คราบหินปูน…คราบที่เกิดจากน้ำลายฝังแน่น ไม่ควรสะสม
คราบหินปูน…คราบที่เกิดจากน้ำลายฝังแน่น ไม่ควรสะสม
จะว่าไปแล้วการเลี่ยงทีจะไม่ให้คราบหรือสิ่งสกปรกเกิดขึ้นกับภายในร่างกายเราก็เป็นเรื่องยากเหมือนกันหากอยู่ในจุดที่เข้าถึงยาก คุณคงคิดเหมือนกับเราใช่ไหม และบริเวณที่เข้าถึงยากนั้นก็เป็นช่องปากด้วยโดยเฉพาะคราบหินปูนที่แข็งและดื้อ วันนี้เรามีวิธีดี ๆมานำเสนอร่วมกับความรู้เล็ก ๆที่คุณไม่ควรพลาดพร้อมแล้วตามมาเลย
หินน้ำลายหรือที่เรียกกันเป็นส่วนใหญ่ว่าหินปูน
เอะเราก็ไม่ได้พาฟันไปก่อร่างสร้างตึกที่ไหนทำไม่ถึงมีปูนเกิดขึ้นได้ คิดอยู่ใช่ไหมเพราะมันใช่มาก ไม่ว่าจะเป็นสี หรือเนื้อสัมผัส บางคนก็คิดอีกมุมว่า ฉันไปทานหิน ทานปูนจากไหนมา ซึ่งที่จริงแล้วนั้นเรียกได้ว่าเป็นคราบแข็งที่ติดตามฟัน จะพบเจอได้บ่อยเลยคือฟันล่างด้านในสีที่เห็นจะค่อนข้างเหลือง บางคนก็เจอเป็นสีคล้ายกาแฟ ทางการแพทย์เขามักจะเรียกกันว่า ''หินน้ำลาย'' ก็ดูเป็นชื่อที่เหมาะสมกว่าคราบหินปูนกว่าเนอะ แต่หากสะสมไปนาน ๆ เข้าบอกไว้เลยว่าไม่ดีแน่นอน
ขูดหินปูน
การขูดออกหรือขจัดออกนั้นต้องเข้ารับการรักษาโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเนื่องจากว่าต้องใช้เครื่องมือในการขูดและกำจัดคราบปูน รวมถึงการป้องกันการติดเชื้อเมื่อ
ซึ่งจะมีวิธีการก็ไม่ยากและใช้ระยะเวลาไม่นาน ขึ้นอยู่กับปริมาณของคราบหินปูนของแต่ละคนและขึ้นอยู่กับตัวเครื่องมือขูดหินปูนของทันแพทย์อีก
คราบหินปูนเกิดจากอะไร
อย่างที่เราก็ต่างทราบกันดีว่าคราบหินปูนเกิดจากการสะสมมาจากเศษอาหาร หรือคราบโปรตีนที่ยังหลงเหลืออยู่ในปากจนเกิดเป็นแผ่นจุลินทรีย์ (แบคทีเรีย)
เมื่อเกิดการสะสมนาน ๆ เข้า ทับถมแล้ว ทับถมอีก ก็จะกลายเป็นคราบหินปูนไปในที่สุด หรือจะอธิบายถึงสาเหตุได้ง่าย ๆ ว่า เกิดจากการแปรงฟันไม่สะอาดในบริเวณใดบริเวณหนึ่ง
ซึ่งนอกจากฟันจะไม่สะอาดแล้วยังส่งผลอันตรายต่อสุขภาพช่องปากคือทำให้เราเสี่ยงที่จะเป็นโรคเหงือก หรือโรคปริทันต์ (รำมะนาด)
หินปูนเกิดขึ้นได้อย่างไร
หินปูนเกิดจากการช่องปากกักเก็บเศษอาหารหรือคราบเล็ก ๆ น้อย ๆ จากการรับประทานอาหารที่ไม่สามารถสามารถแปรงออกได้หมด
จนเกิดการตกตะกอนทำให้แข็งขึ้นทุกวัน ๆ วนไป ความแข็งก็จะคล้ายคราบหินหรือหินปูนหรือที่เรียกว่าหินน้ำลาย/แผ่นจุลินทรีย์ ซึ่งถ้าเป็น ในระยะแรก ๆ จะสามารถใช้แปรงสีฟันแปรงออกได้ และจะดีมากๆ หากเลือกใช้ยาสีฟันที่มีส่วนผสมของฟลูออไรด์ ,รสชาติของยาสีฟัน ร่วมด้วย แต่หากกลายเป็นคราบหินปูนเกาะฟันที่มีความแข็งและเปลี่ยนเป็นสีเหลือง เหลืองอมน้ำตาลหรือเป็นสีน้ำตาลไปแล้ว ก็ต้องไปพบทันตแพทย์เพื่อทำการขูดออกเท่านั้น
