"วัดติโลกอาราม"วัดกลางน้ำกว๊านพะเยา
วัดกลางน้ำกว๊านพะเยา หรือวัดติโลกอาราม ถือเป็นอีกหนึ่งอันซีนของประเทศไทยเรา และเป็นความภูมิใจที่ชาวต่างชาติต้องทึ้งด้วยนะครับ สำหรับวัดกลางน้ำของที่นี้ตามประวัติศาสตร์ วัดติโลกอารามสร้างขึ้นในบริเวณนี้มานานกว่า500ปีแล้ว
ก่อนที่พื้นที่ตรงนี้จะถูกปรับเปลี่ยนโดยกรมประมง ที่สร้างประตูน้ำขึ้นในปี2482 ส่งผลให้น้ำในแม่อิงและลำน้ำสาขา ซึ่งใหลมาจากทิวเขาผีปันน้ำ มารวมกันที่บริเวณกว๊านพะเยาแห่งนี้ ซึ่งก็ทำให้ชุมชนโบราณสถานและวัดแห่งนี้จมอยู่ใต้น้ำไปโดยปริยาย
จนกระทั้งผ่านไปจนถึงปี2526ซึ่งชาวประมงได้ค้นพบพระพุทธรูปใต้น้ำกว๊านพะเยา ก็เลยกลายเป็นที่สนใจ ชาวบ้านก็รวมตัวกันอัญเชิญพระพุทธรูปขึ้นมาจากน้ำ ไปประดิษฐานไว้ที่ วัดศรีอุโมงธรรม
จนปี2550ได้มีการบูรณะสันธาตุบวกสี่แจ่งขึ้นมา มีการตั้งฐานบุษบกด้วยอิฐดินเผา จึงได้มีการอัญเชิญพระพุทธรูปหินทราย จากวัดศรีอุโมงธรรม กลับมาประดิษฐานไว้บนบุษบก บริเวณซึ่งสร้างขึ้นมาเหนือน้ำ ที่วัดติโลกอารามแห่งนี้อีก
และในช่วงในช่วงที่มีการอัญเชิญ พระพุทธรูปหินทรายนี้กลับมา ก็มีการค้นพบที่ยิ่งใหญ่ด้วยนั้นก็คือ การค้้นพบจารึกวัดติโลกอารามขึ้นเมื่อวันที่9กุมภาพันธุ์ปี2550 เป็นแผ่นหินทรายจารึกด้วยอักษรฟักขาม บอกเล่าประวัติความเป็นมาของวัด ผู้อุปถัมภ์วัด ผู้สร้างและพิธีกรรมทางศาสนา ซึ่งข้อความในจารึกปั้น ได้ให้รายระเอียดเกี่ยวกับพระเจ้าติโลกราช ซึ่งพระราชทานทรัพย์สำหรับสร้างวัดนี้ขึ้นมา
อักษรฟักขามที่ใช้บันทึก ถูกใช้กันอย่างแพร่หลาย ในรัชการของพระเจ้าติโลกราช อักษรชนิดนี้ นิยมสลักบนแผ่นหินทราย โดยเฉาะในเมืองพะเยานั้น ถือว่าเป็นหนึ่งในเมืองที่มี จารึกหินทรายสมัยล้านนามากที่สุด เนื่องจากมีแหล่งสกัดหินเป็นของตัวเอง และเป็นเมืองที่พระพุทธศาสนาเจริญรุ่งเรือง
กิจกรรมน่าสนใจที่ดึงดูดนักท่องเที่ยวจากทั่วสารทิศให้แวะมาเยือนที่นี้ คือการเวียนเทียน ซึ่งจะมีความแตกต่างจากการเวียนเทียนในวัดอื่นๆ คือผู้ที่เข้ามาเวียนเทียนจะนั่งอยู่บนเรือแจว เพื่อทำการเวียนเทียนรอบฐานอิฐดินเผาและพระธาตุที่โผล่พ้นผิวน้ำ เนื่องจากอุโบสถของวัดได้จมอยู่ใต้กว๊านพระเยา
โดยแต่ละปีจะมีการเวียนเทียนทั้งหมด3ครั้งคือ วันมาฆบูชา วันวิฆบูชาและวันอาสาฬหบูชา
ขอบคุณข้อมูลจากช่อง: Abdulthaitube