ย้อนรอยรัฐประหาร 2549 ยกเลิกการเลือกตั้ง - รธน. - สภา สั่งห้ามการประท้วงและกิจกรรมทางการเมือง
จากเบิร์ธเดย์ "บิ๊กบัง" พลเอกสนธิ บุญยรัตกลิน อดีต ผบ.ทบ. ผู้ก่อรัฐประหาร 2549 ครบ 74 ปี นิรโทษกรรมคนเห็นต่าง อย่าปฏิวัติ หนักกว่าปี 49
อ่านต่อได้ที่ https://board.postjung.com/1243084
ย้อนเรื่องราวบางส่วน กับ รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2549
1.รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2549 เกิดในคืนวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2549 โดยคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ซึ่งมีพลเอก สนธิ บุญยรัตกลินเป็นหัวหน้าคณะ
2.โค่นรักษาการนายกรัฐมนตรี ดร. ทักษิณ ชินวัตร นับเป็นรัฐประหารในรอบ 15 ปี รัฐประหารครั้งนี้เกิดขึ้นก่อนการเลือกตั้งเป็นการทั่วไปในเดือนต่อมา หลังจากการเลือกตั้งทั่วไปที่มีกำหนดจัดในเดือนเมษายนถูกสั่งให้เป็นโมฆะ
3.เป็นจุดเปลี่ยนสำคัญในวิกฤตการณ์ทางการเมืองที่ดำเนินมานับแต่เดือนกันยายน พ.ศ. 2548 คณะรัฐประหารยกเลิกการเลือกตั้งซึ่งกำหนดจัดในเดือนตุลาคม ยกเลิกรัฐธรรมนูญ สั่งยุบรัฐสภา สั่งห้ามการประท้วงและกิจกรรมทางการเมือง ยับยั้งและตรวจพิจารณาสื่อ ประกาศใช้กฎอัยการศึก และจับกุมสมาชิกคณะรัฐมนตรีหลายคน
4.พลเอก สนธิ บุญยรัตกลิน แถลงสาเหตุเมื่อวันที่ 21 กันยายน และให้คำมั่นว่าจะฟื้นฟูรัฐบาลระบอบประชาธิปไตยภายในหนึ่งปี อย่างไรก็ตาม คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขประกาศว่า หลังจากการเลือกตั้งและการตั้งรัฐบาลประชาธิปไตยแล้ว คณะปฏิรูปการปกครองจะเปลี่ยนไปอยู่ในรูปแบบของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ ซึ่งยังไม่มีการอธิบายบทบาทที่มีต่อการเมืองไทยในอนาคต
5.จัดตั้งรัฐบาลชั่วคราว พระบาทสมเด็จพระชนกาธิเบศรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมานถบพิตร มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้า ฯ ให้แต่งตั้งพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์เป็นนายกรัฐมนตรีในวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2549 ต่อมาวันที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2550 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ประกาศเลิกใช้กฎอัยการศึกใน 41 จังหวัด แต่ยังคงไว้ 35 จังหวัด
6.รัฐประหารดังกล่าวไม่มีการเสียเลือดเนื้อและไม่มีรายงานผู้ได้รับบาดเจ็บ ปฏิกิริยาตอบรับจากนานาชาติมีตั้งแต่การวิพากษ์วิจารณ์ในหลายประเทศ เช่น ออสเตรเลีย การแสดงความความเป็นกลาง เช่น สาธารณรัฐประชาชนจีน ไปจนการแสดงความผิดหวังอย่างสหรัฐอเมริกา ซึ่งถือว่าประเทศไทยเป็นพันธมิตรนอกนาโต และว่า รัฐประหาร "ไม่มีเหตุผลยอมรับได้"
7.การรัฐประหารในครั้งนี้ได้รับการวิพากษ์วิจารณ์อย่างมากเนื่องจากการที่คณะรัฐประหารได้เข้าเฝ้าในคืน วันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2549 โดย ประธานองคมนตรี ผู้บัญชาการทหารบก ผู้บัญชาการทหารเรือ ผู้บัญชาการทหารอากาศ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ เข้าเฝ้า พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในการนี้พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมีพระบรมราชานุญาตให้ถ่ายทอดสดออกโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน
ภายหลังทรงพระราชกระแสรับสั่งกับ พลเอก สนธิ บุญยรัตกลิน ว่าวันหลังอย่าทำอีก โดยมีผู้นำลงยูทูบ ในปี พ.ศ. 2551
อ้างอิงจาก: https://th.wikipedia.org/wiki/รัฐประหารในประเทศไทย_พ.ศ._2549
https://board.postjung.com/1243084