ปัญหาและสาเหตุที่ไทยต้องนำเข้าขยะจากต่างประเทศ ………ที่หลายคนอาจจะยังไม่รู้
หลายคนคงไม่ทราบว่าจริงๆ แล้ว ก่อนหน้านี้ประเทศจีน เป็นประเทศที่นำเข้าขยะมากที่สุดในโลก แต่หลังจากที่ประเทศจีน ประกาศเปลี่ยน นโยบาย เร่งแก้ปัญหามลพิษ ควบคุมอุตสาหกรรม กิจการรีไซเคิลภายในประเทศ เพื่อคุ้มครองสุขภาพ ความปลอดภัยของมนุษย์และสิ่งแวดล้อมทำให้ประเทศจีนยกเลิกการนำเข้าขยะจากต่างประเทศไปจากที่นำเข้าขยะจากต่างประเทศมากเกือบ 13.5 ล้านตันในปี 2019 และตั้งเป้าจะให้เหลือศูนย์หรือยกเลิกการนำเข้าขยะจากต่างประเทศทั้งหมดภายในสิ้นปี 2020 จึงทำให้ประเทศไทยกลายเป็นหนึ่งในเป้าหมายประเทศที่นำเข้าขยะ เพื่อมาคัดแยกและรีไซเคิล เพราะหากกำจัดที่ประเทศต้นทางก็จะมีต้นทุนสูงกว่าการส่งออก แม้ประเทศไทยจะอนุญาตให้นำเข้าพลาสติก แต่ก็ต้องเป็นเศษพลาสติกต้องสะอาดไม่ปนเปื้อนมีขนาดไม่เกิน2.0เซนติเมตร หากมีการตรวจพบว่าเรามีการลักลอบนำเข้าพลาสติกปนเปื้อนเข้ามาด้วย ซึ่งพลาสติกเหล่านั้นอาจก่อให้เกิดปัญหามลพิษตามมาได้ในภายหลัง
ปัจจุบันประเทศไทยมีโรงงานคัดแยกและรีไซเคิลขยะกว่า 6, 000 แห่ง เนื่องจากปัจจุบัน พ.ร.บ.โรงงาน พ.ศ. 2562 ได้ลดขั้นตอนการออกใบอนุญาตประกอบกิจการ หรือ ร.ง.4 ที่จะต้องตรวจสอบและพิจารณาถึงความเหมาะสมของทำเลที่ตั้ง ผลกระทบที่จะเกิดขึ้นต่อสิ่งแวดล้อมและประชาชนในพื้นที่ ทำให้มีโรงงานเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก ซึ่งโรงงานอุตสหกรรมพวกนี้จริงๆ เป็นของชาวต่างชาติเองซะส่วนมาก ซึ่งเรื่องนี้ทางอุตสหกรรมต้องออกมาชี้แจ้งรายละเอียดให้ประชาชนได้ทราบว่าทำไมถึงมีโรงงานอุตหกรรมจากต่างชาติเพิ่มขึ้นมามากขนาดนี้
หลายคนอาจสงสัยว่าจริงแล้วขยะประเทศไทยก็มีถมไป เหตุใดยังต้องนำเข้า
กรมควบคุมมลพิษได้รายงานสถานการณ์ปริมาณขยะะมูลฝอย พบว่าในปี พ.ศ. 2561 เรามีปริมาณขยะมูลฝอยประมาณ 27.93 ล้านตัน หรือประมาณ 76.529 ตันต่อวัน หรือปีก่อนหน้า27.37 ล้านตัน สถิติย้อนหลัง 3 ปี อยู่ 27 ล้านตัน ประเด็นนี้ นายสนธิ คชวัฒน์ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ ชมรมนักวิชาการสิ่งแวดล้อมไทย ได้แสดงความเห็นผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัวไว้ว่า “ข้อเท็จจริงก็คือขยะพลาสติกในประเทศไทยมีจำนวนมากจริง แต่เป็นขยะที่ไม่ได้ถูกคัดแยกอย่างมีประสิทธิภาพทั้งจากประชาชนและรัฐบาล จึงมีการปนเปื้อนสูง ดังนั้นโรงงานอุตสาหกรรมจึงซื้อขยะพลาสติกจากต่างประเทศ (โดยเป็นไปตามเงื่อนไขการนำเข้าของรัฐบาลคือเศษพลาสติกต้องสะอาดไม่ปนเปื้อนมีขนาดไม่เกิน2.0เซนติเมตร) นำมารีไซเคิลและผลิตสินค้าพลาสติกราคาถูกขาย ซึ่งจะมีต้นทุนถูกกว่าการนำขยะพลาสติกในประเทศไทยมาคัดแยกและนำมารีไซเคิลผลิตเป็นสินค้าใหม่ ทำให้ขยะพลาสติกในประเทศตกค้างจำนวนมาก และถูกกองทิ้งไว้ในหลุมขยะเทศบาลและไหลลงทะเลในที่สุด” จนเมื่อเดือน กันยายน ปี2563 ใบอนุญาตการนำเข้าเศษพลาสติกสิ้นสุดลง จึงมีความเป็นห่วงในเรื่องการนำเข้าขยะพลาสติก ทางด้านรมว.อุตสาหกรรม ก็ได้คุมเข้มตรวจสอบผู้ประกอบการที่ได้รับโควตาการนำเข้าเศษพลาสติก เพื่อป้องกันไม่ให้มีการนำเข้าเศษพลาสติกไปใช้ผิดวัตถุประสงค์และ ป้องกันไม่ให้เศษพลาสติกนำเข้าเหล่านี้ไปสร้างปัญหาสิ่งแวดล้อม
