การุณยฆาต (Euthanasia หรือ Mercy Killing) ควรเป็นสิทธิหรือไม่?
การุณยฆาต (Euthanasia หรือ Mercy Killing) ควรเป็นสิทธิหรือไม่?
7 มีนาคม 2019
การฆ่าด้วยความเมตตาเป็นการสิ้นสุดชีวิตโดยเจตนาของบุคคล ที่กำลังทุกข์ทรมานจากความเจ็บป่วยหรือเจ็บปวด คำนี้เรียกอีกอย่างว่าสิทธิที่จะตาย “right to die”
การุณยฆาตแบ่งออกเป็นหลายประเภท คือ โดยสมัครใจ (voluntary), โดยไม่สมัครใจ (non-voluntary) และโดยขัดกับความประสงค์ (involuntary)
นับแต่ ค.ศ. 2006 การุณยฆาตเป็นหัวเรื่องทางชีวจริยธรรมที่ได้รับการวิจัยถี่ที่สุดและในบางประเทศการุณยฆาตก่อให้เกิดการโต้แย้งสาธารณะอย่างแบ่งฝักฝ่ายในประเด็นทางศีลธรรม จริยธรรม และกฎหมาย หลาย ๆ ประเทศอนุญาตให้กระทำการุณยฆาตเชิงรับ (passive euthanasia) เช่น ตัดการรักษา ได้ในบางพฤติการณ์ ส่วนการุณยฆาตเชิงรุก (active euthanasia) เช่น เร่งความตาย เป็นการกระทำที่ถูกกฎหมายหรือยอมรับให้ถูกกฎหมายในไม่กี่ประเทศ ในจำนวนนี้ได้แก่ เบลเยียม แคนาดา และสวิตเซอร์แลนด์ ซึ่งกำหนดเงื่อนไขโดยเจาะจงและกำหนดให้ต้องได้รับอนุญาตจากผู้เชี่ยวชาญ นอกจากนี้ ในบางประเทศ เช่น ไนจีเรีย ซาอุดีอารเบีย และปากีสถาน แทบไม่มีผู้สนับสนุนการุณยฆาตเชิงรุก
อ้างอิงจาก: https://youtu.be/VRL29SXbOek
https://youtu.be/txmLhEeK8C4
https://youtu.be/sUhvpxYtMfc