เบตง อาทิตย์ที่ ๑๒ กรกฏาคม ๒๕๖๓..
นาย เจษฎา สิริโยทัย โพสต์ระบุว่าเบตง เป็นภาษามลายู หมายถึง ไม้ไผ่ ซึ่งมีอยู่มากในท้องถิ่น ต้นไผ่ จึง กลายเป็น สัญลักษณ์ของอำเภอเบตง เดิมเบตงเป็นดินแดนส่วนหนึ่งของหัวเมืองมลายู ซึ่ง อยู่ภายใต้การปกครองของกรุงสุโขทัย ตามที่ปรากฏหลักฐาน ในหลักศิลาจารึก ของพ่อขุนรามคำแหง เมื่อถึงสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลายได้ เกิดศึกครั้งใหญ่ขึ้น ระหว่างไทยกับพม่า จนทำให้ไทยเสียกรุงศรีอยุธยาแก่พม่า ครั้งที่ 2 พ.ศ. 2310 บ้านเมืองจึงเกิดความวุ่นวาย ระส่ำระสาย โจรผู้ร้ายชุกชุมเจ้าเมืองต่าง ๆ คิดแข็ง เมือง และตั้งตนเป็นอิสระ ทำให้หัวเมืองมลายู ซึ่งเป็นประเทศราช ของ กรุงศรีอยุธยาในขณะนั้น มีโอกาสรวมตัวกันแข็งเมือง ขึ้นเป็นรัฐอิสระ สร้างความ เจริญรุ่งเรืองด้านต่าง ๆ ทั้งด้านวัฒนธรรมและเศรษฐกิจ โดยมีศูนย์กลางความ เจริญอยู่ที่เมืองปัตตานี ดังปรากฏหลักฐานร่องรอย และซากปรักหักพังของเมือง เก่าต่าง ๆ แถบลุ่มน้ำปัตตานี
เส้นทาง ที่เลี้ยวลดคดโค้งไปตามเทือกเขาสันกาลาคีรี ซึ่งทอดตัวสลับซับซ้อนจากด่านพรมแดน ตะวันออกมายังฝั่งตะวันตก เป็นเส้นทางจากจังหวัดยะลาเข้าสู่เมืองเบตง อำเภอหนึ่งของจังหวัดยะลา ที่มีระยะทางห่างจากอำเภอเมืองไปทางทิศใต้ประมาณ 140 กิโลเมตร และห่างจากเมืองหลวงพันกว่ากิโลเมตร การเดินทางโดยรถยนต์เป็นเพียงวิธีเดียวในขณะนี้ที่สามารถลดเลี้ยวไปตามเส้นทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 410 ได้
ตลอดเส้นทางจากตัวเมืองยะลาสู่เบตง กลายเป็นเส้นทางแห่งความทรงจำของผู้ที่ได้มาสัมผัสและเล่าขานสู่กันฟังถึงความน่าทึ่งของเมืองเล็กๆ กลางหุบเขาซึ่งยังคงสภาพวิถีชีวิตที่ต้องอาศัยความอุดมสมบรูณ์ ของธรรมชาติ ทั้งรูปแบบของบ้านเรือนที่อยู่อาศัยอาหารการกินประจำท้องถิ่น ประเพณี วัฒนธรรมของแต่ละเชื้อชาติ ซึ่งตั้งถิ่นฐานอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข รวมถึงความมหัศจรรย์ของแหล่งท่องเที่ยวตามธรรมชาติที่ได้รับการพัฒนาให้เป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจของอำเภอเบตง
เบตง อำเภอใต้สุดของประเทศไทย มีอาณาเขตติดต่อกับรัฐเปรัคของประเทศมาเลเซีย แบ่งเขตการปกครองเป็น 5 ตำบล คือ ตำบลอัยเยอร์เวง ตำบลตาเนาะแมเราะ ตำบลยะรม ตำบลธารน้ำทิพย์ และตำบลเบตง มีเทศบาลเมือง 1 แห่ง คือ เทศบาลเบตง ส่วนที่เหลืออีก 4 ตำบล ป็นองค์การบริหารส่วนตำบล
อาชีพ ของชาวเบตงกลมกลืนไปตามสภาพภูมิประเทศที่เป็นป่าไม้และเทือกเขาสูง คือประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพการเกษตร โดยเฉพาะการปลูกยางพาราพืชเศรษฐกิจของเบตง บางพื้นที่มีการทำสวนผลไม้และทำไร่ ส่วนชาวเบตงที่อาศัยอยู่ในตัวเมืองและบริเวณรอบๆ ตัวเมือง ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกี่ยวกับการให้บริการด้านการท่องเที่ยว
ชาวเบตงส่วนใหญ่เป็นคนไทยเชื้อสายมุสลิม ที่สืบเชื้อสายมาจากกลุ่มคนท้องถิ่นซึ่งมีความเกี่ยวดองกับชาวมาเลเซียในรัฐเปรัคและตรังกานู อันเป็นผลมาจากรัฐทั้งสองเคยเป็นพื้นที่เดียวกันกับเบตงในอดีต ส่วนชาวเบตงที่สืบเชื้อสายมาจากชาวจีนแผ่นดินใหญ่ ก่อนเคยเป็นกลุ่มชนที่อพยพเข้ามาสร้างความเจริญให้ดินแดนส่วนนี้ในสมัยสร้างบ้านแปลงเมืองจากป่าดงดิบให้กลายมาเป็นสวนเป็นไร่และเป็นเมืองเบตง ความแตกต่างดังกล่าวกลายมาเป็นการผสมผสานทางวัฒนธรรม และวิถีชีวิตที่อยู่ร่วมกันอย่างสงบสุขเรื่อยมามิได้เป็นอุปสรรคในการอยู่ร่วมกันแต่กลายเป็นการผสมผสานทางวัฒนธรรมและวิถีชีวิตที่อยู่ร่วมกันอย่างสงบสุขเรื่อยมา
เบตงเป็นเมืองใหญ่ มีความเจริญ ทัดเทียมกับจังหวัดยะลาเลยทีเดียว มีอาคารร้านค้า ร้านอาหาร และโรงแรมมากมาย มีถนนเชื่อมสู่เขตสหพันธรัฐ มาเลเซียตรงด่านเบตงซึ่งอยู่ใต้สุดของเขตแดนไทย ตัวเมืองตั้งอยู่ในเขตที่โอบล้อมด้วยทิวเขาสูงอากาศเย็นสบาย สามารถปลูกดอกไม้ได้ทั้งปี "จนได้ชื่อว่าเมืองในหมอก ดอกไม้งาม" มีนกนางแอ่นเป็นสัญญลักษณ์ของเมือง ช่วงเดือนกันยายน-มีนาคม จะมีนกนางแอ่นมาพักอาศัยในเมืองนี้นับหมื่น..