ภาพรวมของประเทศไทย
ประเทศไทย นั้นมีชื่ออย่างเป็นทางการว่า ราชอาณาจักรไทย ซึ่งตั้งอยู่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีชื่อเดิมว่าสยาม มีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 50 ขอโลก มีเนื้อที่ประมาณ 513,120 ตารางกิโลเมตร โดยมีประชากรมาเป็นอันดับที่ 20 ของโลก โดยมีอาณาเขตที่ติดต่อกับประเทศพม่าทางทิศเหนือและตะวันตก ประเทศลาวทางทิศเหนือ และภาคตะวันออก ประเทศกัมพูชา ทางทิศตะวันออก และประเทศมาเลเซียทางทิศใต้
ประเทศไทยนั้นมีทั้งหมด 77 จังหวัด ตั้งอยู่กลางคาบสมุทรอินโดจีนในเอชียตะวันออกเฉียงใต้ และอยู่บนคาบสมุทรมลายูด้วย ประเทศไทยนั้นมีลักษณะภูมิประเทศที่หลายหลาย ภาคเหนือ จะเป็นพื้นที่ที่สลับซับซ้อนมากที่สุด และเป็นจุดสูงสุดในประเทศไทย คือ ดอยอินทนนท์ ส่วนภาคตะวันออกเฉียงเหนือพื้นที่ส่วนใหญ่จะเป็นพื้นที่ของที่ราบสูงโคราช สภาพดินจะแห้งแล้งไม่ค่อยเอื้อต่อการเพาะปลูก ภาคกลางจะเป็นที่ราบลุ่มถึงแม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งถือได้ว่าเป็นแม่น้ำที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ซึ่งเกิดจากแม่น้ำปิง และแม่น้ำน่าน ส่วนภาคกลางจะเป็นภาคที่มีความอุดมสมบูรณ์มากที่สุด เป็นแหล่งเพาะปลูกข้าวที่สำคัญ ภาคใต้จะเป็นส่วนหนึ่งของคาบสมุทรมลายู
ประเทศไทยนั้นถือได้ว่ามีความหลากหลายทางด้านชีวภาพของพืช และสัตว์อยู่เป็นจำนวนมาก โดยมีเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่ามากกว่า 50 แห่ง เขตห้ามล่าสัตว์อีก 56 แห่ง การลักลอบฆ่าสัตว์ส่งผลให้หลายพื้นที่สัตว์ป่าใกล้สูญพันธุ์ โดยภูมิอากาศของประเทศไทยส่วนใหญ่จะเป็นแบบภูมิอากาศร้อนชื้น หรือทุ่งสะวันนา ตามการแบ่งเขตภูมิอากาศแบบเคิปเปน โดยส่วนสุด และตวันออกจะมีภูมิอากาศแบบมรสุมเขตร้อน
ประเทศไทยนั้นถือเป็นผู้ผลิต และส่งออกยางพารารายใหญ่ที่สุดของโลก และข้าวยังเป็นพืชที่สำคัญที่สุดของประเทศไทย ประเทศไทยนั้นถือเป็นประเทศที่มีความหลากหลายทางเชื้อชาติ โดยแบ่งเป็นไทยกลางร้อยละ 30 อีสาน หรือลาวร้อยละ 22 ล้านนา ร้อยละ 9 และใต้ร้อยละ 7 มีกลุ่มชาติพันธุ์ที่รัฐบาลรับรอง 62 กลุ่ม วัฒนธรรมในประเทศไทยจะได้รับอิทธิพลมาจากวัฒนธรรมอินเดีย, จีน, ขอม และศาสนาพุทธ และศาสนาฮินดู
อาหารภาคเหนือ อาหารพื้นบ้าน นับเป็นอาหารยอดนิยม เมนูเด็ดหลายเมนูที่มาจากภาคเหนือ ท่านกลางหุบเขาที่มีอากาศเย็นสบาย เสริฟด้วยเครื่องจิ้มประเภทต่าง ๆ มากมาย รสฉุน รับประทานกับข้าวเหนียวอุ่น ๆ อาหารภาคเหนือได้รับอิทธิพลมาจากอาณาจักรล้านนา และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จนเคยได้รับการยกย่อง และขนานนามว่า ล้านนาข้าว ข้อแตกต่างระหว่างอาหารเหนือ และอาหารอีสาน คือ รสชาติอาหารภาคเหนือ จะไม่ร้อนแรง เหมือนกับคนอีสาน มีรสอ่อนกว่า รสเค็ม และเปรี้ยว แต่ไม่ค่อยหวาน อาหารที่มีชื่อเสียง ได้แก่ ข้าวซอย, แกงฮังเล และไส้อั่ว
พืชพันธุ์ที่นิยมนำมาปรุงอาหาร ได้แก่ ผักแค, บอน, หยวกกล้วย และผักหวาน อาหารภาคเหนือนั้นมีความพิเศษตรงที่มีการผสมผสานกันระหว่างวัฒนธรรมการกินจากหลายกลุ่มชน เช่น จีนฮ่อ, ไทลื้อ, ไทยใหญ่ และคนพื้นเมืองต่าง ๆ การปรุงอาหารก็มีหลายหลายวิธี เช่น การแกง, การส้า, การจอ, การเจียว, การปิ้น, การปิ๊ป, การหลู้, การต่ำ ซึ่งอาหารภาคเหนือนั้นมักทำให้สุกมาก ๆ เช่น ผัดผักก็มักจะผัดจนผักนุ่ม โดยขันโตก ภาคเหนือนั้นเป็นตำรับอาหารที่ทรงเสน่ห์ มีเอกลักษณ์ รสชาติอร่อย ประกอบกับผักพื้นบ้าน ซึ่งโดยปกติจะประกอบไปด้วย แกงแค, แกงฮังเล, แกงโฮะ, ขนมจีนน้ำเงี้ยว และข้าวซอย เป็นต้น
