หน้าแรก ตรวจหวย เว็บบอร์ด ควิซ Pic Post แชร์ลิ้ง หาเพื่อน Chat หาเพื่อน Line หาเพื่อน Skype Page อัลบั้ม คำคม Glitter เกมถอดรหัสภาพ คำนวณ การเงิน
ติดต่อเว็บไซต์ลงโฆษณาลงข่าวประชาสัมพันธ์แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสมเงื่อนไขการให้บริการ
เว็บบอร์ด บอร์ดต่างๆค้นหาตั้งกระทู้

หมู่พระมหามณเฑียร

เนื้อหาโดย tonporkung

หมู่พระมหามณเฑียร

 

เป็นหมู่พระที่นั่งที่ใช้ที่ประทับและเสด็จออกว่าราชการของพระมหากษัตริย์ โดยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2325 เพื่อทรงใช้เป็นพระราชพิธีมณฑลในพระราชพิธีปราบดาภิเษกและประทับอยู่ตลอดรัชกาล หลังจากนั้นพระมหามณเฑียรได้ใช้เป็นพระราชพิธีมณฑลสำหรับประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษกของพระมหากษัตริย์ สืบเนื่องกันมาทุกรัชกาลในราชวงศ์จักรี หมู่พระมหามณเฑียรเป็นพระที่นั่งขนาดใหญ่หมู่แรกที่สร้างขึ้นในพระบรมมหาราชวัง หันหน้าไปทางทิศเหนือ สร้างเป็นแนวตรง และแนวขวางต่อเนื่องกัน โดยมีมุขแล่นถึงกันโดยตลอด ประกอบด้วย หมู่พระวิมานที่บรรทมและท้องพระโรงสำหรับเสด็จออก มีท้องพระโรงหลัง พระปรัศว์ซ้าย พระปรัศว์ขวา หมู่พระมหามณเฑียรนี้สร้างเป็นแบบสถาปัตยกรรมไทย มีช่อฟ้า ใบระกา หางหงษ์ ตั้งอยู่ต่อเนื่องในเขตพระราชฐานชั้นในและชั้นกลาง เดิมเป็นพระที่นั่งขนาดใหญ่ เชื่อมต่อกัน 3 องค์ ชื่อว่า "พระที่นั่งจักรพรรดิพิมาน" ครั้นต่อมาในรัชสมัยรัชกาลที่ 3 ได้ พระราชทานนามแยกออกเป็นหลัง ๆ คล้องจองกัน คือ พระที่นั่งจักรพรรดิพิมาน พระที่นั่งไพศาลทักษิณ พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัยมไหสูรยพิมาน ปัจจุบัน พระมหามณเฑียรได้ใช้เป็นพระราชพิธีมณฑลสำหรับประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษกและพระราชพิธีสำคัญอื่น ๆ ในพระมหากษัตริย์ทุกรัชกาลในราชวงศ์จักรีสืบเนื่องกันมา #สิ่งก่อสร้างภายในหมู่พระมหามณเฑียร

1. พระที่นั่งจักรพรรดิพิม เป็นพระที่นั่งองค์ประธานของพระที่นั่งในหมู่พระมหามณเฑียร ก่อสร้างในรูปลักษณะของสถาปัตยกรรมไทยองค์พระที่นั่งก่ออิฐถือปูน สร้างเป็น 3 องค์แฝด ภายนอกเป็นระเบียงรายล้อมด้วยเสานางจรัลอยู่ทุกด้าน เป็นพระวิมานที่บรรทมของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก เสด็จประทับอยู่เป็นประจำ

