ดูแลผู้ป่วยง่ายขึ้นด้วย Sensor บนผ้าอ้อมผู้ใหญ่###
ดูแลผู้ป่วยง่ายขึ้นด้วย Sensor บนผ้าอ้อมผู้ใหญ่###
.
เราเคยคาดคิดกันมาก่อนมั้ยคะว่า ณ วันหนึ่งเราจะมีผ้าอ้อมผู้ใหญ่ที่ติด
Sensor สำหรับการ Monitor สุขภาพของผู้สวมใส่ วันนี้ Avery IT TECH
นำข่าวที่น่าสนใจนี้มาแบ่งปันความรู้สำหรับชาว IT ทุกท่านไปติดตามกันเลยค่ะ
.
การ Monitor ระดับของน้ำตาลกลูโคสในปัสสาวะ มีความสำคัญในช่วงเริ่มของการเป็นโรคเบาหวาน
และ Sensor บนผ้าอ้อมจะทำหน้าที่ดึงดูด หรือตรวจจับได้ ในการศึกษาปัจจุบันนั้นนักวิทยาศาสตร์จาก
มหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์โตเกียว ประเทศญี่ปุ่น ได้พัฒนาผลงานที่ไม่เคยมีมาก่อนนั่นก็คือ
ผ้าอ้อมผู้ใหญ่ที่มีการติด Sensor ที่สามารถทำงานได้ด้วยตัวเอง โดยการใช้พลังงานไฟฟ้าโดยตรงจากปัสสาวะ
เป็นการใช้เซลล์พลังงานชีวภาพในการทำงานนั่นเองค่ะ
กระบวณการทำงานนั้นเจ้าอุปกรณ์ตัวนี้จะส่งข้อมูลแบบไร้สายไปยังอุปกรณ์
เพื่อแจ้งเตือนความเข้มข้นของน้ำตาลกลูโคสในปัสสาวะ และแจ้งเตือนเมื่อมีปัสสาวะด้วย
เป็นการช่วยป้องกันการป่วยเป็นโรคเบาหวานได้อย่างดี และทำให้การดูแลผู้ป่วยนั้นง่ายขึ้นอย่างมาก
ต้องขอบคุณวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีใหม่ ๆ ทางด้านการแพทย์
ตอนนี้พวกเราได้รับรู้ข้อมูลมากขึ้นก่อนที่จะมีสัญญาณการเกิดโรคเบาหวาน และ Biomarkers
ที่ควรตรวจสอบ สิ่งสำคัญที่สุด คือ เรามีอุปกรณ์ที่จำเป็นและเทคนิคเพื่อเก็บตัวอย่างได้อย่างสะดวก
รวมทั้งการวิเคราะห์ Biomarkers เหล่านี้ในคลินิก เพื่อให้แพทย์, ผู้ป่วย และ ผู้ที่ดูแลผู้ป่วยสามารถที่จะทำตามได้
ในสถานการณ์จริงของเทคโนโลยีการดูแลสุขภาพที่มีการพัฒนาอยู่ตลอดเวลานั้น
การที่ผู้ป่วยสามารถสวมใส่อุปกรณ์ Electronics และ Biosensors ไว้จะเป็นตัวเปลี่ยนเกม
เปรียบเสมือนการอนุญาตให้ทั้ง 2 ฝ่าย คือ บุคลาการทางการแพทย์
และบุคคลที่ไม่ใช่บุคลากรด้านการแพทย์สามารถที่จะ Monitor ค่าตัวแปรต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับร่างกายได้
ในเคสที่พิเศษของโรคเบาหวานที่มีความจำเป็นต้องเจาะเลือดเพื่อวัดระดับน้ำตาล
การใช้การวัดระดับน้ำตาลในปัสสาวะจะเป็นการวัดระดับน้ำตาลทางอ้อม โดยที่ไม่ต้องเจาะเลือด
สิ่งที่มากกว่านั้นคือ การวัดระดับน้ำตาลในปัสสาวะนั้นเป็นการดูแลผู้ป่วยในระยะยาว
sensors สามารถที่จะติดตั้งอยู่ในผ้าอ้อมผู้ใหญ่ได้โดยตรง ด้วยการส่งข้อมูลแบบไร้สาย
sensors ผ้าอ้อมสามารถช่วยให้ ดูแลผู้ป่วยได้ง่ายขึ้น ได้อย่างดีเยี่ยม และยังเป็นการ Monitor
สุขภาพไปด้วย อย่างไรก็แล้วแต่ทั้ง Sensors และ wireless transmitter
ต้องการแหล่งพลังงานเพื่อการใช้ในการทำงาน ซึ่งการติดตั้งแบตเตอรี่ในผ้าอ้อมนั้น
สามารถแก้ปัญหาได้จากนักสิ่งแวดล้อม รวมทั้งในแง่ของหลักการปฏิบัติด้วย
โชคดีที่นักวิทยาศาสตร์จากญี่ปุ่นได้ทำงานเพื่อแก้ไขปัญหานี้ จากการศึกษา Sensor
ในเอกสารที่ตีพิมพ์ล่าสุดใน Published in ACS Sensors นั้นรองศาสตราจารย์อิซาโอะ ชิตันดะ
