‘สงครามอิรัก’ สงครามที่เริ่มต้นด้วยความเท็จ!!!
สงครามอิรักได้สร้างความเสียหายไว้มากมาย คาดการณ์ว่ามีจำนวนผู้เสียชีวิต ระหว่าง 150,000 ถึง 500,000 คน หรืออาจจะมากกว่านั้น
แต่ที่แน่ๆ จุดเริ่มต้นของสงครามอิรัก คือคำโกหกของ คอลิน พอเวลล์ (Colin Powell) รัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศของสหรัฐอเมริกาในตอนนั้น ที่กล่าวอ้างในที่ประชุมคณะรัฐมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ ว่าซัดดัม ฮุสเซน สะสมอาวุธชีวภาพและเคมีไว้ในครอบครองจำนวนมาก และยังสนับสนุนขบวนการก่อการร้ายสากล
มีการอ้างถึงข้อมูลข่าวที่ว่าเป็นเท็จจาก นักเคมี ชื่อ ราเฟด อาห์เหม็ด อัลวาน หรือ ‘เคิร์ฟบอลล์’ ซึ่งลี้ภัยในเยอรมนี แต่ซีไอเอไม่ยอมฟัง จะทำสงครามถล่มซัดดัมให้ได้ แถมชวนเพื่อนอย่างอังกฤษเข้าร่วมสงครามครั้งนี้อีกด้วย
มีคนเสียชีวิตในสงครามอิรักจำนวนเท่าไร และสงครามสร้างความเสียหาย ความวุ่นวายให้กับพลเมืองชาวอิรักแค่ไหน?
มีการคาดเดาจำนวนผู้เสียชีวิตที่ตัวเลขระหว่าง 150,000 ถึง 500,000 คน บางหน่วยงานที่ทำการสำรวจอย่างจริงจังอ้างถึงตัวเลขที่สูงกว่านั้น อย่างเช่น วารสารทางการแพทย์ Lancet ระบุในปี 2549 ว่ามีจำนวนผู้เสียชีวิตจากสงครามสูงกว่า 650,000 คน ซึ่งนับรวมถึงเหตุการณ์ความไม่สงบ การใช้ความรุนแรง การลอบวางระเบิด อันเป็นผลกระทบตามมาจากสงคราม
สงครามอิรัก การรุกรานและการยึดครองอิรัก, วันที่: 20 มีนาคม พ.ศ. 2546 – 15 ธันวาคม พ.ศ. 2554 (8 ปี 270 วัน)สงครามอิรัก เป็นความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในประเทศอิรัก ตั้งแต่วันที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2546 ด้วยการรุกรานอิรักโดยสหรัฐอเมริกาซึ่งมีประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิลยู บุช เป็นผู้นำ และสหราชอาณาจักร ซึ่งมีนายกรัฐมนตรีโทนี แบลร์ เป็นผู้นำ
สงครามคราวนี้อาจเรียกชื่ออื่นว่า การยึดครองอิรัก, สงครามอ่าวครั้งที่สอง หรือ ปฏิบัติการเสรีภาพอิรัก โดยทหารสหรัฐ สงครามครั้งนี้สหรัฐอเมริกาได้ประกาศให้สิ้นสุดลงอย่างเป็นทางการเมื่อ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2554
ก่อนหน้าการรุกราน รัฐบาลของสหรัฐอเมริกาและสหราชอาณาจักร ประเมินว่า ความเป็นไปได้ที่อิรักจะครอบครองอาวุธอานุภาพทำลายล้างสูง คุกคามความมั่นคงของตนและพันธมิตรของตนในภูมิภาค
พ.ศ. 2545 คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ ผ่านข้อมติที่ 1441 ซึ่งกำหนดให้อิรักร่วมมืออย่างเต็มที่กับผู้ตรวจการอาวุธสหประชาชาติ