2. พระที่นั่งไพศาลทักษิณ เป็นพระที่นั่งต่อกับท้องพระโรงหน้าพระที่นั่งจักรพรรดิพิมาน ทางทิศเหนือ ทรงใช้เป็นที่ประทับทรงพระสำราญหรือให้ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่เข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท และใช้เป็นพระราชพิธีมณฑลในการประกอบพิธีบรมราชาภิเษกในทุกรัชกาล พระที่นั่งไพศาลทักษิณเป็นที่ประดิษฐานของปูชนียวัตถุสำคัญ 3 อย่าง คือ พระสยามเทวาธิราช พระที่นั่งอัฐทิศอุทุมพรราชอาสน์ และพระที่นั่งภัทรบิฐ

3. พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัยมไหยสูรยพิมานอยู่ติดกับพระที่นั่งไพศาลทักษิณ ทางทิศเหนือ เป็นท้องพระโรงสำหรับเสด็จออกฝ่ายหน้า เช่น เสด็จออกขุนนาง ออกมหาสมาคม ออกทรงบำเพ็ญพระราชกุลต่าง ๆ พระที่นั่งองค์นี้ใช้เป็นพระราชพิธีมณฑลในวันเฉลิมพระชนมพรรษา ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ มีพระราชบัลลังก์ตั้งอยู่ 2 องค์ คือ พระที่นั่งบุษบกมาลามหาจักรพรรดิพิมาน และพระที่นั่งพุดตานกาญจนสิงหาสน์

4. พระที่นั่งเทพสถานพิลาศและพระที่นั่งเทพอาสน์พิไล เดิมคือ เรือนพระปรัศว์ซ้ายและขวาที่ต่อกับท้องพระโรงหลังแห่ง พระที่นั่งจักรพรรดิพิมาน สร้างขึ้นตั้งแต่รัชสมัย พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช พระปรัศว์ขวาอยู่ทางะวันออกของท้องพระโรงและพระปรัศว์ซ้ายอยู่ทางตะวันตกของท้องพระโรง พระที่นั่งทั้ง 2 ใช้เป็นที่ประทับของฝ่ายใน ต่อมา พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานนามพระที่นั่งทั้ง 2 องค์ โดย พระที่นั่งองค์ทิศตะวันออกพระราชทานนามว่า พระที่นั่งเทพยสถานพิลาศ ต่อมาเปลี่ยนเป็น "พระที่นั่งเทพสถานพิลาศ" และพระที่นั่งองค์ทิศตะวันตกพระราชทานนามว่า “พระที่นั่งเทพอาสน์พิไล”

5. พระที่นั่งดุสิตาภิรมย์ เป็นพระที่นั่งที่สร้างขึ้นเพื่อเป็นพลับพลาเปลื้องเครื่องในโอกาสเสด็จพระราชดำเนินขึ้นทรงพระคชาธารหรือทรงพระราชยาน เสด็จพระราชดำเนินโดยกระบวนพยุหยาตรา นอกจากนี้ ยังใช้เป็นพิธีมณฑลในการพระราชพิธีต่าง ๆ ในบางโอกาสด้วย

6. พระที่นั่งราชฤดี เป็นพระที่นั่งทรงไทยแบบพลับพลาตรีมุข เป็นพระที่นั่งโถง ยกพื้นสูง 70 เซนติเมตร ประดับช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์ นาคสะดุ้งปิดทอง หลังคามุงกระเบื้องดินเผาเคลือบสี หน้าบันเป็นไม้จำหลักลายรูปพระนารายณ์ทรงสุบรรณ มีกระหนกก้านขดหัวนาคเป็นลายประกอบบนพื้นกระจกสี มีชานยื่นเลยจากองค์พระที่นั่งสองด้าน ด้านเหนือเป็นที่สำหรับพระมหากษัตริยาธิราชเจ้าเสด็จฯ ออกทรงประกอบพิธีสังเวยเทพยดา ด้านทิศตะวันตกเป็นที่ตั้งแท่นสรงพระมูรธาภิเษกสนาน

