พม่าเก็บเงินยังไง ถึงมีเงินส่งให้พ่อแม่ที่บ้าน ซื้อรถ ซื้อบ้าน ซื้อทอง ซื้อนาได้
สวัสดีครับ สำหรับใครที่อยากเก็บเงิน ออมเงิน ให้ได้เยอะ ๆ มาทางนี้ครับ วันนี้ผมมีเทคนิคดีๆ ในการออมเงินมาฝากกัน อาจไม่ใช่วิธีแบบคนไทยนะครับ แต่เป็นวิธีออมเงินแบบคนพม่า คุณเชื่อหรือไม่ว่า คนพม่านั้น เค้ามีวิธีการออมเงินที่เก่งมาก เก่งชนิดที่ว่า สามารถซื้อรถ ซื้อบ้าน ซื้อที่นาได้ แถมยังมีเงินเหลือให้พ่อ-แม่ ที่บ้านอีกด้วย เค้ามีวิธียังไงนะ มาฟังเรื่องราว และวิธีการกันครับ
วันก่อนไปเดินตลาดนัดใกล้บ้าน ระหว่างจอดรถอยู่ มีพม่าขี่มอไซต์บิ๊กไบค์มาจอดข้างๆ คนไทย และวินมอไซต์แถวตลาดต่างคนก็ต่างเห็นแล้วทำหน้าสงสัย บางคนก็ทำหน้าชื่นชม บางคนก็บอกว่าเป็นธรรมดาของคนพม่า เขาหาเงินได้ และก็เก็บเก่งมาก วันนี้จึงอยากหาบทความดีๆ เกี่ยวกับวิธีการออมเงินของชาวพม่า มาฝากคนไทยกันจ้า
คนพม่าที่มาเป็นลูกจ้างในโรงงานเก็บเงินส่งกลับบ้าน ตอนนี้ก็ซื้อบ้าน ซื้อรถ มีที่นาปลูกข้าว
เป็นคำพูดบางส่วนที่เพื่อนเล่าถึงลูกน้องชาวต่างชาติในโรงงานว่าเป็นยังไง พร้อมกับเปรียบเทียบกับเพื่อนคนอื่นที่มาทำงานก่อน แต่ตอนนี้ยังไม่มีทรัพย์สินอะไรเป็นชิ้นเป็นอันเลย มันก็เป็นคำถามที่ค้างใจว่า “ทำไม” จนเราอยากรู้ว่าคนพม่าที่ทำงานอยู่ต่างแดนเขามีแนวคิดเกี่ยวกับการใช้เงินอย่างไร มันรู้สึกน่าสนใจ
แต่ก่อนจะเข้าเรื่องเราอยากให้รู้ความในใจของคนพม่าว่าทำไมถึงเลือกมาทำงานที่ประเทศไทย
นิสัยคนพม่า คือ อดทนเพื่อความฝัน
-อยากเก็บเงินก้อนนึงไว้ซื้อที่ดิน เปิดร้านมินิมาร์ทเล็กๆ ที่เขาบอกว่าอีกหน่อยเปิด AEC พม่าจะเจริญ
(นิยิม่วน แม่บ้านทำความสะอาดชาวพม่า)
-อยากหาเงินเพิ่มขึ้น เอาไว้ลงทุนทำธุรกิจ เพราะตอนนี้ที่พม่าใครมีทุนเยอะก็มีโอกาสมากกว่า
(เย เมียว ซอ คนงานก่อสร้าง)
-มาทำงานที่ไทย เพราะรายได้ดีกว่าพม่า หาเงินส่งลูกเรียนมหาวิทยาลัยเมาะลำไยน์ เรียนด้านเภสัช
(โส่ย ลูกจ้างร้านเช่าแผ่นซีดี)
-มาทำงานใช้หนี้ให้พ่อแม่ หนี้เยอะมาก อยู่พม่าหาเงินได้น้อย งานไม่มีทุกวัน”
(เปีย เปียง โซ คนงานก่อสร้าง)
ทุกคนไม่ว่าจะเป็นคนไทย หรือพม่า ต่างก็อยากมีชีวิตที่ดีขึ้น
