ดวงจันทร์ไททัน หนึ่งในการสำรวจดวงดาวเอื้ออาศัย
ดวงจันทร์ไททัน หนึ่งในดาวบริวารของดาวเสาร์ จัดว่าเป็นดวงจันทร์ที่ใหญ่เป็นอันดับ 2 ในระบบสุริยะของเรา มีก๊าซมีเทนหนาทึบปกคลุมพื้นผิว ซึ่งอำพรางลักษณะทางธรณีวิทยาที่สำคัญ การสำรวจของยานอวกาศแคสสินี ที่โคจรรอบดาวเสาร์ระหว่างปี 2547-2560 นอกจากจะได้ข้อมูลของดาวเสาร์แล้ว ก็ยังพ่วงข้อมูลของดวงจันทร์บริวารมาด้วย โดยเฉพาะดวงจันทร์ไททัน ความลับของไททันจึงท้าทายการค้นหาของนักวิทยาศาสตร์เป็นอย่างมากครับ ล่าสุด ก็มีการค้นพบโมเลกุลแปลกๆ ในชั้นบรรยากาศของไททัน ผ่านกล้อง Atacama Large Millimeter/ submillimeter Array (ALMA) ตั้งอยู่ในตอนเหนือของประเทศชิลี นักวิทยาศาสตร์จากองค์การนาซา ระบุว่าเป็นโมเลกุลที่ชื่อ cyclopropenylidene มีโครงสร้างคาร์บอน 3 อะตอมและไฮโดรเจน 1 อะตอม (C3H2) ซึ่งไม่เคยมีการตรวจพบโมเลกุลนี้มาก่อน
สันนิษฐานว่านี่อาจเป็นสารตั้งต้นของสารประกอบที่ซับซ้อนกว่า และอาจก่อตัวหรือเป็นอาหารของสิ่งมีชีวิตบนไททันก็เป็นได้ นักวิทยาศาสตร์ด้านดาวเคราะห์จากศูนย์การบินอวกาศก็อดเดิร์ดของนาซา เผยว่าการพบ cyclopropenylidene เป็นเรื่องที่ไม่คาดคิดจริงๆ และยังมืดมนว่าเหตุใดโมเลกุลนี้จึงมีอยู่ในชั้นบรรยากาศของไททันโดยเฉพาะเมื่อมันไม่มีอยู่ในที่อื่นๆ แต่ก็เชื่อว่าโมเลกุลบนไททันจะสามารถไขความลับประวัติศาสตร์โลกได้ เพราะการก่อตัวของไททันคล้ายกับโลกเมื่อเกือบ 4,000 ล้านปีก่อน ดวงจันทร์ไททัน คือ ดาวบริวารที่มีขนาดใหญ่ที่สุดของดาวเสาร์ มีระยะห่างจากดาวเสาร์เป็นลำดับที่ 20 เป็นดาวบริวารดวงเดียวที่เป็นที่ทราบกันว่ามีชั้นบรรยากาศที่หนาแน่น และเป็นวัตถุเพียงชนิดเดียวนอกจากโลกที่มีการค้นพบว่ามีน้ำอยู่บนดาว ไททันมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางใหญ่กว่าดาวบริวารของโลกประมาณ 50 เปอร์เซ็นต์ และมีมวลมากกว่าประมาณ 80 เปอร์เซ็นต์ เป็นดาวบริวารที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 2 ในระบบสุริยะ รองจากดาวบริวารแกนีมีดของดาวพฤหัสบดี และมีขนาดใหญ่กว่าดาวเคราะห์ที่เล็กที่สุดซึ่งคือ ดาวพุธ (ถึงแม้ว่าจะมีมวลน้อยกว่าเพียงครึ่งเดียวก็ตาม)
ผู้คนได้รู้ว่าไททันเป็นดาวบริวารดวงแรกของดาวเสาร์ หลังจากที่ถูกค้นพบเมื่อปี พ.ศ. 2198 โดยคริสตียาน เฮยเคินส์ (Christiaan Huygens) นักดาราศาสตร์ชาวดัตช์
ไททันประกอบด้วยน้ำ น้ำแข็ง และหินเป็นหลัก ด้วยความหนาแน่นของชั้นบรรยากาศของไททัน ทำให้เราไม่มีข้อมูลเกี่ยวกับพื้นผิวของมันมากนัก จนกระทั่งยานอวกาศ "กัสซีนี-เฮยเคินส์" (Cassini–Huygens) ได้เดินทางไปถึงในปี พ.ศ. 2547 รวมถึงการค้นพบทะเลสาบไฮโดรคาร์บอนเหลว “ก๊าซไฮโดรคาร์บอนเหลว คือ โปรเปน, โปรปิลีน, นอร์มัลบิวเทน, ไอโซบิวเทน หรือบิวทีลีน อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือหลายอย่าง ผสมกันเป็นส่วนใหญ่” โดยทั่วไปเรามักเรียก ก๊าซปิโตรเลียมเหลวนี้ว่า ก๊าซ, แก๊ส, แก๊สเหลว หรือแก๊สหุงต้ม ส่วนในวงการค้าและอุตสาหกรรม ชื่อที่เรารู้จักกัน ดีคือ แอล พีแก๊ส นั่นเองครับ
เราพบมันอยู่บริเวณขั้วของดาว โดยดาวเทียม ลักษณะของพื้นผิวนั้น ทางธรณีวิทยาถือว่ายังค่อนข้างใหม่ ถึงแม้ว่าจะประกอบด้วยภูเขาและภูเขาไฟน้ำแข็ง ก็ตาม
ชั้นบรรยากาศของไททันประกอบด้วยไนโตรเจนเป็นส่วนใหญ่ สภาพอากาศจะมีเมฆมีเทนและอีเทน ลมและฝน ซึ่งทำให้เกิดสภาพพื้นผิวที่มีลักษณะคล้ายกับโลกของเรา เช่น ทะเลทราย และแนวชายฝั่ง เราเห็นแผ่นดิน มีลักษณะเป็นเหมือนทวีปเช่นในโลกของเรา