ขูดหินปูนทำให้ฟันขาว
การขูดหินปูนสามารถทำให้ฟันขาวขึ้นได้ไม่มากก็น้อย เพราะคราบหินปูนส่งผลให้ฟันเหลืองและเป็นแหล่งสะสมของแบคทีเรียในช่องปาก
คราบหินปูนในเด็ก
กรณีเมื่อหินปูนที่เกิดขึ้นในช่องปากของเด็ก ส่วนใหญ่จะเป็นหินปูนที่ไม่แข็ง แม้ว่าจะเกาะอยู่บนผิวฟัน และไม่อาจใช้แปรงกำจัดออกได้ก็ตาม แต่หากใช้เครื่องมือขูดออก ก็จะสามารถทำให้สะอาดได้อย่างง่ายดายและรวดเร็ว
เด็กๆ ที่พบหินปูน มักเป็นเด็กที่ไม่ค่อยชอบรักการแปรงฟัน หรือแปรงฟันแล้วแต่ขอบขอกินขนม ลูกอม ขอหวาน แต่หากหินปูนที่เกิดขึ้นในเด็ก ไม่ได้รับการกำจัดออกไปมันจะสะสมมากขึ้นเรื่อยๆ และหินปูนที่มีขนาดใหญ่ บางจุดอาจมีหลุดไปเอง จากแรงถูไถของการกัดเคี้ยวอาหาร หินปูนเหล่านี้จะยังคงอยู่และเป็นต้นเหตุของการเกิดโรคปริทันต์เมื่ออายุมากขึ้น
ผลเสียของคราบหินปูน
ผลเสียของคราบหินปูนจะเกิดขึ้นเมื่อจุลินทรีย์ปล่อยกรดที่เป็นสารจากการย่อยอาหารออกมาทำให้เกิดเป็นปัญหากับเหงือก เช่น เหงือกบวม แดง ร่น (อักเสบ)
เมื่อปล่อยออกมานานๆ กระดูกที่รองรับรากฟันจะค่อย ๆ ละลายยิ่งทำให้ฟันไม่แข็งแรง อาจเกิดฟันโยก
ปัญหาหลัก ๆ ที่เกิดจากคราบหินปูน ได้แก่ เลือดออกขณะแปรงฟัน ฟันเหลือง มีกลิ่นปาก เหงือกร่น โรคปริทันต์ ฟันผุ ฟันโยกฟันห่าง และฟันผุ
คราบพลัคคือ
คราบพลัคคือ แผ่นคราบจุลินทรีย์ที่เกิดจากแบคทีเรียจากแป้งและน้ำตาล มีลักษณะเหมือนแผ่นฟิล์มเหนียว ไม่มีสี เกาะรวมตัวกันบนผิวฟัน ซึ่งเป็นสาเหตุหลักของการเกิดฟันผุและโรคเหงือก และถ้าไม่ได้ทำความสะอาดออกทุกวันอย่างถูกวิธี คราบพลัคนี้ก็จะแข็งตัวขึ้น จนกลายเป็นหินปูนได้ต่อไป
วิธีการป้องกัน
วิธีป้องกันการสะสมของคราบพลัค
แปรงฟันอย่างน้อย 2 ครั้งต่อวัน คือ เช้าและก่อนนอน
หลังจากที่มีการรับประทานอาหารเสร็จเรียบร้อยแล้ว แน่นอนว่าย่อมมีเศษอาหารเข้าไปติดอยู่ตามซอกฟันอย่างเลี่ยงไม่ได้ เห็นแบบการแปรงฟันทันทีหลังจากรับประทานอาหารเรียบร้อยแล้ว ก็เป็นวิธีหนึ่งที่ช่วยกำจัดเศษอาหารที่เป็นตัวการของคราบพลัค ก็อาจจะต้องมีการแปรงฟันอย่างถูกวิธี และที่สำคัญการแปรงฟันก่อนนอน ถือเป็นเรื่องที่มีความสำคัญเป็นอย่างมาก เพราะหากไม่มีการแปรงฟันก่อนนอน คราบเหล่านั้นก็จะอยู่กับเราไปตลอดทั้งคืนไปจนเช้าและทำให้คราบหนาตัวขึ้นสะสมเป็นจำนวนมากชั้น
ใช้ไหมขัดฟัน