แต่ว่าส่วนใหญ่ที่แตกต่างกันก็คือ เรื่องของเป้าหมายและความฝันที่ชัดเจน เพราะมันคือจุดเริ่มต้น จึงต้องยอมละที่เกิดเมืองนอนมาหาหนทางที่จะทำให้ความฝันนั้นสำเร็จด้วยการออกมาหางานทำในเมืองไทย อดทน ลำ บ า ก ทำงานหนัก แค่ไหนก็ยอม เพราะทิ้งเป้าหมายไม่ได้
อย่าพึ่งมองว่าเขามาแย่งงานเรา แต่ให้มองว่าถ้าไม่มีเขา เราจะลำบากเห็นได้ชัดเจนมากตอนที่แรงงานเพื่อนบ้านกลับประเทศ ทำให้เจ้าของสวนผลไม้ของไทยเดือดร้อนมากเพราะไม่คนงานเก็บผลไม้
คนพม่าไม่ค่อยใช้เงินซื้อความสุขเล็กๆ
ความสุขเล็กๆ เป็นสิ่งที่คนไทยนิยมมาก เช่น ดูหนัง ซื้อเสื้อผ้า ช็อปปิ้ง ซื้อมือถือ ไปท่องเที่ยว อัปเดทชีวิตสวยหรู สิ่งเหล่านั้นเป็นของที่ทำให้เรามีความสุขจริง แต่ไม่ใช่สิ่งถาวร ไม่นานเราก็ต้องโหยหามันอีก และ ก็ทำงานเก็บเงิน เพื่อนเข้าไปวนรูปอยู่ในจุดเดิม แต่ขอบอกว่า ไม่ผิดหรอก ต่างคนต่างกัน ความสุขต่างกัน แต่แค่จะทำให้เงินเก็บเราน้อยลงเท่านั้นเอง
แต่สำหรับคนพม่าแล้ว วิธีอวดรวยของเขา อาจไม่ใช่ การเที่ยวหรู เที่ยวบ่อย กินของแพง ใช้ของดี หากแต่เป็นการมีบ้าน มีรถ มีธุรกิจเล็กใหญ่เป็นของตนเอง สิ่งเหล่านี้ต่างหาก คือสิ่งอวดรวยของคนพม่า ฉะนั้นจะสังเหตุเห็นว่า คนพม่าไม่มีของฟุ้มเฟือยเท่าไหร่ ไม่เที่ยวเท่าไหร่ เน้นหาเงิน อดทน ทำงานหนัก เพื่อนซื้อแต่ของที่มีมูลค่า
ช่าวพม่า มีแนวคิดในการเก็บเงินอย่างไร
เก็บเงินเป็นสิ่งของ เงินไม่หาย เป้าหมายอยู่ครบ การมีเงินเก็บมาก บางครั้งก็ทำให้จิตใจลดเลี้ยว สุรุ่ยสุร่าย สู้เก็บเป็นของใช้ยังดีซะกว่า แต่จะดีที่สุด ถ้าทยอยซื้อในเวลาที่เหมาะสม ของบางชิ้นจึงซื้อเก็บไว้สองปีกว่าจะได้หอบหิ้วกลับพม่า
ความคิดเห็นส่วนตัว การเห็นเงินมากๆก็อาจจะทำให้เราเผลอใช้จ่ายง่ายๆ เจออะไรก็อยากได้ไปหมด จนกระทั่งเงินหมดแล้วไม่ได้อะไรเป็นชิ้นเป็นอันกลับมา ซึ่งการเก็บเงินในรูปแบบสิ่งของที่ได้ใช้ประโยชน์และจับต้องได้ (แต่ไม่ใช่การเก็บไว้ที่เสื้อผ้า กระเป๋า รองเท้าหรืออุปกรณ์แต่งรถทั้งหมดเลยนะจ๊ะ)
แนวคิดนี้นำมาปรับใช้ได้ คือ เราไม่ควรมีเงินสดในมือมากเกินไป ควรเก็บเงินเป็นเงินสดไว้บางส่วนและที่เหลือก็เก็บในรูปแบบอื่นที่มีสภาพใกล้เคียงเงินสดและความเสี่ยงต่ำ เช่น ฝากออมทรัพย์ดอกเบี้ยสูง กองทุนรวมตลาดเงิน เมื่อเงินสดในมือของเราน้อยลง เราก็จะใช้จ่ายน้อยลงเช่นกัน