ทั้งนี้หลังจากการนำเข้าเศษพลาสติกเพื่อเป็นวัตถุดิบซึ่งจะสิ้นสุดในเดือนกันยายน โดยผู้ประกอบการยังมีโควต้าเหลือประมาณ 2.2 แสนล้านตัน ซึ่งตั้งแต่ปี 2561 คณะอนุกรรมการเพื่อบูรณาการการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์และเศษพลาสติกที่นำเข้าจากต่างประเทศ ไม่ได้อนุญาตให้มีโควตาการนำเข้าใหม่ แต่ทนแรงกดดันจากภาคอุตสาหกรรมไม่ไหว ทำให้คณะอนุกรรมการการบริหารจัดการขยะพลาสติกและขยะอิเล็กทรอนิกส์ ปรับเปลี่ยนมาตรการ จากที่ ‘ยกเลิกการนำเข้าเศษพลาสติกโดยเด็ดขาด’ ตามมติเดือนสิงหาคม 2561 กลับ เปิดทางให้นำเข้าได้ตามมติใหม่วันที่ 25 มกราคม 2563 แล้วค่อยห้ามนำเข้าในอีก 5 ปีข้างหน้า ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2569 เป็นต้นไป ระหว่างนี้ก็นำเข้าได้แต่ลดสัดส่วนลงทุกปีแล้วเพิ่มสัดส่วนในประเทศแทน โดยปี 64 นำเข้าได้ไม่เกิน 250,000 ตัน
ปลายปี 2563 ถึงต้นปี 2564 กระทรวงอุตสาหกรรม บอกว่าโรงงานมีความต้องการเศษพลาสติกอย่างน้อย 46 โรงงาน ที่มีกำลังการผลิตรวมกัน 530,000 ตันต่อปี ต้องการนำเข้า 680,000 กว่าตัน กรมควบคุมมลพิษ เสนอมาตรการนำเข้าเศษพลาสติกต่อคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ
จากห้ามนำเข้าเด็ดขาดตั้งแต่สิ้นเดือนกันยายน 2563 มาผ่อนผันให้นำเข้าได้ตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2561 ถึง สิงหาคม 2563 แล้วค่อยๆ ลดปริมาณลงปีละ 20% จนถึงมกราคม 2569 จึงจะห้ามนำเข้าเศษพลาสติกโดยสิ้นเชิง
ยกตัวอย่างโรงงานจีนมีความพยายามเข้ามาตั้งฐานการผลิตในประเทศไทย เช่น ที่ ต.น้ำพุ จ.ราชบุรี ก็มีการคัดค้านเรื่องนี้อยู่ มีโรงงานที่มีกำลังผลิต 30,000 กว่าตัน ทำหนังสือถึงกรมควบคุมมลพิษ ขอออกใบอนุญาตนำเข้าเศษพลาสติก ทางด้านกรมอุตสาหกรรมพลาสติกก็กดดันให้ขยายการนำเข้าพลาสติกออกไปอีก 5 ปี”
ซึ่งเรื่องนี้ทางกระทรวงอุตสาหกรรมต้องออกมาชี้แจ้งพี่น้องประชาชนที่ได้รับผลกระทบให้เช่นเจนเพราะการนำเข้าขยะขึ้นตรงกับกระทรวงอุตสากรรมเท่านั้น
ส่วนของ กระทรวงทรัพยกรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยนายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีเจ้ากระทรวงได้ออกสั่งการเร่งมาตรการประคองราคาเศษพลาสติกในประเทศ ตั้งเป้าหยุดนำเข้า 100% ในปี 2569 ฟื้นชีวิตให้ธุรกิจรีไซเคิลขยะ เมื่อต้นเดือนที่ผ่านมา ทางทีมงานกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้ประชุมหารือ เกี่ยวกับมาตรการกำกับการนำเข้าเศษพลาสติก เพื่อเตรียมการนำเสนอเข้าที่ประชุมคณะอนุกรรมการบริหารจัดการขยะพลาสติกและขยะอิเล็กทรอนิกส์ ครั้งที่ 2/2564