7. พระที่นั่งสนามจันทร์ ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของพระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัยมไหยสูรยพิมาน รัชกาลที่ 2 โปรดเกล้าฯ ให้สร้างเป็นที่ประทับสำราญพระอริยาบถ ทรงงานช่างตามที่โปรดปรานเป็นนิจ บางครั้งเป็นที่เสด็จออกขุนนาง แทนการเสด็จออกที่พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัยมไหสูรยพิมาน เป็นสถานที่สำหรับกรมพระราชวังบวรสถานมงคล หรือวังหน้าประทับพักก่อนเข้าเฝ้าฯ ในห้องพระโรง เนื่องจากพระที่นั่งสนามจันทร์ ตั้งอยู่ทางทิศเหนือของหอพระธาตุมณเฑียร อันเป็นที่ประดิษฐานพระโกศพระบรมอัฐิ จึงโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งเครื่องนมัสการ สำหรับถวายบังคมพระบรมอัฐิในการพระราชพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยา ณ พระที่นั่งสนามจันทร์อีกแห่งหนึ่งด้วย

8. หอพระสุราลัยพิมาน ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของพระที่นั่งไพศาลทักษิณ เป็นที่ประดิษฐานปูชนียวัตถุ เช่น พระบรมสารีริกธาตุ พระมหามณีรัตนปฏิมากรแก้วมรกตองค์น้อย พระชัยเนาวโลหะ พระชัยวัฒนประจำรัชกาล และพระพุทธปฏิมากรสำคัญอื่น ๆ

9. หอพระธาตุมณเฑียร ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของพระที่นั่งไพศาลทักษิณ ก่อสร้างและตกแต่งเหมือนกับหอพระสุราลัยพิมานทุกประการ เป็นที่ประดิษฐานพระบรมอัฐิพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 1, 2, 3 ระหว่างหอพระธาตุมณเฑียรกับองค์พระที่นั่งไพศาลทักษิณ มีมุขกระสันต่อเนื่องกัน ผนังด้านเหนือเจาะเป็นช่องพระบัญชรเปิดออกสู่ลานข้างพระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย ด้านทิศตะวันตก เรียกว่า "สีหบัญชร" ใช้เป็นที่พระมหากษัตริย์เสด็จออกให้เข้าเฝ้าเป็นการฉุกเฉินในเวลาวิกาล

10. หอศาสตราคม หรือ หอพระปริตร ตั้งอยู่ในกำแพงแก้วด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือของพระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัยมไหยสูรยพิมาน ตรงข้ามกับพระที่นั่งดุสิตาภิรมย์ รัชกาลที่ 1 โปรดเกล้าฯ ให้สร้างเห็นพระที่นั่งโถง ลักษณะเดียวกับพระที่นั่งดุสิตาภิรมย์ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าให้รื้อพระที่นั่งองค์เดิมแล้วสร้างหอศาสตราคม เพื่อให้พระสงฆ์ฝ่ายรามัญนิกาย ทำพิธีสวดพระพุทธมนต์สัตปริตรคาถาเสกน้ำพระพุทธมนต์ สำหรับสรงพระพักต์ และ น้ำสรง ตลอดทั่งประพรมรอบพระมหามณเฑียร ในอดีตเมื่อมีการศึกสงครามได้ประกอบพิธีปลุกเสกเครื่องรางของขลัง เพื่อมอบเป็นขวัญกำลังใจให้แก่ทหารในการรบ ด้วยเหตุนี้จึงเขียนลายเครื่องอาวุธโบราณไว้ที่บานประตูหน้าต่างทุกบาน

11. เก๋งนารายณ์ ตั้งอยู่ในกำแพงแก้วของพระที่นั่งจักรพรรดิพิมานด้านตะวันตกระหว่างพระที่นั่งจักรพรรดิพิมานและพระที่นั่งไพศาลทักษิณ หลังหอพระธาตุมณเฑียร สันนิษฐานว่า เป็นเก๋งที่พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย โปรดเกล้าฯ ให้สร้างในปลายรัชสมัย สำหรับเป็นที่ทรงงานศิลปกรรม เก๋งนารายณ์มีลักษณะเป็นอาคารโถงขนาดเล็ก ทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้า รูปแบบสถาปัตยกรรมจีน มีฝาสามด้าน ด้านหลังเป็นด้านประธาน มีแท่นก่ออิฐฉาบปูน ภายในประดิษฐานรูปปั้นเจ้าแม่ทับทิม และบริวาร

