรยาก เพราะไข่จะตกน้อยลง เปลือกไข่แข็งอสุจิเจาะเข้าไปยากขึ้น
4.สังเกตจากการรักษาอาการป่วยบางอย่าง ที่ต้องใช้เคมีบำบัด การฉายแสง จะส่งผลกระทบโดยตรงต่อระบบเจริญพันธ์ของผู้หญิง
วิธีสังเกตผู้ชายเป็นหมัน
1.สังเกตจากปริมาณน้ำเชื้อ ผู้ชายที่มีน้ำเชื้อน้อยโดยที่ไม่ได้มีกิจกรรมทางเพศบ่อย ไม่ได้ช่วยเหลือตัวเองบ่อยแต่ปริมาณน้ำเชื้อน้อยผิดปกตินั่นอาจเป็นสัญญาณบอกว่ามีปัญหาในระบบสืบพันธ์ุ ผลิตน้ำเชื้อได้น้อย หรือน้ำเชื้ออาจจะไม่มีอสุจิ
2.สังเกตจากความเข้มข้นของน้ำเชื้อ สามารถสังเกตได้จากน้ำเชื้อที่หลั่งออกมาว่าต่างจากเดิม จางหรือไม่ หากว่ามีความเข้มข้นไม่พอนั่นอาจเป็นเพราะว่าปริมาณของอสุจิมีน้อย แต่ก็ต้องสังเกตว่าที่ความเข้มข้นของอสุจิน้อยนั้นไม่ได้มีกิจกรรมทางเพศบ่อย แต่หากว่ามีกิจกรรมทางเพศบ่อยก็ควรลดกิจกรรมทางเพศลงบ้าง
3.สังเกตจากพฤติกรรมการใช้ชีวิต ผู้ชายที่สังสรรค์บ่อย นอนดึก เที่ยวดึก ดื่มหนัก มักเสี่ยงมีภาวะมีบุตรยากหรือเป็นหมันได้สูง เพราะการดื่มแอลกอฮอล์ การสูบบุหรี่ทำให้ร่างกายได้รับสารพิษจะส่งผลกระทบต่อระบบสืบพันธ์ และการพักผ่อนน้อย ขาดการออกกำลังกายร่างกายจะไม่แข็งแรง บ่งบอกได้ว่าร่างกายไม่สมบูรณ์
4.การรักษาอาการป่วยบางอย่าง หากว่ามีการรักษาด้วยการฉายแสงหรือให้เคมีบำบัดก็จะส่งผลกระทบต่อระบบสืบพันธ์ุ
5.เคยได้รับอุบัติเหตุหรือป่วย หากว่าเคยได้รับอุบัติเหตุที่กระทบบริเวณอัณฑะซึ่งเป็นแหล่งสร้างน้ำอสุจิ หรือเคยป่วยเป็นโรคคางทูม หรือเคยติดเชื้อหนองในซึ่ง 2 โรคนี้จะส่งผลกระทบโดยตรงต่อระบบสืบพันธ์ุของฝ่ายชาย
https://www.youtube.com/watch?v=Z7Wepm9VKtc
ภาพโดย Tú Anh จาก Pixabay