วิธีส่งเงินจากไทยไปพม่าเพราะ “เงินมีขา”
แนวคิดการเก็บเงิน การส่งเงินด้วยวิธี “โพยก๊วน” หรือ นายหน้าส่งเงิน ยังเป็นวิธีที่ได้รับความนิยม เพราะส่งทั่วถึง พ่อแม่ที่แก่เฒ่าไม่ต้องเดินทางไปธนาคารเอง ในยุค 3G โพยก๊วนกลับมีประสิทธิภาพในการส่งเงินข้ามประเทศมากกว่า e-banking อย่างน้อยก็ในพม่า
ความคิดเห็นส่วนตัว จากที่เราสอบถามเจ้าหน้าที่ว่าเคยฝากส่งไปแล้วเงินไม่ถึงมือญาติบ้างไหม เขาบอกว่าก็มีหลายครั้งที่ถูก โ ก ง จากนายหน้าส่งเงิน วิธีแก้ก็คือต้องใช้คนส่งหน้าเดิมๆจะได้ไม่ถูก โ ก ง หากมีนักลงทุนที่กำลังคิดจะสร้างระบบโอนเงินข้ามประเทศจากไทยไปพม่าน่าจะใช้ข้อมูลนี้สร้างโอกาสทางธุรกิจได้
นอกจากวิธีการส่งเงินกลับประเทศแล้วอีกเรื่องที่น่าสนใจ คือ ความกตัญญูและความรับผิดชอบ ด้วยการส่งเงินกลับไปให้ครอบครัวที่อาศัยอยู่ในพม่าเพื่อจะได้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น เช่น คนพม่าคนหนึ่งมาทำงานก่อสร้างในไทย ส่งเงินกลับไปให้ทางบ้านซื้อรถบรรทุกขนส่งข้าว นอกจากใช้งานเองแล้วยังรับจ้างคนในหมู่บ้านด้วย ซึ่งแตกต่างกับหลายๆคนที่ทำงานมาหลายปีก็ยังขอเงินพ่อแม่ใช้เกือบทุกเดือน เฮ้อ คิดแล้ว เศร้าใจ
สะสมความมั่งคั่งด้วย “ทองคำ”
แนวคิดการเก็บเงิน เมื่อใกล้จะกลับไปเยี่ยมบ้านเกิด ชาวพม่าจะซื้อทองคำสะสมไว้ เพราะเก็บรักษาง่ายในช่วงลัดเลาะข้ามชายแดน ทองคำยังเป็นสัญลักษณ์ของความสำเร็จในการทำงานต่างถิ่น และคงมูลค่ามากกว่าธนบัตร แถมทำบุญด้วยการบริจาคทองยังได้อานิสงฆ์มากกว่าอีกด้วย
ทองไทยไม่ได้ไปพม่าคราวเสียกรุงศรี แต่จะไปใน พ.ศ.นี้แหละ เพราะทองคำแบรนด์ไทยมีเปอร์เซ็นต์ทองสูงกว่า ชาวพม่าจึงนิยมซื้อกลับบ้าน ร้านทองบางแห่งก็ติดประกาศเป็นภาษาพม่าแล้วนะ
ความคิดเห็นส่วนตัว “ทองคำ” เป็นวิธีการสะสมความมั่งคั่งรูปแบบหนึ่ง พกพาสะดวกแล้วยังสามารถเปลี่ยนเป็นเงินสดได้เร็วในภาวะคับขัน
จากวิธีการใช้เงินต่างๆเหล่านี้จะเห็นได้ว่าเขามีการแบ่งเงินเป็นส่วนๆ เช่น เงินที่ส่งกลับบ้าน เก็บเงินในรูปแบบสิ่งของและเก็บเงินเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มได้ในอนาคต หากเราจะนำมาประยุกต์ใช้ก็อาจจะเป็นการแบ่งเงินตามเป้าหมายระยะสั้น กลาง ยาวโดยสะสมเงินในผลิตภัณฑ์ทางการเงินรูปแบบต่างๆ