คำว่า "โอม" มาจากไหน ทำไมต้องพูดคำนี้ เหมือนร่ายคาถาอะไรสักอย่าง
โอม คำนี้ชินหูกันมั้ยเมื่อผู้ใหญ่ชอบพูดเหมือนร่ายคาถาอะไรสักอย่าง เช่นเพลง โอมมมมมมมมมมมม จะเป่าคาถามหาระรวย ....
ทำไมคำว่า โอมมมมม ถูกใช้ในการสรรเสริญพระเจ้า ?
เมตตาโดโจและไซคีเดลิคไทยแลนด์จะมาเปิดใจคุยกันว่าทำไมเสียง โอม ถึงทำให้เกิดพลังงานและการสั่นสะเทือน
ที่ดังกึกก้องไปทั่วทั้งจักรวาล เพื่อนำภูมิปัญญาโบราณของชาวพรามห์ ฮินดู มาสอดประสานกับประสบการ์ณทางจิตวิญญาณ
โดยใช้ดนตรีคีรตันเป็นสื่อกลาง ให้ช่วยเราได้เดินทางกลับมาสู่ปัจจุบันขณะอีกครั้ง
จริงๆ แล้ว " โอม " นั้นเป็นสัญลักษณ์ที่เป็นรูปตามภาพที่ปรากฏคือ โอม มีความหมายที่หลากหลายเกี่ยวพันกันทั้งในศาสนาฮินดูและ พุทธศาสนา (ฝ่ายมหายาน – ตันตระยานหรือมันตระยาน)
โอม เป็นเสียงบูชาและเป็นอักขระทางภาษาที่มีเครื่องหมายคล้ายเลข 3 เชื่อมด้วยรูปคล้ายงู ด้านบนเป็นถ้วยน้ำที่มีหยดน้ำอยู่ด้านบน
สัญลักษณ์ของเทพเจ้าสูงสุดทางศานา มีความหมายถึงเทพเจ้าสูงสุดหรือตรีมูรติ เสียงโอมจึงมาจากเสียง อะ สระท้ายสุดของพระศิวะ อุ มาจากเสียงสุดท้ายของคำว่า วิษณุ และ มะ ก็คือสระเสียงสุดท้ายของพระพรหม รวมกันเข้าเป็นคำว่า โอม
พระเจ้าทั้งสามองค์ก็คือ วัฏจักรชีวิตของโลกที่มีการสร้าง การรักษา และการทำลาย
ดังนั้น เมื่อจะท่องบ่นคำสวดมนต์จึงใช้คำว่า โอม เพื่อบูชาเทพเจ้าทั้ง 3 ในศาสนาฮินดู
โอม เป็นหนึ่งในประติมานวิทยาที่พบในศาสนาฮินดู ศาสนาพุทธ ศาสนาเชน ตั้งแต่ยุคโบราณและยุคเก่า ในงานเขียน วิหาร โอมเป็นสัญลักษณ์ที่มีความหมายในเชิงจิตวิญญาณในทุกศาสนาอินเดีย (ฮินดู พุทธ ไชนะ และ ซิกข์) ส่วนความหมายเฉพาะและความหมายแฝงแตกต่างกันไปตามคำสอนและศาสนา ความเขื่อของแต่ละกลุ่ม
พยางค์ “โอม” บางครั้งก็ถูกเรียกว่า “องการ”
และ โอม ความหมายในทางพุทธศาสนา ถือคติว่าย่มาจาก อะ อุ มะ เช่นกัน แต่หมายถึง พระรัตนตรัย โดยมีที่มาดังนี้
อะ มาจาก อรหัง หมายถึง พระพุทธเจ้า
อุ มาจาก อุตตมธัมมะ หมายถึง พระธรรม
มะ มาจาก มหาสังฆะ หมายถึง พระสงฆ์
โอม ใช้ในการสำรวมจิต เป่าคาถา หรือเป่ามนต์ เพื่อให้เกิดความขลัง หรือ ความศักดิ์สิทธิ์ เป็นการนึกถึงสิ่งที่ตนเคารพบูชา คือ ไหว้ครูก่อนที่จะเป่า เวลาเป่ามักจะออกเสียงพร้อมกันว่า "โอมเพี้ยง"
อ้างอิงจาก: https://th.wikipedia.org/wiki/โอม
https://www.facebook.com/groups/317077923262150/