เตยทะเล กินได้มั้ย
เตยทะเล หรือ ลำเจียก
เป็นยาแก้พิษโลหิต แก้พิษไข้ ขับเสมหะ ขับปัสสาวะ และขับนิ่ว
ชื่อเรียกอื่นๆ ต้นการะเกด ต้นปาหนัน ต้นปาแนะ ต้นลำจวน ต้นรันจวน
ในประเทศไทยพบได้มากที่จังหวัดตรัง และจังหวัดสตูล จัดเป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก และเป็นทรงพุ่ม มีความสูงของพุ่มประมาณ 5-6 เมตร โคนต้นมีรากอากาศช่วยค้ำจุนลำต้น ลำต้นมีลักษณะกลม เป็นสีขาวหรือสีน้ำตาลอ่อน มีหนามแหลมสั้นกระจายอยู่ทั่วไป
ผลจะเป็นผลรวมคล้ายผลสับปะรด แข็ง ปลายมีหนามสั้นๆ ผลอ่อนเป็นสีเขียวอมขาว และจะเปลี่ยนเป็นสีเหลือง เมื่อสุกจะเป็นสีส้มหรือส้มอมแดง และมีกลิ่นหอมอ่อนๆ ออกผลได้ตลอดทั้งปี
ขยายพันธ์ุโดยการแยกกอหรือหน่อ และวิธีเพาะเมล็ด ขึ้นได้ดีในดินอุดมสมบูรณ์ร่วนซุย หรือดินเหนียวปนทรายที่อุ้มน้ำได้ดี ต้องการความชื้นและน้ำปริมาณมาก ต้องการแสงแดด มักขึ้นที่ชายหาดหรือชายทะเล ออกดอกได้ทั้งปี ทนโรค ทนต่อลมแรง อากาศแล้งได้ดี
สรรพคุณของเตยทะเลหรือลำเจียก
ช่อดอกเพศผู้ ของต้นเตยทะเลจัดอยู่ในตำรับยาเกสรทั้ง9 ใช้ปรุงเป็นยาหอมและยาบำรุงหัวใจ
ราก มีรสเย็นและหวานเล็กน้อย มีสรรพคุณเป็นยาแก้พิษโลหิต ช่วยแก้พิษไข้ แก้พิษเสมหะ ขับเสมหะ เป็นยาขับปัสสาวะและขับนิ่ว
รากอากาศ ใช้ปรุงเป็นยาแก้ปัสสาวะพิการและแก้นิ่ว ช่วยรักษาหนองใน ระดูขาวมีกลิ่นเหม็น
ประโยชน์ของต้นเตยทะเลหรือลำเจียก
ผลใช้รับประทานได้
ใบใช้สานเป็นเสื่อและเครื่องใช้ประเภทจักรสาน
เปลือกนำมาใช้เป็นเชือกได้
นิยมนำมาปลูกเป็นไม้ประดับ
https://www.youtube.com/watch?v=UXbeyHj7HV8
ภาพhttps://pixabay.com/