สภาลงมติเห็นชอบ "พรบ.อุ้มหาย" หลัง "ก้าวไกล" อภิปรายร่างกฎหมาย ยุติซ้อมทรมาน-อุ้มหาย
ก้าวไกล หนุน พ.ร.บ.ป้องกันซ้อมทรมานและอุ้มหาย "นี่เป็นกฎหมายสำคัญต่อการคุ้มครองประชาชน ยุค คสช. โดนอุ้มหาย 9 ราย แต่รอจนมีเหตุ ผู้กำกับโจ้ สภาจึงพิจารณา" สภาลงมติเห็นชอบ "พรบ.อุ้มหาย" จากคลิปหลักฐานการทรมานผู้ต้องหายาเสพติดในจังหวัดนครสวรรค์ ได้เปลี่ยนให้ ผู้พิทักษ์สันติราษฎร์ กลายเป็นผู้ต้องหาในคดีฆาตกรรม เหตุการณ์นี้ทำให้การพูดเรื่อง “กฎหมายป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย” กลายเป็นเรื่องจำเป็นและใกล้ตัวผู้คนมากยิ่งขึ้นในกลุ่มผู้ร่วมผลักดันร่างกฎหมายดังกล่าว ที่ใช้เวลานานเกือบ 10 ปี บอกตรงกันว่า ความคืบหน้าทางกฎหมายที่จะทำให้ระบุฐานความผิดของเจ้าหน้าที่รัฐได้อย่างชัดเจน เป็นสิ่งที่ประเทศไทยควรทำหลังลงนามและให้สัตยาบันในอนุสัญญาว่าด้วยการต่อต้านการทรมานและการปฏิบัติหรือการลงโทษอื่นที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือที่ย่ำยีศักดิ์ศรี (United Nations Convention against Torture: UNCAT ) ตั้งแต่ปี 2550 หรือเมื่อ 14 ปีที่แล้ว
ผ่านมา 14 ปี...กระทั่งวันนี้ (15 ก.ย. 2564) สภาฯ บรรจุร่าง พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการทรมานฯ เข้าสู่วาระการพิจารณาอีกครั้ง และคาดว่าทั้ง 4 ร่างฯ จาก คณะรัฐมนตรี, กมธ.กฎหมายฯ ร่วมกับภาคประชาสังคม, พรรคประชาชาติ และพรรคประชาธิปัตย์ จะได้รับการพิจารณาทั้งหมด The Active รวบรวมข้อมูลสำคัญ นับตั้งแต่ประเทศไทย ลงนามและให้สัตยาบันในอนุสัญญาว่าด้วยการต่อต้านการทรมานฯ เมื่อปี 2550 และตัวชี้วัดที่น่าสนใจของนานาชาติถึงความเปลี่ยนแปลงหลังเข้าร่วมในอนุสัญญานี้ ที่มีผลสำคัญต่อสิทธิในการกระบวนการยุติธรรมทางอาญาของแต่ละประเทศ
อ้างอิงจาก: https://twitter.com/tanawatofficial/status/1438390018939129860/photo/1














