ทำความรู้จัก5สถานที่มรดกโลกของไทย หลังจากไทยได้สร้างความภูมิใจทำเร็จที่ผลักดันกลุ่มป่าแก่งกระจายได้ขึ้นเป็นมรดกโลกแห่งที่ 6
หลายคนคงทราบข่าวดีของคนไทยเมื่อวันที่ 26 กรกฏาคม 2564 เนื่องด้วยจากการประชุมคณะกรรมการมรดกโลก สมัยสามัญครั้งที่ 44 ซึ่งคณะกรรมการได้พิจารณาให้กลุ่มป่าแก่งกระจาน ของไทยได้รับการบรรจุเข้าเป็นมรดกโลกทางธรรมชาติ สร้างความยินดีและภูมิใจกับคนไทยและประเทศไทยเป็นอย่างมากหลังจากที่พยายามมาหลายปีนับจากที่ นับตั้งแต่ ปี พ.ศ.2548 หลังจากกลุ่มป่าดงพญาเย็น-เขาใหญ่ ได้ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก ก็เป็นระยะเวลา 16 ปีที่เราพยายามมา โดยกว่า 6 ปี ที่ประเทศไทยมุ่งมั่นผลักดันพื้นที่กลุ่มป่าแก่งกระจาน และเข้าสู่การพิจารณาของคณะกรรมการมรดกโลก โดยมีการนำเสนอมาแล้วถึง 3 ครั้งในปี พ.ศ. 2558, พ.ศ. 2559 และ พ.ศ. 2562 จนเข้าสู่การประชุมคณะกรรมการมรดกโลก สมัยสามัญครั้งที่ 44 ในปี พ.ศ. 2564 นี้ พื้นที่กลุ่มป่าแก่งกระจานได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก ภายใต้เกณฑ์ข้อที่ 10 ด้านความหลากหลายทางชีวภาพ ซึ่งนับเป็นความสำเร็จในการดำเนินการอนุรักษ์พื้นที่ถิ่นที่อยู่อาศัยที่มีความสำคัญสูงสุดสำหรับการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพในถิ่นกำเนิด รวมไปถึงการเป็นถิ่นที่อยู่อาศัยของชนิดพันธุ์พืช และพันธุ์สัตว์ ที่มีคุณค่าโดดเด่นเชิงวิทยาศาสตร์ หรือ เชิงอนุรักษ์ระดับโลก กลุ่มป่าแก่งกระจาน ถือเป็นแหล่งมรดกโลกแห่งที่ 6 ของไทย และเป็นแหล่งมรดกโลกทางธรรมชาติแห่งที่ 3 ของประเทศ
แต่ก่อนที่หน้านี้ไทยเราได้รับการขึ้นมรดกโลกมาแล้ว 5 แห่งแบ่งเป็น
มรดกโลกทางวัฒนธรรม 3 แห่ง ได้แก่
1. เมืองประวัติศาสตร์สุโขทัยและเมืองบริวาร จ.สุโขทัย
2. นครประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา
3. แหล่งโบราณคดีบ้านเชียง จังหวัดอุดรธานี
มรดกโลกทางธรรมชาติ 2 แห่ง ได้แก่
1. เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่ – ห้วยขาแข้ง ปี 2534
2. กลุ่มป่าดงพญาเย็น - เขาใหญ่ ปี 2548
3. กลุ่มป่าแก่งกระจาน ปี 2564 ล่าสุดที่ประเทศไทยเราได้ แห่งที่ 6 ของมรดกโลก
ข้อมูลมรดกโลกทั้ง 5 แห่งหลายๆ คนคงศึกษากันมาบ้างแล้ว่าเราได้มาเพราะอะไร ซึ่งหลังจากนั้นนับเป็น 16 ปีที่ยาวนาน กว่าเราจะทำสำเร็จในการได้นำกลุ่มป่าแก่งกระจานขึ้นเป็นมรดกโลกอีกครั้ง ซึ่งนับเป็นความสำเร็จในการดำเนินการอนุรักษ์พื้นที่ถิ่นที่อยู่อาศัยที่มีความสำคัญสูงสุดสำหรับการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพในถิ่นกำเนิด การเป็นถิ่นที่อยู่อาศัยของชนิดพันธุ์พืช และพันธุ์สัตว์ ที่มีคุณค่าโดดเด่นเชิงวิทยาศาสตร์ หรือ เชิงอนุรักษ์ระดับโลก เช่น จระเข้น้ำจืดสายพันธุ์ไทย สมเสร็จ เสือโคร่ง ช้าง กระทิง รวมทั้งพื้นที่สำคัญเพื่อการอนุรักษ์นก มากกว่า 490 ชนิด รวมไปถึงเป็นแหล่งต้นน้ำลำธารที่สำคัญของแม่น้ำเพชรบุรี แม่น้ำปราณบุรี และแม่น้ำภาชี เป็นป่าผืนใหญ่ที่มีความอุดมสมบูรณ์ มีเนื้อที่ประมาณ 2.5 ล้านไร่ (4,089 ตารางกิโลเมตร) มีความยาวตั้งแต่เหนือสุดถึงใต้สุดของพื้นที่ มากกว่า 200 กิโลเมตร
