สัมมนาเรื่อง Health, Economics & Justice in the time of COVID-19: a focus on LGBTQ+ people ที่คนไทยควรรู้ถึงแนวการป้องกัน
สัมมนาเรื่อง Health, Economics & Justice in the time of COVID-19: a focus on LGBTQ+ people
เมื่อวานเป็นงานพูดในเวทีสัมมนาครั้งแรกหลังจากกลับมาอยู่ประเทศไทย ประเด็นอาจจะตกหล่นไปบ้าง และหลายคนอาจจะมองว่าเราพูดแต่เรื่องเดิมๆที่คนอื่นพูดกัน ขออธิบายแบบนี้ค่ะ
1) เราพูดเรื่องเดิม เพราะเรื่องเดิมไม่เคยถูกแก้ไข ขอยกตัวอย่างเช่น การทำงานผลักดันเชิงนโยบายเรื่องการรับรองอัตลักษณ์ทางเพศของคนข้ามเพศในประเทศไทย เราพูดกันซ้ำไปซ้ำมามากกว่า 10 ปี จำได้ว่าเคยยืนเสนอในเวทีเวทีหนึ่งเกี่ยวกับร่างพรบ.นี้ ที่นับเป็นเวทีแรกๆของเมืองไทย ว่า "กะเทยหลายคนยังคงต้องใช้อวัยวะเพศชายในการทำงาน การบังคับให้เป็นแปลงเพศ เพื่อได้รับสิทธิการเปลี่ยนคำนำหน้านามเป็นการละเมิดสิทธิฯ" เรื่องเก่าเอามาเล่าใหม่ ก็ยังเล่าต่อไป ... แต่เปลี่ยนวิธีการเล่า การกำหนดความเป็นเพศควรหลุดจากกล่องเพศแบบสองเพศ (ทวิเพศ) ได้แล้ว
2) อีกเรื่องที่พูดแล้วพูดอีก คือ งานกะเทยก็ต้องให้กะเทยพูด อันนี้พูดบ่อยมาก คนไม่เข้าใจ เพราะ "When you were born with privileges, you may not aware nor you understand the prejudice and discrimination experienced by marginalized groups." การปรากฎตัวของกะเทยตามเวทีต่างๆ คือการทำงานเพื่อการเปลี่ยนแปลงโดยตัวของมันเอง การใช้อัตลักษณ์ทางเพศ และเล่าประสบการณ์ของตัวเอง คือการเมืองในเรื่องเพศที่ต้องทำ เพื่อหาที่ยืน และพาเพื่อนพี่น้องคนอื่นมายืนร่วมกัน
3) ขอย้ำค่ะว่า เราไม่เคยเรียกตัวเองว่าเป็นผู้ทรงคุณวุฒ หรือนักวิชาการ เราเป็นนักกิจกรรมที่แค่อยากเห็นประเทศไทยเป็นประเทศที่น่าอยู่ และเคารพสิทธิของคนทุกคน เมื่อวานดีใจมากที่พี่ๆหลายคนพูดว่า LGBTIQ ก็คือมนุษย์ และมนุษย์ทุกคนไม่ควรถูกละเมิดสิทธิฯ ไม่ว่าเค้าจะนิยามตัวตนทางเพศอย่างไร เอาจริงๆนะ แบบไม่โลกสวย "เราก็แค่อยากอยู่ในสังคมนี้แบบสงบ ที่เราทำงานนี้เพื่อตัวเองก่อน" พอเราเข้มแข็ง จะได้ช่วยคนรอบข้าง คนรอบข้างไปช่วยคนอื่น หลายๆคนเข้าก็เป็นชุมชน ... แนวคิดแบบนี้แหละที่เราใช้ในการทำงาน
ขอบคุณโอกาสในครั้งนี้มากค่ะ และคงเจอกันบ่อยขึ้น #สวัสดี #ประเทศไทย #แม่กลับมาแล้ว