หมดใจเเละหมดไฟในการทำงานรึยัง เช็คกันหน่อย
Brownout หรืออาการหมดใจในการทำงาน คนทำงานจะรู้สึกไม่มีความสุข เบื่อหน่าย กับเงื่อนไขหรือระบบยิบย่อยบางอย่างขององค์กร วันนี้มาดูกันว่ามีสัญญาณเตือนอะไรบ้าง ที่บอกว่าเราเข้าใกล้อาการ Brownout แล้วนะ
- ไม่มีความสนใจในด้านอื่น ๆ แล้ว นิ่งเเละเฉยชากับทุกเรื่อง
คุณจะสนใจแค่งานของคุณเท่านั้น และจะรู้สึกว่ามันไม่มีอะไรที่น่าสนใจแล้ว ไม่ว่าจะการเข้าหาคน การเรียนรู้ด้านอื่น ๆ ความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงานก็จะลดลง
- รู้สึกเหมือนโดนจับผิดและกดดันอยู่ตลอดเวลา
รู้สึกว่ากำลังถูกจับตามอง หรือโดยจับผิดตลอดเวลา อึดอัดจนบางครั้งถึงขั้นมีอาการแพนิค
- รู้สึกว่าภาระงานมากขึ้น
บางครั้งการทำอะไรหลาย ๆอย่างในเวลาเดียวกัน มันอาจจะไม่ใช่เรื่องที่ดี ยิ่งถ้าเป็นงานที่เกี่ยวกับตัวเลขหรือเอกสารสำคัญ ยิ่งมีความเสี่ยงต่อการผิดพลาด การที่องค์กรเพิ่มภาระงานให้พนักงานคน ๆ นึงมากเกินไป มันอาจจะทำให้ทุกอย่างเสียไปหมด ตัวพนักงานเองก็จะรู้สึกว่าทำงานของตัวเองได้ไม่เต็มที่ เลยเกิดอาการเบื่อหน่าย
- รู้สึกเหมือนไม่ได้พัฒนาตัวเอง
การทำงานเดิม ๆ ที่ไม่ท้าทายความสามารถ บางคนจะรู้สึกเบื่อกับการทำงานเป็นรูทีน งานเดิม ๆ เขาจะรู้สึกว่ามันไม่ท้าทายความสามารถของเขาสักเท่าไหร่ องค์กรอาจจะต้องมีการถามหรือตรวจสอบถึงความต้องการของพนักงาน เพื่อให้สอดคล้องงาน เเละให้เหมาะสมตามศักยภาพของแต่ละคน
- รู้สึกว่าไม่ได้รับความช่วยเหลือเวลามีปัญหา
รู้สึกว่าหัวหน้างานมีความลำเอียง สองมาตรฐาน นี่คือข้อที่สำคัญเลยค่ะ ทำให้คนหมดใจ ไม่ใช่เฉพาะเรื่องงานเท่านั้นนะ แต่รวมไปถึงทุกเรื่องเลย หากเรามีปัญหาแล้วปรึกษาหัวหน้างานตัวเองไม่ได้ ก็จะรู้สึกเซ็ง ๆ หน่อย หรือบางครั้งเราไม่ได้ทำอะไรผิด แต่คนอื่นกลับมองว่าผิด และหัวหน้างานเราไม่ช่วยอะไรเลย นี่ก็ทำให้หมดใจในการทำงานได้ค่ะ
ปัญหาต่าง ๆ นี้ทำให้องค์กรมักเลือกใช้วิธี “ขึ้นเงินเดือนให้พนักกงาน” เมื่อมีพนักงานจะลาออกไป แต่มันไม่ใช่ทางที่ดีที่สุดเพราะเมื่อเราหมดไฟและหมดใจ รั้งไว้ก็ไม่มีประโยชน์ คงไม่มีใครอยากอยู่ต่อ ทางที่ดีคือต้องพูดคุยกัน ทำความเข้ากันทั้งสองฝ่าย ไม่ผ่านคนที่สองที่สามให้สารเปลี่ยน อาจจะสร้างความสัมพันธ์ของพนักงานกับองค์กรให้ดีมากยิ่งขึ้นได้
ขอบคุณภาพจาก Pixabay