ซึ่งประเด็นที่ให้ความสำคัญคือการกำหนดมาตรการการนำเข้าเศษพลาสติก เพื่อแก้ปัญหาการนำเข้าในขณะนี้ที่มีจำนวนมาก จนส่งผลกระทบกับราคาเศษพลาสติกในประเทศ ทำให้ราคาการซื้อ-ขายเศษพลาสติกภายในประเทศตกต่ำ จนทำให้อาชีพคัดแยกขยะขาย ซึ่งเคยเป็นกำลังสำคัญในห่วงโซ่ขยะรีไซเคิล กำลังหายไปจากสังคมไทย ซึ่งจริงๆ แล้วทางกระทรวงทรัพยกรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้ความสำคัญและสนใจในเรื่องนี้มาก แต่ก็ต้องขึ้นอยู่กับหน้าที่หลักของกระทรวงอุตสหกรรมเท่านั้นที่จะทำยังไงต่อไป
หลังจากกรมควบคุมมลพิษ ได้เตรียมการเสนอมาตรการกำกับการนำเข้าเศษพลาสติก ต่อคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติในการประชุมที่จะมีขึ้นครั้งต่อไป โดยคำนวนจากความต้องการใช้เศษพลาสติกในอุตสาหกรรม ปริมาณ 500,000 ต่อปี ดังนี้
- เสนอให้นำเข้าเศษพลาสติกในปี 2564 ในปริมาณ 250,000 ตันต่อปี หรือ 50% ของกำลังการผลิตทั้งหมด
- ร่วมกับการใช้เศษพลาสติกภายในประเทศ ในปริมาณ 250,000 ตันต่อปี อีก 50%
- กำหนดให้ปีต่อๆไป ต้องลดปริมาณการนำเข้าเศษพลาสติกลง ปีละ 20% หรือประมาณ 50,000 ตัน/ปี
- จนครบโควต้า ห้ามนำเข้าเศษพลาสติก 100% ภายในวันที่ 1 มกราคม 2569 และเปลี่ยนมาสนับสนุนการใช้เศษพลาสติกภายในประเทศ 100% เพื่อให้สอดรับกับนโยบายขับเคลื่อนประเทศไทยด้วยระบบโมเดลเศรษฐกิจ BCG (Bio-Circular-Green Economy)
โดยนายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยกรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมยัง เตรียมผลักดันอีกครั้งสำหรับ กฎหมายยกเลิกใช้พลาสติกประเภทใช้ครั้งเดียวทิ้ง ผลิตภัณฑ์พลาสติกใช้ครั้งเดียวทิ้ง 4 ประเภท ที่พวกเราเคยผลักดันการยกเลิกใช้ ตามกรอบ Road Map การจัดการขยะพลาสติก พ.ศ. 2561-2573 ให้ได้ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กำลังหารือแนวทางการพัฒนากฎหมายยกเลิกใช้พลาสติกประเภทใช้ครั้งเดียวทิ้ง เพื่อเสนอเข้าที่ประชุมคณะอนุกรรมการบริหารจัดการขยะพลาสติกและขยะอิเล็กทรอนิกส์อีกครั้งนึง ตั้งเป้าให้มีผลบังคับใช้ภายในปี 2565
โดยพลาสติกที่ประเทศไทยต้องยกเลิกการผลิต-จำหน่าย-ใช้งาน ทั้ง 4 ประเภท ได้แก่
- ถุงพลาสติกหูหิ้วแบบบาง น้อยกว่า 36 ไมครอน
- แก้วพลาสติก แบบบาง น้อยกว่า 100 ไมครอน
- หลอดพลาสติก
- กล่องโฟมบรรจุอาหาร
พร้อมตั้งเป้านำขยะพลาสติก กลับมาใช้ประโยชน์ 100% ภายในปี 2570 เดินหน้าขับเคลื่อนประเทศด้วยแผนเศรษฐกิจสีเขียวให้กับพี่น้องประชาชนชาวไทยได้อย่างแน่นอน
ขอบคุณเนื้อหาที่มา https://bit.ly/3nhlTgt , https://bit.ly/3yVyE2E , https://bit.ly/2YIp0E3
อ้างอิงจาก: https://bit.ly/3nhlTgt , https://bit.ly/3yVyE2E , https://bit.ly/2YIp0E3