, ศาสตราจารย์มิยาซากิ อิตากากิ และคุณยูกิ ฟูจิมูระ จากมหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์โตเกียว
ประเทศญี่ปุ่น ได้เสนอการทดลองที่ใกล้ความเป็นจริงของการสร้างผ้าอ้อมผู้ใหญ่ติด Sensors
ที่สามารถทำงานได้ด้วยตัวเอง ว่าสามารถที่จะสร้างพลังงานได้โดยตรงจากปัสสาวะได้
งานวิจัยนี้ได้ทำงานร่วมกับศาสตราจาร์เซอิยะ ซูจิมูระ จากมหาวิทยาลัยซูคุบะ ประเทศญี่ปุ่น เ
ป็นที่น่าสังเกตุอย่างหนึ่งว่างานวิจัยนี้เกี่ยวเนื่องกับงานวิจัยของ ดร.ชิตันดะและคณะ
ที่พยายามพัฒนา Biosensors ที่สามารถทำงานได้ด้วยตัวเอง อย่างเช่น Lactate sensors
ที่สร้างพลังงานการขับเคลื่อนได้จากเหงื่อโดยตรง
แต่เราจะรู้ได้อย่างไรว่าพลังงานไฟฟ้าที่ได้จากปัสสาวะที่ให้กับ sensors นั้นจะเพียงพอ คำตอบอยู่ใน
Electrochemistry (การศึกษาไฟฟ้าเคมี) นักวิทยาศาสตร์ได้พัฒนากระดาษที่เป็น Biofuel cell
ผ่านปฏิกิริยา Reduction-oxidation ได้ผลลัพธ์ออกมาเป็นพลังงานไฟฟ้าตามสัดส่วนของปริมาณของน้ำตาลกลูโคสในปัสสาวะ ข้อควร
พิจารณาที่สำคัญในการออกแบบ Biofuel cell คือ จะต้องมีปริมาณปัสสาวะที่เพียงพอต่อการสร้างพลังงานไฟฟ้า
รวมทั้งความเสถียรและความคงทนของอุปกรณ์ด้วย ด้วยเหตุนี้ นักวิทยาศาสตร์จึงได้พัฒนาขั้วบวกชนิดพิเศษ
ซึ่งเป็นขั้วลบของ Electrochemical cell โดยใช้กระบวนการที่เรียกว่า "กราฟต์พอลิเมอไรเซชัน"
(Graft Polymerization) ซึ่งจะช่วยให้อุปกรณ์สามารถยึดเหนี่ยวเอ็นไซม์ที่ตอบสนองต่อกลูโคส
และโมเลกุลตัวกลางไปยังชั้นคาร์บอนที่มีรูพรุนได้อย่างแน่นหนา ซึ่งจะทำหน้าที่เป็นวัสดุนำไฟฟ้าพื้นฐานนั่นเอง
นักวิทยาศาสตร์ได้ทำการทดลอง Biosensor ที่สามารถทำงานได้ด้วยตัวเองนี้ในผ้าอ้อม โดยใช้ปัสสาวะที่ทำขึ้น
(ปัสสาวะเทียม) ในระดับความเข้มข้นที่แตกต่างกัน พวกเขาใช้การสร้างพลังงานให้กับเครื่องส่งสัญญาณ Bluetooth พลังงานต่ำ
และ Monitor ระดับความเข้มข้นโดยการ Remote ผ่าน Smartphone ทำให้พวกเขาพบว่า Biofuel cell
สามารถตรวจจับน้ำตาลในปัสสาวะได้ในระยะอันสั้น เพียงแค่ใน 1 วินาทีเท่านั้น
“เมื่อเทียบการ monitor กลูโคสในสภาพแวดล้อมของการเป็นโรคเบาหวาน Sensor
ผ้าอ้อมสามารถใช้งานโดยการ Remote เพื่อตรวจสอบลักษณะของ
ปัสสาะได้ หากคุณได้สะสมน้ำตาลในปัสสาวะเพื่อเป็นเชื้อเพลิงไว้ล่วงหน้าก่อนแล้ว ในโรงพยาบาล
หรือสถานพยาบาลเป็นสถานที่ที่มีแนวโน้มที่จะต้องตรวจสอบผ้าอ้อมเป็นช่วง ๆ อยู่แล้ว
ดังนั้นอุปกรณ์ตัวนี้ได้ถูกเสนอเพื่อเป็นทางออกที่ดีที่จะช่วยลดภาระของผู้ดูแลผู้ป่วยได้อย่างดี” ดร.ชิตันดะ กล่าว
โดยสรุปแล้ว Sensor ที่ ดร.ชิตันดะ คณะได้ออกแบบและสร้างขึ้นมานั้นไม่เพียงแค่ช่วยป้องกันการเกิดโรคเบาหวาน
แต่ยังช่วยบริหารจัดการการใช้ผ้าอ้อมได้อย่างมีประสิทธิมากขึ้น รวมทั้งตอบสนองได้ดี
โดยไม่สร้างผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม “เราเชื่อว่าแนวคิดการพัฒนาในการศึกษานี้
อาจจะกลายเป็นเครื่องมือที่มีความหวังอย่างมาก ในการพัฒนาของ Biosensor
แบบสวมใส่ที่สามารถทำงานได้ด้วยตัวเอง ” ดร.ชิตันดะ กล่าว