อาหารภาคเหนือ เนื่องจากสภาพอากาศที่ค่อนข้างหนาวเย็นอาหารเหนือส่วนใหญ่นั้นจึงมีไขมันมาก เช่น แกงฮังเล, น้ำพริกอ่อง และไส้อั่ว อาหารเหนือเหล่านี้ถูกคิดค้นโดยภูมิปัญญาของชาวเหนือ เพื่อช่วยให้ร่างกายมีความอบอุ่นทนต่อสภาพภูมิกาศหนาวเย็นได้
ประเพณีภาคเหนือ และวัฒนธรรมภาคเหนือ เกิดจากการผสมผสานการดำเนินชีวิต และศาสนา มีความเป็นเอกลักษณ์แตกต่างกันไปตามฤดูกาล มีการจัดงานประเพณีทุกเดือน เช่น ประเพณีสงกานต์, วันเนา, วันญาวัน, แห่นางแมว, ประเพณีปอยน้อย, ประเพณีบวชลูกแก้ว, ประพณีปอยหลวง, ประเพณียี่เป็ง, ประเพณีลอยโคม, ประเพณีตานตุง และประเพณีกรวยสลาก เป็นต้น
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ หรือภาคอีสาน พื้นที่โดยส่วนใหญ่จะเป็นพื้นที่ราบสูง จะมีภูเขาอยู่ทั่วไป เป็นแหล่งเกษตรกรรมผลิตข้าวหอมมะลิส่งขายไปทั่วโลก โดยแม่น้ำสำคัญของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ คือ แม่น้ำโขง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือเป็นภาคที่มีประชากรมากคิดเป็นร้อยละ 33.33 ของประเทศไทย หรือประมาณ 21.59 ล้านคน จากผลสำรวจประเทศเมื่อปี 2559
ภาคตะวันเออกเฉียงเหนือ ประกอบไปด้วย 20 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดนครราชสีมา จังหวัดกาฬสินธุ์ จังหวัดขอนแก่น จังหวัดชัยภูมิ จังหวัดนครพนม จังหวัดบึงกาฬ จังหวัดบุรีรัมย์ จังหวัดมหาสารคาม จังหวัดมุกดาหาร จังหวัดยโสธร จังหวัดร้อยเอ็ด จังหวัดศรีสะเกษ จังหวัดเลย จังหวัดสกลนคร จังหวัดสุรินทร์ จังหวัดหนองคาย จังหวัดหนองบัวลำภู จังหวัดอุดรธานี จังหวัดอุบลราชธานี และอำนาจเจริญ ซึ่งมีอาณาเขตทิศเหนือ และทิศตะวันออก ติดกับสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ซึ่งทิศใต้จะติดกับประเทศกัมพูชา และภาคตะวันออก ทิศตะวันตกจะติดกับภาคกลาง และภาคเหนือตอนล่าง
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยรวมจะมีพื้นที่ประมาณ 105 ล้านไร่ ด้วยลักษณะภูมิประเทศที่เป็นที่ราบสูง ทำให้มีความลาดเอียงไปทางทิศตะวันออก ซึ่งมีลักษณะคล้ายกับกระทะ โดยภาคอีสานจะแบ่งได้ 2 เขตใหญ่ ได้แก่ แอ่งที่ราบโคราช และแอ่งสกลนคร
แหล่งท่องเที่ยวสำคัญของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีมากมาย เช่น แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ, วัฒนธรรม, ประเพณี, โบราณคดี ฯลฯ แหล่งท่องเที่ยวสำคัญเช่น อุทยานแห่งชาติภูกระดึง, อุทยานแห่งชาติภูสวนทราย, อุทยานแห่งชาติภูเรือ, สวนหินผางาม, อุทยานภูเก้า-ภูพานคำ, ทิวทัศน์ลำน้ำโขง, เขตรักษาพันธ์สัตว์ป่าภูวัว, ภูฝอยลม ฯลฯ เป็นต้น
ด้านการท่องเที่ยวภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีนักท่องเที่ยวประมาณ 3 ล้านคนต่อปี มีรายได้ปีละ 6 พันล้านบาท มีความอุดมสมบูรณ์ทางทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้ม เช่น ทรัพยากรป่าไม้ มีพื้นที่ทั้งหมด 21 ล้านไร่ เป็นพื้นที่ป่า 4 ล้านไร่ นอกจากนี้อุตสาหกรรมแร่ ยังสร้างรายได้ให้กับประเทศไทยอย่างมาก เช่น แร่แบไรต์, แร่โปรแตส, แร่หินปู และแร่ตะกั่ว เป็นต้น
เส้นทางคมนาคมของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ หรือภาคอีสาน มีทั้งการคมนาคมทางอากาศ, การคมนาคมทางรถไฟ, การคมนาคมทางบก โดยเชื่อมโยงกับภูมิภาคต่าง ๆ ของประเทศไทย นักท่องเที่ยวสามารถโดยสารเครื่องบินจากสนามบินสุวรรณภูมิบินข้ามไปได้หลายจังหวัด