กินขนุน..ต้องระวังอะไรบ้างนะ!!
เชื่อว่า เกือบทุกคนคงจะรู้จักและเคยลองกินขนุนกันมาบ้างแล้ว..ไปดูกัน
ขนุน ผลไม้อร่อยๆ นิยมกินเนื้อขนุนสุก ทำขนมได้เมนู ลักษณะของต้นขนุน คุณค่าทางโภชนาการและสรรพคุณของขนุน เช่น บำรุงกำลัง เป็นยาระบายอ่อนๆ โทษของขนุนมีอะไรบ้าง
ต้นขนุน ภาษาอังกฤษ เรียก Jackfruit ชื่อวิทยาศาสตร์ของขนุน คือ Artocarpus heterophyllus Lam. ชื่อเรียกอื่นๆของขนุน เช่น ขะนู นะยวยซะ เนน ซีคึย ปะหน่อย หมากกลาง นากอ มะหนุน ลาน ล้าง หมักหมี้ ขะเนอ ขนู มะยวยซะ เป็นต้น
ขนุนในประเทศไทย
ความเชื่อของคนไทย เชื่อว่า ต้นขนุน เป็นไม้มงคล ให้ปลูกไว้ขนุนไว้หลังบ้านทางด้านทิศตะวันตกเฉียงใต้ เช่ือว่าหากปลูกขนุนบริเวณบ้าน ช่วยให้หนุนบารมี เสริมเงินทอง เสริมความร่ำรวย จะมีผู้คอยเกื้อหนุนจุนเจือ ขนุน ยังเป็นผลไม้ สามารถนำมาทำเป็นอาหารหลากหลายเมนู และ สามารถนำขนุนมาทำยารักษาโรค เป็นสมุนไพร
สายพันธ์ขนุน
ต้นขนุนมีหลายสายพันธุ์ ซึ่งแต่ละสายพันธ์มีสีของเนื้อแตกต่างกัน บางสายพันธุ์มีรสหวาน บางสายพันธุ์รสจืด ซึ่งสายพันธุ์ขนุนที่นิยมปลูกในประเทศไทย มีดังนี้
- ขนุนสายพันธุ์ตาบ๊วย เนื้อสีจำปาออกเหลือง ผลใหญ่ เนื้อหนา
- ขนุนสายพันธุ์ฟ้าถล่ม ผลขนาดใหญ่มาก ค่อนข้างกลม เนื้อสีเหลืองทอง
- ขนุนสายพันธุ์ทองสุดใจ ผลใหญ่ ยาว เนื้อสีเหลือง
- ขนุนสายพันธุ์จำปากรอบ ผลขนาดกลาง เนื้อสีจำปา หวานอมเปรี้ยว
ลักษณะของต้นขนุน
ต้นขนุน เป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ สามารถขยายพันธ์โดยการเพาะเมล็ดพันธ์ การทาบกิ่ง การปักชำ ซึ่งลักษณะของต้นขนุน มีดังนี้
- ลำต้นขนุน สูงประมาณ 30 เมตร ลำต้นตั้งตรง สีน้ำตาล มีกิ่งก้านหลากหลาย ลำต้นขนุนมีน้ำยางสีขาวข้น
- ใบขนุน เป็นใบเดี่ยว ใบขนาดใหญ่ ใบหนา สีเขียว ใบเป็นรูปรี ปลายใบทู่ โคนใบมน ผิวใบเป็นมัน
- ดอกขนุน ลักษณะเป็นช่อ ช่อสีเขียว ดอกออกตามปลายกิ่ง และ ซอกใบ ดอกขนุนอัดแน่นอยู่รวมกัน
- ผลขนุน หรือ ลูกขนุน ลักษณะภายนเจริญเติบดตจากดอกขนุน ผลดิบมีสีขาว ผิวของผลเหมือนหนามทู่ๆ เปลือกของผลขนุนมีน้ำยางเหนียว ผลสุกขนุนเป็นสีเขียว เนื้อในสีเหลือง ภายในมีเมล็ดจำนวนมาก เปลือกของผลขนุนมีน้ำยาง
คุณค่าทางโภชนาการของขนุน
สำหรับการรับประทานขนุนนิยมรับประทานผลขนุน นักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของเนื้อขนุนดิบ รายละเอียด ดังนี้
คุณค่าทางโภชนาการของเนื้อขนุนดิบ ขนาด 100 กรัม
