ข่าวปลอม ‼️ ส่งข้อความทักทายเป็นรูปหรือภาพเคลื่อนไหว ทำให้ถูกล้วงข้อมูลส่วนตัวได้
ข่าวปลอม ‼️
ส่งข้อความทักทายเป็นรูปหรือภาพเคลื่อนไหว ทำให้ถูกล้วงข้อมูลส่วนตัวได้
จากที่มีบทความในสื่อต่างๆ เกี่ยวกับประเด็นเรื่อง " ส่งข้อความทักทายเป็นรูปภาพหรือรูปภาพเคลื่อนไหว ทำให้ถูกล้วงข้อมูลส่วนตัวได้ "
ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริง ไปยังสำนักงานปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม พบว่าประเด็นดังกล่าวนั้นเป็น " ข้อมูลเท็จ " ‼️ค่ะ
หลังจากที่ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ไดรับการร้องขอให้ตรวจสอบข้อความที่ระบุว่า " มีนักเจาะข้อมูล (hackers) ได้ออกแบบรูปภาพ และภาพเคลื่อนไหว เพื่อซ่อนรหัสเจาะข้อมูลไว้ในภาพรูปภาพดังกล่าว ซึ่งเมื่อนำภาพเหล่านั้นไปใช้ หรือส่งต่อในแอปพลิเคชันไลน์ทำให้ขโมยข้อมูลส่วนตัวจากอุปกรณ์ของคุณได้นั้น"
ทางสำนักงานปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ได้ตรวจสอบ และให้การชี้แจงว่า " ปัจจุบันยังไม่พบรายงานการเจาะระบบ หรือการเข้าถึงข้อมูลโดยมิชอบจากการส่งภาพหรือภาพเคลื่อนไหวผ่านทางแอปพลิเคชันไลน์แต่อย่างใด "
ในทางทฤษฎีหาก LINE มีช่องโหว่การฝังสคริปต์ในภาพอาจนำไปสู่การเจาะระบบได้
LINE ป้องกันปัญหากรณีของการส่งภาพต่างๆ ผ่านโปรแกรม LINE โดยระบบของ LINE แปลงภาพนั้นเป็นไฟล์ภาพที่เป็นลักษณะเฉพาะของ LINE (Line version of image)
ดังนั้น หากมีรหัสที่แฝงอยู่ ก็จะได้ถูกปรับไฟล์ใหม่ให้เป็นเพียงภาพเท่านั้น และภาพที่ส่งจะได้จากการดึงจากเซิร์ฟเวอร์ของ LINE ไปยังผู้ใช้คนอื่น จึงไม่มีทางที่จะมีการเชื่อมต่อบุคคลที่ 3 ระหว่างแต่ละฝ่าย หรือจากผู้ส่งไปผู้รับโดยตรงค่ะ
เพราะฉะนั้นเพื่อนๆ อย่าหลงเชื่อข้อมูลดังกล่าว และขอความร่วมมือไอย่าส่ง หรือแชร์ข้อมูลดังกล่าวต่อในช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ต่างๆ
และหากเพื่อนๆ ต้องหารได้รับข้อมุลข่าวสารจากกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เพื่อนไ สามารถติดตามได้ที่เว็บไซต์ www.mdes.go.th หรือโทร. 02 1416747 ค่ะ
สรุปคือ ในปัจจุบันยังไม่พบรายงานการเจาะระบบ หรือการเข้าถึงข้อมูลโดยมิชอบจากการส่งภาพหรือภาพเคลื่อนไหวผ่านทางแอปพลิเคชั่น LINE แต่อย่างใด
หน่วยงานที่ตรวจสอบ : สำนักงานปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
อ้างอิงจาก: https://www.antifakenewscenter.com/ข่าวปลอม-อย่าแชร์-ส่งข้อความทักทายเป็นรูปหรือภาพเคลื่อนไหว-ทำให้ถูกล้วงข้อมูลส่วนตัวได้/
www.mdes.go.th