เก็บตก.. ภาพการชุมนุมครั้งใหญ่ เมื่อวันที่ 19 - 20 กันยายน 2563
วันที่ 9 กันยายน แนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุมได้แถลงรายละเอียดหน้าตึกโดม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ เกี่ยวกับการชุมนุมใหญ่ในวันที่ 19 กันยายน ซึ่งเป็นวันครบรอบ 14 ปี ของการรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2549 ซึ่งจะเป็นการชุมนุมปักหลักค้างคืน และจะมีการเดินขบวนไปยื่นข้อเรียกร้องแก่พลเอกประยุทธ์ที่ทำเนียบรัฐบาลในวันรุ่งขึ้น โดยเบื้องต้นจะใช้พื้นที่ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ เป็นสถานที่จัดการชุมนุม และหากจำนวนประชาชนที่มามีจำนวนมากขึ้น จะมีการจัดการชุมนุมเพิ่มที่ท้องสนามหลวงอีกจุดหนึ่ง
การปักหลักชุมนุมที่ท้องสนามหลวงในเย็นวันที่ 19 กันยายน 2563
ก่อนหน้าชุมนุมที่มีการนัดหมายในวันที่ 19 กันยายน 2563 เจ้าหน้าที่มหาวิทยาลัยปิดประตู คณะกรรมาธิการการปกครอง สภาผู้แทนราษฎร แถลงว่ามีอาสาสมัครดตั้งเต้นท์ศูนย์อำนวยการติดตามการชุมนุม วันที่ 19 กันยายน 2563 กลุ่มแนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม จัดการชุมนุมภายใต้ชื่อ “19 กันยา ทวงอำนาจคืนราษฎร” แต่เป็นการชุมนุมใหญ่ครั้งแรกที่เชิญชวนประชาชนให้ปักหลักค้างคืน มีการเจรจาระหว่างผู้ประท้วงกับเจ้าหน้าที่มหาวิทยาลัยจนสามารถเข้าไปในพื้นที่ได้สำเร็จ ในเวลาบ่าย ผู้ชุมนุมย้ายไปปักหลักที่สนามหลวง โดยมีเจ้าหน้าที่กั้นรั้วรอบพื้นที่พระบรมมหาราชวัง ในช่วงเย็น มีประมาณการผู้ร่วมชุมนุมระหว่าง 20,000–100,000 คนแล้วแต่แหล่งข้อมูลฝ่ายตำรวจมีการระดมเจ้าพนักงานกว่า 10,000 นายเข้ามาในพื้นที่
เช้าวันที่ 20 กันยายน มีการทำพิธีฝังหมุดคณะราษฎรหมุดที่ 2 เพื่อรำลึกถึงหมุดคณะราษฎรเดิมที่หายไปในปี 2560ผู้ประท้วงเปลี่ยนแผนจากการเคลื่อนไปทำเนียบรัฐบาลและยื่นข้อเรียกร้องต่อประธานองคมนตรีผ่านผู้บัญชาการตำรวจนครบาลก่อนสลายตัว ไม่มีรายงานเหตุการณ์ความรุนแรง โดยพริษฐ์ ชิวารักษ์ประกาศนัดชุมนุมอีกในวันที่ 14 ตุลาคม หมุดดังกล่าวถูกนำออกจากบริเวณภายใน 24 ชั่วโมง สื่อต่างประเทศบางสำนักระบุว่าการประท้วงครั้งนี้เป็นการประท้วงต่อการครองราชย์ของพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวอย่างเปิดเผย
วันที่ 24 กันยายน ซึ่งเป็นวันลงมติในญัตติแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ มีการชุมนุมเพื่อกดดันสมาชิกวุฒิสภา สุดท้ายรัฐสภามีมติตั้งคณะกรรมาธิการพิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญก่อนรับหลักการ อันเป็นผลให้เลื่อนการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญออกไปอย่างน้อย 1 เดือน ทำให้เกิดทวีต #RepublicofThailand (สาธารณรัฐไทย) ติดอันดับ 1 ในทวิตเตอร์ในคืนนั้น นับเป็นการแสดงออกนิยมสาธารณรัฐแบบหมู่สาธารณะครั้งแรกในประเทศไทย
อ้างอิงจาก: https://th.wikipedia.org/wiki/การชุมนุมของแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ_พ.ศ._2553
https://www.facebook.com/OAIC25/
เพจเกาะกระแส OAIC