ด้าน“วราวุธ ศิลปอาชา” รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) ในรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชาได้กล่าวว่า ประเทศไทยในฐานะเจ้าของแหล่ง จะต้องปกป้องรักษาแหล่งที่ได้ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกให้คงคุณค่าโดดเด่นอันเป็นสากลไว้ให้ลูกหลานต่อไป ซึ่งการที่พื้นที่กลุ่มป่าแก่งกระจานได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกนี้ นอกจากเป็นการส่งเสริมภาพลักษณ์ที่ดีต่อประเทศ และเป็นความภาคภูมิใจของคนในประเทศแล้ว ยังทำให้คนในประเทศเกิดการตระหนัก รู้สึกเป็นเจ้าของและหวงแหนทรัพยากรที่เรามีอยู่ด้วย ประโยชน์หลัก ๆ อีกด้วย
แต่ในอีกมุมหนึ่ง มีความพยายามเรียกร้องด้านสิทธิมนุษยชนของชนพื้นเมืองกระเหรี่ยงที่อาศัยอยู่ในพื้นที่หรือที่เรียกว่ากระเหรี่ยงบางกลอยโดยด้านนักปกป้องสิทธิมนุษยชน ให้เหตุผลว่า ที่ผ่านมาชนพื้นเมืองกลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยงในพื้นที่อุทยาน ถูกละเมิดสิทธิอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นการบังคับอพยพ การเผาบ้าน รวมถึงแกนนำถูกฆาตรกรรม หลังจากที่ถูกควบคุมตัวไว้โดยเจ้าหน้าที่อุทยาน รวมทั้งยกกรณีการจับกุมชาวบ้าน 28 ราย เมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา ซึ่งในจำนวนนี้มีทั้งเด็กและสตรี ในข้อหาที่บุกรุกแผ้วถางที่ดินดั้งเดิมความขัดแย้งระหว่างรัฐและชาวกะเหรี่ยง เริ่มขึ้นในปี 2539 จากความพยายามเจรจาให้ชาวกะเหรี่ยงอพยพลงมาอยู่พื้นที่ด้านล่าง โดยจัดสรรพื้นที่ให้ แต่มีบางส่วนไม่ลงมาหรือลงมาแล้วแต่กลับขึ้นไปอีก ขณะที่ปี 2554 เกิด “ยุทธการตะนาวศรี” จับกุมชาวกะเหรี่ยงที่ขึ้นไปทำกินและอาศัยในพื้นที่บางกลอยบนและใจแผ่นดิน เผาทำลายบ้าน และยุ้งข้าว ในปี 2557 เกิดข้อกังขาในการหายตัวไปของนาย “นายพอละจี รักจงเจริญ” หรือบิลลี่ นักเคลื่อนไหวชาวกะเหรี่ยงในฐานะพยานของคดีรื้อทำลายเผาบ้านเรือน โดยคาดว่าเสียชีวิต หลังจากนั้น ศาลปกครองสูงสุด สั่งชดใช้สินไหมให้ ปู่คออี้ และชาวบ้านบางกลอย ที่ถูกเผาบ้านเรือน ในปี 2561 ทั้งหมด 6 คน เฉลี่ยรายละ 50,000 บาท โดยความรับผิดชอบของรัฐบาลไทย สำหรับตอนนี้ในเรื่องต่างๆ ก็ได้กระจ่างและแน่ชัดแล้วว่า ประเทศไทยมีสิทธิ์ในพื้นป่าแก่งกระจานแห่งนี้ เพื่อสืบทอดไว้เป็นแหล่งศึกษาท่องเที่ยวเรียนรู้ไว้ให้ลูกหลานอีกต่อๆ ไป ซึ่งคนไทยทุกคนควรจะดีใจกับเรื่องนี้ให้มากกว่า ไม่ใช่ว่าทางไทยเราพยายามผลักดันหรือเอาแต่จับกุมชากระเหรี่ยงพวกนี้ ถ้าชาวกระเหรี่ยงพวกนี้ไม่ทำผิดกฏหมาย ลุกล่ำเผาป่าล่าสัตว์ตัดต้นไม้ทำไร่เลื่อนลอยซึ่งเป็นผลกระบต่อสิ่งแวดล้อมไทยอย่างมากนั้นเอง