คราบพลัคไม่ได้เกิดขึ้นที่บริเวณหน้าฟันเพียงที่เดียว แต่ยังสามารถเกิดที่ซอกเล็ก ซอกน้อยของตัวฟัน สิ่งสำคัญที่สุดควรทำความสะอาดซอกระหว่างฟันจึงถือเป็นเรื่องที่มีความสำคัญอีกเรื่องหนึ่ง การแปรงฟันเพียงอย่างเดียวอาจไม่ใช่วิธีที่ถูกเสมอไป จึงจำเป็นที่จะต้องใช้อุปกรณ์เข้ามาช่วยอย่างเส้นไหมขัดฟัน ที่มีเนื้อบางเบา สามารถเข้าไปเคลียร์หรือเก็บเกี่ยวเศษอาหารตกค้างออกมาได้
ใช้น้ำยาบ้วนปาก
โดยทั่วไปแล้ว น้ำยาบ้วนอาจถือเป็นเครื่องสำอางที่เพิ่มความมั่นใจให้ใครหลาย ๆ คน แต่การจะให้น้ำยาบ้วนปากทำให้คราบพลัคที่ติดอยู่หลุดร่วงออกได้ อาจต้องเลือกรสชาติของน้ำยาบ้วนปาก ด้วย เนื่องจากการเลือกน้ำยาบ้วนปากชนิดที่รุนแรงเกินไป มีรสชาติที่เผ็ดรุนแรงจนทำร้ายเหงือก ความอดทนของการอมก็จะลดน้อยลง ส่งผลให้น้ำยาช่วยได้เพียงเพิ่มกลิ่นหอมและความสดชื่นของช่องปาก
ดื่มน้ำมาก ๆ หลังรับประทานอาหารประเภทน้ำตาลและแป้ง
แบคทีเรียที่อยู่ในช่องปากมักจะชอบอาหารประเภทนี้ เมื่อไหร่แบคทีเรียเหล่านั้นกัดกินและปล่อยกรดก็จะทำให้เกิดคราบพลัค
ซึ่งการดื่มน้ำมาก ๆ หลังจากรับประทานอาหารประเภทที่มีแป้งและน้ำตาลสูง ๆ เข้าไปก็จะลดปัญหาคราบได้
*ในน้ำดื่มนอกจากจะช่วยชำระล้างคราบแล้วอาจมีส่วนผสมของฟลูออไรด์ที่ช่วยปกป้องสภาพฟันได้อีกด้วย
พบทันตแพทย์อย่างน้อย 2 ครั้งต่อปี
บางครั้งการสังเกตความผิดปกติของฟันเพียงอย่างเดียวก็ไม่น่าจะเพียงพอ เพราะคุณจะพลาด และสังเกตได้ไม่ทั่วบริเวณเช่นเดียวกับแปรงสีฟันที่ขจัดคราบได้ไม่ถึง เพราะความผิดปกติของฟันบางครั้งก็ต้องใช้ความชำนาญช่วยตรวจสอบ
นี่เลยเป็นเหตุผลในการพบทันตแพทย์อย่างน้อย 2 ครั้ง/ปี สามารถทำให้เราได้รู้ว่าสุขภาพช่องปากของเรานั้นมีปัญหาตรงไหน ควรปรับปรุงอะไรบ้าง และหากเกิดความผิดปกติก็สามารถแก้ไขได้อย่างถูกต้อง ก่อนจะกลายเป็นปัญหาใหญ่ที่คุณรู้ตัวอีกทีก็สายไปเสียแล้ว
ขูดหินปูนอย่างน้อยกี่ครั้ง
ตามปกติแล้วการพบทันตแพทย์ควรเป็นอย่างน้อย 6เดือน/ครั้ง ซึ่งการขูดหินปูนอาจขึ้นอยู่กับจำนวนคราบและการดูแลที่การเกิดหินปูนก็น้อย เมื่อหินปูนน้อยก็จะลดการขูดหินปูนออกไป
เห็นแบบนี้แล้วคุณว่ามันจะยังเป็นไปได้หรือไม่ที่แค่เพียงเศษอาหารที่สะสมอาจก่อให้เกิดคราบหินเหล่านี้ ทางที่ดีและยั่งยืนต่อสุขภาพในช่องปากของคุณแค่เพียงใส่ใจกับการรับประทานให้มากขึ้น เลือกของที่ดีที่สุดให้ช่องปากเท่านี้คุณก็สามารถลดและกำจัดคราบตัวร้ายออกไปจากคุณได้แล้ว
Reference: https://www.nhs.uk/live-well/healthy-body/how-to-keep-your-teeth-clean/
อ้างอิงจาก: pixabay