ให้พลังงานมากถึง 95 กิโลแคลอรี เนื้อขนุนดิบมีสารอาหารต่างๆ ประกอบด้วย
-คาร์โบไฮเดรต 23.25 กรัม
-น้ำตาล 19.08 กรัม
-กากใยอาหาร 1.5 กรัม
-ไขมัน 0.64 กรัม
-โปรตีน 1.72 กรัม
-วิตามินเอ 5 ไมโครกรัม
-เบตาแคโรทีน 61 ไมโครกรัม
-ลูทีนและซีแซนทีน 157 ไมโครกรัม
-วิตามินบี1 0.105 มิลลิกรัม
-วิตามินบี2 0.055 มิลลิกรัม
-วิตามินบี3 0.92 มิลลิกรัม
-วิตามินบี5 0.235 มิลลิกรัม
-วิตามินบี6 0.329 มิลลิกรัม
-วิตามินบี9 24 ไมโครกรัม
-วิตามินซี 14.7 มิลลิกรัม
-วิตามินอี 0.34 มิลลิกรัม
-ธาตุแคลเซียม 24 มิลลิกรัม
-ธาตุเหล็ก 0.23 มิลลิกรัม
-ธาตุแมกนีเซียม 29 มิลลิกรัม
-ธาตุแมงกานีส 0.043 มิลลิกรัม
-ธาตุฟอสฟอรัส 21 มิลลิกรัม
-ธาตุโพแทสเซียม 448 มิลลิกรัม
-ธาตุโซเดียม 2 มิลลิกรัม
-ธาตุสังกะสี 0.13 มิลลิกรัม
สารสกัดจากเนื้อไม้ขนุน สามารถสกัดผงสารอาร์โทคาร์ปิน และ อาร์โทคาร์ปาโนน ( Artocarpanone ) มีฤทธิ์ช่วยยั้บยังเชื้อแบคทีเรีย ได้หลากหลายชนิด ต้านอักเสบ
สรรพคุณของขนุน
สำหรับการใช้ประโยชน์จากขนุนด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค สามารถใช้ประโยชน์จาก แก่นไม้ ราก ผลสุก เมล็ด ใบ และ ยางขนุน สรรพคุณของขนุน มีดังนี้
- แก่นขนุน สรรพคุณบำรุงเลือด ช่วยสมานลำไส้ ช่วยสมานแผล
- รากขนุน สรรพคุณบำรุงเลือด แก้ท้องเสีย รักษาโรคผิวหนัง
- ผลสุกขุน สรรพคุณบำรุงเลือด ช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระ ป้องกันโรคมะเร็ง แก้กระหายน้ำ เป็นยาระบายอ่อนๆ
- เม็ดขนุน สรรพคุณบำรุงเลือด บำรุงร่างกาย แก้ปวดท้อง
- ใบขนุนุ สรรพคุณช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด ช่วยระงับประสาท ช่วยแก้โรคลมชัก ใช้หยอดหูแก้ปวดหู แก้ท้องเสีย ช่วยขับพยาธิ รักษาโรคผิวหนัง รักษาแผลเรื้อรัง
- ยางขนุน สรรพคุณรักษาแผลเรื้อรัง รักษาแผลบวม แก้อักเสบ
โทษของขนุน
สำหรับการใช้ประโยชน์จากขนุน พบว่าสารสกัดจากขนุน ทำให้รู้สึกง่วง ข้อควรระวังในการบริโภคขนุน มีดังนี้
- สตรีมีครรภ์ และ สตรีที่อยู่ระหว่างกำลังให้นมบุตร ควรหลีกเลี่ยงการใช้ขนุนเพื่อรักษาโรค เพราะ ขนุนจะซึมผ่านน้ำนมจนเกิดอันตรายต่อทารก
- ผู้ป่วยเบาหวาน ไม่ควรรับประทานผลขนุนสุก เพราะ อาจทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูง
- ควรหยุดใช้สารสกัดจากขนุนอย่างน้อย 2 สัปดาห์ก่อนเข้ารับการผ่าตัด เพราะ อาจทำให้รู้สึกง่วงซึม
ภาพโดย Reinout Dujardin จาก Pixabay