ปี 2021 คือปีแห่งการสำรวจอวกาศ
เรามาเริ่มกันที่ โครงการอาร์ทีมิส (Artemis) กับการส่งนักบินอวกาศไปสู่ดวงจันทร์ภายในปี 2567 ซึ่งเป็นความร่วมมือระดับนานาชาตินำโดยองค์การนาซา เตรียมทำภารกิจแรก-อาร์ทีมิส 1 (Artemis 1) ด้วยการส่งยานอวกาศโอไรอันขึ้นสู่อวกาศด้วยจรวด Nasa Space Launch System ภารกิจอาร์ทีมิส 1 มีกำหนดปฏิบัติการช่วงปลายปี 2564 นี้
ไปกันต่ออีกภารกิจที่ตอนนี้มีหลายชาติให้ความสนใจพากันปักหมุดจุดหมายปลายทางก็คือ ดาวอังคาร ซึ่ง ยานอวกาศโฮป ของสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์มีกำหนดจะมาถึงวงโคจรของดาวอังคารในวันที่ 9 ก.พ. โดยจะใช้เวลา 2 ปีโคจรรอบดาว เพื่อติดตามเก็บข้อมูลสภาพอากาศบนดาวและบรรยากาศที่หายไปของดาวเคราะห์สีแดงครับ
ต่อด้วย ยานอวกาศเทียนเหวิน–1 (Tianwen–1) ขององค์การบริหารอวกาศแห่งชาติจีน ก็จะเข้าสู่วงโคจรของดาวอังคารและอยู่บนนั้นเป็นเวลาหลายเดือนก่อนที่จะส่งหุ่นยนต์โรเวอร์ลงไปสำรวจ หากประสบความสำเร็จจีนจะกลายเป็นชาติที่ 3 ที่ส่งยานสำรวจลงจอดบนดาวอังคาร ภารกิจนี้มีหลายวัตถุประสงค์ ไม่ว่าจะเป็นการทำแผนที่องค์ประกอบแร่ของพื้นผิวดาว หรือค้นหาแหล่งน้ำใต้ผิวดินด้วย
Tianwen–1
ต่อด้วย ยานหุ่นยนต์โรเวอร์เพอร์เซเวียแรนซ์ (Perseverance) ของนาซา ที่เดินทางตามจีนไปติดๆก็จะลงจอดที่แอ่งเยเซโร (Jezero Crater) วันที่ 18 ก.พ. เพื่อค้นหาร่องรอยสิ่งมีชีวิตโบราณและเก็บตัวอย่างผิวดาวกลับมา
Perseverance
และภายในเดือน มี.ค.นี้องค์การวิจัยอวกาศแห่งอินเดียก็เตรียมเปิดแผนภารกิจ ยานจันทรยาน–3 (Chandrayaan–3) เพื่อส่งยานหุ่นยนต์โรเวอร์ลงจอดในแอ่งแอตเคน (Aitken) ที่ขั้วใต้ของดวงจันทร์ เนื่องจากเชื่อกันว่ามีน้ำแช่แข็งกักเก็บไว้ใต้พื้นผิวจำนวนมาก ซึ่งน้ำแช่แข็งเหล่านี้จะเป็นสิ่งสำคัญต่อการอยู่อาศัยบนดวงจันทร์ที่ยั่งยืนในอนาคตได้
Chandrayaan–3
และจบลงด้วยสิ่งเรารอคอยนานเกือบ 14 ปีก็คือ กล้อง โทรทรรศน์อวกาศเจมส์ เวบบ์ (James Webb Space Telescope) มูลค่าถึง 10,000 ล้านดอลลาร์ฯ หรือราว 3 แสนล้านบาท มีภารกิจหลักคือการมองไปยังพื้นที่ห่างไกลถึงสุดขอบจักรวาล อาจบอกได้ว่าดาวฤกษ์ กาแล็กซี ระบบดาวเคราะห์ก่อตัวขึ้นได้อย่างไร และนั่นอาจบอกถึงจุดกำเนิดของสิ่งมีชีวิตด้วยเช่นกัน ซึ่งกล้องโทรทรรศน์อวกาศเจมส์ เวบบ์จะถูกปล่อยขึ้นโดยจรวดอารียาน 5 ในวันที่ 31 ต.ค.ปีนี้ครับ
James Webb Space Telescope