หลังการรุกราน กลุ่มศึกษาอิรัก (Iraq Survey Group) นำโดยสหรัฐ สรุปว่าอิรักได้ยุติโครงการนิวเคลียร์ เคมีและชีวภาพใน พ.ศ. 2534 และไม่มีโครงการใดดำเนินอยู่ในขณะการรุกราน แต่อิรักเจตนาจะเริ่มการผลิตอีก
(อิรักมิได้มีอาวุธอานุภาพทำลายล้างสูงและขีปนาวุธร่อนอยู่ในครอบครอง คณะตรวจสอบอาวุธทั้งในส่วนของคณะผู้ตรวจสอบอาวุธเคมี ชีวภาพและพาหะนำส่งของสหประชาชาติ (United Nations Monitoring, Verification and Inspection Commission – UNMOVIC) ได้รับอนุญาตให้เข้าไปในอิรักภายใต้ข้อกำหนดของมติสหประชาชาติ แต่ไม่พบหลักฐานอาวุธอานุภาพทำลายล้างสูง)
เมื่อมาตรการคว่ำบาตรถูกยกเลิก แม้จะพบเศษอาวุธเคมีที่ถูกปลดอยู่ผิดที่หรือถูกทิ้งจากสมัยก่อน พ.ศ. 2534 แต่ก็มิใช่อาวุธ ซึ่งเป็นเหตุผลหลักในการอ้างความชอบธรรมในการรุกราน เจ้าหน้าที่สหรัฐบางคนยังกล่าวหาประธานาธิบดีอิรัก ซัดดัม ฮุสเซน ว่าปิดบังและให้การสนับสนุนอัลกออิดะฮ์ แต่ไม่เคยพบหลักฐานเชื่อมโยงที่มีความหมายเลย เหตุผลอื่นในการรุกราน ที่ให้โดยรัฐบาลของประเทศผู้โจมตีนั้นรวมไปถึง การให้การสนับสนุนทางการเงินของอิรักแก่ครอบครัวมือระเบิดพลีชีพปาเลสไตน์ การละเมิดสิทธิมนุษยชนของรัฐบาลอิรักและความพยายามเผยแพร่ประชาธิปไตยสู่อิรัก
การรุกรานอิรักนำไปสู่การยึดครองและการจับกุมตัวประธานาธิบดีซัดดัม ฮุสเซนในท้ายที่สุด ซึ่งภายหลังถูกพิจารณาโดยศาลอิรักและประหารชีวิตโดยรัฐบาลใหม่ของอิรัก ในวันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2549 (วันแรกของอีดิลอัดฮา
ปลายเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552 ประธานาธิบดีสหรัฐ ที่เพิ่งได้รับเลือกตั้งใหม่ บารัก โอบามา ประกาศถอนกำลังรบ 18 เดือน โดยคงทหารอย่างน้อย 50,000 นายในประเทศ "เพื่อให้การแนะนำและฝึกกำลังความมั่นคงอิรักและเพื่อจัดหาข่าวกรอง
วันที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2554 ประธานาธิบดีโอบามาประกาศว่า กองทัพและครูฝึกสหรัฐจะออกจากอิรักภายในสิ้นปี ทำให้ภารกิจของสหรัฐในอิรักถึงคราวสิ้นสุด
วันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2554 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมสหรัฐ เลออน พาเนตตา ประกาศให้สงครามอิรักยุติลงอย่างเป็นทางการ ที่พิธีลดธงชาติในกรุงแบกแดด
หลังจากสหรัฐอเมริการุกรานอิรัก ยังมีฐานทัพทหารสหรัฐทั้งหมด 18 แห่งในอิรัก
มีฐานทัพอากาศสหรัฐ 6 ฐานและฐานทัพอากาศสหรัฐ 6 ฐาน พร้อมด้วยฐานทัพร่วมห้าฐาน
นาวิกโยธินสหรัฐ กองทัพเรือ และหน่วยยามฝั่งไม่มีฐานทัพในอิรัก
พล.อ.โคลิน เพาเวลล์ ผู้ด่างพลอยจากการกล่าวหาอิรัก
ที่มา: https://youtu.be/V5lXHUBmGbg