"เล่นว่าว" ทำไมต้องไปสนามหลวง ประเพณีเก่าแก่กรุงรัตนโกสิน
สนามหลวง ลานกีฬาคนรักว่าว
“การเล่นว่าว” นอกจากจะช่วยผ่อนคลายความตึงเครียด จากการเรียนของเด็กๆ และการทำงานของผู้ปกครอง ได้เสริมสร้างกำลังกายให้แข็งแรง หรือลับสมองด้วยกติกาการแข่งขันสนุกๆ แล้ว ยังช่วยสร้างความสัมพันธ์อันดีในครอบครัว ทำให้มีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี มีน้ำใจนักกีฬากับผู้เล่นคนอื่นๆ อีกทั้งยังเป็นการสนับสนุนให้เด็กๆ ได้ใช้เวลาว่างในการทำกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ ไม่หมกมุ่นอยู่ แต่กับการเล่นเกมคอมพิวเตอร์ หรือดูทีวี
ย้อนไป
สมัยรัตนโกสินทร์ การเล่นว่าวยังเป็นที่นิยมกันอยู่มาก โดยในสมัยรัชกาลที่ 4 (พ.ศ.2394-2111) พระองค์ ทรงมีพระบรมราชานุญาต ให้ประชาชนเล่นว่าวได้ที่ท้องสนามหลวง ซึ่งแต่เดิมนั้นผู้ที่เล่นว่าวใกล้พระบรมมหาราชวังมีโทษถึงการตัดมือ เนื่องจากอาจลอยไปทำลายยอดและเครื่องประดับของตัวปราสาทได้ ต่อมาในรัชกาลที่ 5 ในปี พ.ศ. 2449 ได้มีการจัดการแข่งขัน ว่าวจุฬา-ปักเป้า ชิงถ้วยทองคำพระราชทาน ที่พระราชวังดุสิต การแข่งขันนี้มีเป็นประจำทุกปี จนสิ้นรัชสมัยของพระองค์ ต่อมาใน ช่วงปีสุดท้ายในรัชกาลที่ 6 (พ.ศ. 2453-2468) พระองค์ได้ทรง ฟื้นฟูกีฬาว่าวขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง
หลังจากนั้นภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 จึงได้จัดการแข่งขันกีฬาว่าว ระหว่างจุฬา-ปักเป้าประจำปีขึ้นมาอีก แต่ก็มีอันต้องว่างเว้นไปอีก เนื่องจากว่า รัฐบาลไม่ส่งเสริม และว่าวเป็นสิ่งที่สร้างปัญหากับระบบการจ่ายไฟฟ้า เพราะมีว่าวไปติดสายไฟ และเคยมีคนถูกไฟดูดตายก็มีมาก จึงทำให้การเล่นว่าวเสื่อมความนิยมลงไป และคนมีที่มีภูมิปัญญาด้านนี้เริ่มร่อยหรอลง เด็กรุ่นใหม่ที่เล่นและทำว่าวเองเริ่มที่จะไม่มีให้พบเห็น
อ้างอิงจาก: สกุลไทย,ตำนานว่าวไทย 2552