 

ภาพจาก : หนังสือ “หมู่พระมหามณเฑียร” งานพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 7 รอบ 5 ธันวาคม 2554

เนื้อหาโดย: tonporkung
⚠ แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสม 
tonporkung's profile


โพสท์โดย: tonporkung
เป็นกำลังใจให้เจ้าของกระทู้โดยการ VOTE และ SHARE
10 VOTES (5/5 จาก 2 คน)
VOTED: bigsize59, ชื่อเเละนามสกุล
Hot Topic ที่น่าสนใจอื่นๆ
สาวงาม Miss Grand International 2024 เยี่ยมชมวัดอรุณ นักท่องเที่ยว แห่ขอถ่ายภาพคึกคัก‘กันต์ กันตถาวร’ เคลื่อนไหวแล้ว ชาวเน็ตแห่ถล่มไลก์ หลังเห็นโพสต์นี้เต่าญี่ปุ่น: สัตว์เลี้ยงยอดฮิต และผู้รุกรานสี่ขาคู่รักแต่งงาน 10 ปี พร้อมลูกสามคน ผลตรวจ DNA ทำภรรยาช็อกถึงขั้นจะอ้วก!ดราม่าร้อน! เพจเจ๊ม้อยแฉ “ตั๊ก-เบียร์” จัดฉากเซอร์ไพรส์แม่บ้าน'สีดอโฮป' ช้างที่ถูกขังเดี่ยวให้เผชิญน้ำท่วมลำพัง!คุณย่าแอบตรวจ DNA หลังสังเกตเห็นว่าหลานสาวไม่เหมือนพี่น้อง ฮิซบอลเลาะห์ชักธงขาว ประกาศหนุนข้อตกลงหยุดยิงในเลบานอน7 หนัง ซีรี่ย์ "Netflix" เข้าใหม่ปี 2024 เด็ดทุกเรื่อง! ดูฉ่ำจนลืมเวลาแบบนี้ก็ได้ ! พี่หนุ่ม กรรชัย ถูกขู่ผ่านข้อความขณะอ่านข่าว"ชิน - ลิลลี่" ช็อกไปเกือบ 1 เดือน หลังเจอพฤติกรรมสุดโฉดผู้จัดการส่วนตัวสาวสวยช่วยจับขโมยในร้าน จนได้รับประกาศนียบัตรจากตำรวจ
Hot Topic ที่มีผู้ตอบล่าสุด
‘กันต์ กันตถาวร’ เคลื่อนไหวแล้ว ชาวเน็ตแห่ถล่มไลก์ หลังเห็นโพสต์นี้เอาแล้วๆ เอาแล้ว ผู้เสียหายรวมตัวกันแล้ว ใครเสียหายจากบริษัทดาราดัง ต้องเข้ามาที่นี่ไม่เอา'เวทนามาร์เก็ตติ้ง'!'อี้ แทนคุณ'จี้สอบมูลนิธิช้าง'แสงเดือน'
กระทู้อื่นๆในบอร์ด สาระ เกร็ดน่ารู้
ดราม่ามิสแกรนด์ระอุ นายแบบดัง-ผู้กำกับเขมรฟาดไม่ยั้งใส่ณวัฒน์ ทำไมทำแบบนี้หนุ่มสาวใจเด็ด ฝึกมวยไทย 6 วันต่อสัปดาห์ 6 สัปดาห์ติด แถมผู้หญิงกล้าขึ้นชกกับผู้ชายสาระดีดีหางหนอน คนทรยศหรือคนขี้แพ้
ตั้งกระทู้ใหม่