เทรนด์การแต่งงานยุคใหม่ของจีน 'ไร้ของหมั้น-มีลูกได้ 2 คน แยกใช้นามสกุลพ่อ 1 แม่ 1’
เขาว่ามีลูกหนึ่งคนจะจนลงไป 10 ปี และงานแต่งงานสมัยนี้ก็ใช้เงินทองมากเหลือเกิน จะดีกว่าไหม? ถ้าเอาเงินส่วนนี้เก็บไว้เพื่อที่จะเลี้ยงลูกอีกคนแทนที่จะละลายไปกับงานแต่งงาน รวมถึง "รูปแบบการแต่งงานสมัยใหม่" ที่สมาชิกทั้งสองยังคงใช้ชีวิตอยู่กับพ่อแม่ และพวกเขามีลูก 2 คน คนหนึ่งใช้ชื่อสกุลของมารดาและอีกคนหนึ่งใช้นามสกุลบิดาเกิดขึ้นในจีนตะวันออกในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ยังมีข้อถกเถียงเกี่ยวกับการแต่งงานรูปแบบใหม่ตามมา
การแต่งงานแบบใหม่ไม่ขอให้ทั้งครอบครัวจ่ายเงินเป็นของขวัญหมั้น ละทิ้งประเพณีสมัยเก่าในการแต่งงานแบบจีนดั้งเดิม นอกจากนี้ยังระบุด้วยว่าทั้งคู่ในการแต่งงานดังกล่าวสามารถมีลูกได้สองคนโดยคนหนึ่งมีนามสกุลของแม่อีกคนเป็นพ่อ โดยปกติทรัพย์สินของครอบครัวจะได้รับการสืบทอดโดยบุตรที่ยึดชื่อสกุล
ไชน่า วูเมนส์ นิวส์ (China Women's News) รายงานอ้างอิงคำพูดของ ตู้เผง ทนายความท้องถิ่น ว่าการแต่งงานแบบใหม่นี้ได้รับความนิยมอย่างกว้างขวางในเขตชนบทของมณฑลเจียงซูและมณฑลเจ้อเจียง ซึ่งสร้างความพึงพอใจแก่หลายครอบครัวและทำให้การแต่งงานซึ่งเป็นธรรมเนียมปฏิบัติของสังคม ไม่ก่อให้เกิดภาระทางการเงินที่หนักหนาเกินไปสำหรับแต่ละฝ่าย
การเกิดขึ้นของการแต่งงานรูปแบบใหม่นี้มีสาเหตุหลักมาจากรูปแบบการใช้ชีวิตและการทำงานที่ทันสมัยและเร่งรีบมากขึ้น ทำให้ไม่สามารถดูแลตัวเองและคนรอบข้างได้ดีเท่าที่ควร กอปรกับการขาดแคลนพี่เลี้ยงเด็ก ซึ่งส่งผลให้คู่สามีและภรรยาต้องขอความช่วยเหลือจากพ่อและแม่ในการเลี้ยงดูอบรมสั่งสอนลูกตัวเอง
ชาวเน็ตบางส่วนสนับสนุนการแต่งงานรูปแบบใหม่นี้ โดยระบุว่าเป็นทางเลือกที่สมบูรณ์แบบสำหรับครอบครัวที่มีลูกคนเดียวและกำลังเผชิญกับปัญหาที่เกิดขึ้นจากสังคมสูงอายุ
ขณะที่ชาวเน็ตบางส่วนแสดงความกังวลถึงสารพัดปัญหาที่เป็นผลมาจากการแต่งงานแบบนี้ อาทิ ความกดดันในการมีบุตร โดยเฉพาะผู้หญิงที่ต้องแบกรับภาระในการอุ้มท้องและคลอดบุตร ซึ่งมักถูกมองข้ามจากสังคม และความแตกต่างไม่ลงรอยกันที่อาจเกิดขึ้นได้ระหว่าง 2 ครอบครัว
ชายคนหนึ่งนามสกุล Xu จากเมือง Huzhou มณฑลเจ้อเจียงซึ่งเป็นสามีในการแต่งงานที่ กล้าหาญจะกล่าวบอกกับ Global Times ว่าเมื่อวันจันทร์เขาและภรรยาของเขาซึ่งแต่งงานกันมา 7 ปีกำลังฟ้องหย่า “เธอสนใจแต่เด็กที่มีนามสกุลซึ่งไม่ยุติธรรมสำหรับลูกของผม” เขากล่าว
อย่างไรก็ตามครอบครัวของภรรยาเปิดเผยว่า Xu ให้รู้ว่า เขาไม่มีภาระในการเลี้ยงดูทั้งครอบครัวจึงไม่เคยทำงานหนักเพื่อเลี้ยงดูพวกลูกๆ มาตั้งแต่แรกเริ่ม ในขณะที่ทิ้งลูกไว้ให้พ่อแม่หรือภรรยาของเขาดูแล
แม้ว่าจะเจอกับเสียงทัดทานและต่อต้าน แต่ หลัวรุ่ยเสวี่ย ผู้เชี่ยวชาญด้านสิทธิสตรีและความเท่าเทียมทางเพศ เชื่อว่าการแต่งงานรูปแบบใหม่นี้ยังมีด้านดีเกี่ยวกับความก้าวหน้าทางสังคมอยู่ ซึ่งเป็นความทันสมัยที่หลุดพ้นจากธรรมเนียมการแต่งงานแบบดั้งเดิมที่มองว่าผู้ชายเป็นกระดูกสันหลังของครอบครัว