หน้าแรก ตรวจหวย เว็บบอร์ด ควิซ Pic Post แชร์ลิ้ง หาเพื่อน Chat หาเพื่อน Line หาเพื่อน Skype Page อัลบั้ม คำคม Glitter เกมถอดรหัสภาพ คำนวณ การเงิน
ติดต่อเว็บไซต์ลงโฆษณาลงข่าวประชาสัมพันธ์แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสมเงื่อนไขการให้บริการ
เว็บบอร์ด บอร์ดต่างๆค้นหาตั้งกระทู้

การแลกเปลี่ยนสินค้าของชาวอีสานในสมัยก่อน

เนื้อหาโดย tonporkung

การแลกเปลี่ยนสินค้าของชาวอีสานในสมัยก่อน


สมัยอาณาจักรล้านช้าง ชาวล้านช้างที่อาศัยอยู่ทั้ง 2 ฝั่งแม่น้ำโขง ต่างก็มีเชื้อสาย ขนบธรรมเนียม ประเพณี ภาษาและวัฒนธรรมอันเดียวกัน ประชาชนจึงใช้เงินตราแบบเดียวกัน ประกอบด้วยเงินฮ้อย เงินลาดฮ้อยและเงินลาด เรื่อยมา จนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ จึงได้เปลี่ยนมาใช้เงินตราแบบสยาม

คนอีสานสมัยก่อนเมื่อราว 60 ปีก่อนขึ้นไปมีการค้าขายน้อยกว่าคนภาคอื่นมาก แต่ก็มีการแลกเปลี่ยนอยู่บ้าง สาเหตุที่คนอีสานต้องมีการแลกเปลี่ยน

ประการแรก เกิดจากในบางปีเกิดภัยแล้ง สมัยก่อนไม่มีระบบชลประทานเหมือนสมัยปัจจุบันต้องอาศัยน้ำฝนอย่างเดียว ทำให้ข้าวไม่พอกิน ชาวบ้านจึงแก้ปัญหาโดยการเข้าป่าขุดเผือกมัน แม้กระทั่งกลอยเอาต้มกิน บางคนก็กินขุยไผ่คือเมล็ดไผ่ แต่ถ้าของเหล่านี้ไม่พอก็ต้องไปแลกข้าวกับหมู่บ้านที่พอมีข้าวให้แลก ของที่เอาไปแลกก็แล้วแต่มีอะไร เช่น หน่อไม้ ปลาแดก เครื่องจักสาน แย้ กะบอง(ขี้ไต้)

ประการที่สองเกิดจากหลายหมู่บ้านไม่มีดินเค็มจึงผลิตเกลือไม่ได้ บางหมู่บ้านไม่มีช่างปั้นหม้อไม่มีดินเหนียวที่เหมาะกับการทำหม้อไห หลายหมู่บ้านไม่มีช่างตีเหล็ก จึงเกิดการแลกเปลี่ยนระหว่างหมู่บ้านที่มีกับไม่มีสิ่งของที่จำเป็นอัตราการแลกไม่แน่นอน ไม่มีการตีราคาเป็นเงิน แต่บางอย่างก็ทำคล้ายๆกันเช่นหม้อดิน 1 ใบแลกข้าวได้ 1หม้อแล้วแต่หม้อใหญ่เล็กที่แลกกัน
การแลกกันดังกล่าวจึงเป็นการพึ่งพาอาศัยกัน เห็นอกเห็นใจกันในยามตกทุกข์ได้ยาก

ส่วนการค้าขายคือการเอาของไปแลกเงิน
ในอีสานสมัยรัชกาลที่ 5 เกิดจากรัฐเปลี่ยนระบบการเสียส่วยที่เป็นสิ่งของเช่นผลเร่ว(หมากแหน่ง)ชายฉกรรจ์คนละ 12 กก. หรือผ้าขาวคนละ สิบผืน ป่านคนละ 12 กก.
ในปี พ.ศ. 2444 รัฐบาลเปลี่ยนมาให้เสียเป็นเงิน คนละ 4 บาท(เงินสี่บาทสมัยนั้นซื้อวัวได้ 1 ตัว)เรียกว่าเงินรัชชูปการ

ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 6 รัฐบาลได้เพิ่มภาษีการศึกษาหรือศึกษาพลีอีกคนละ 2 บาท รวมรัชชูปการอีก 4 บาทเป็น 6 บาท (เท่ากับควายตัวหนึ่ง)

ผลคือชาวบ้านเดือดร้อนมากเพราะสังคมอีสานสมัยนั้นเป็นสังคมที่พอเพียงพึ่งทรัพยาการในปริมณฑลของหมู่บ้านและแรงงานคนในครอบครัว ถ้าเหลือบ่าฝ่าแรงก็ไหว้วานญาติ เพื่อนบ้านมาช่วยได้เสมอเช่นยกเรือน เกี่ยวข้าว จึงเป็นสังคมที่ไม่ใช้เงินตรา ชาวบ้านก็อยู่ได้ เมื่อรัฐต้องการเงินชาวบ้านจึงต้องหาของไปขายซึ่งลำบากมากเพราะไม่ค่อยมีตลาด

อีสานเมื่อศตวรรษก่อนมีควายมากมาย ใครที่ควายสามสี่ตัวถือว่ายากจน คนที่มีฐานะดีมีควาย 40 ตัว บางคนมีเป็นร้อยตัว ควายจึงเป็นทรัพย์สินที่สำคัญที่คนอีสานสมัยนั้นเอาขายเพื่อเปลี่ยนเป็นเงิน แต่ในอีสานคนมีควายมากแล้วขายไม่ได้ตลาดควายจึงอยู่ที่ภาคกลางและพม่า

ภาคกลางของไทยพื้นที่นาขยายตัวมากขึ้น หลังสนธิสัญญาเบาว์ริ่งไม่นานจึงต้องการควายมาก ตอนล่างของพม่าก็ขยายตัว จึงมีนายฮ้อยกุลาซื้อควายไทยปีละราวสี่หมื่นตัวส่วนมากมาจากอีสาน

การเก็บภาษีเป็นการที่ทำให้เกิดการค้าขายในภาคอีสานและเกิดอาชีพนายฮ้อยด้วย

เนื้อหาโดย: tonporkung
⚠ แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสม 
tonporkung's profile


โพสท์โดย: tonporkung
เป็นกำลังใจให้เจ้าของกระทู้โดยการ VOTE และ SHARE
10 VOTES (5/5 จาก 2 คน)
VOTED: Endymion, tonporkung
Hot Topic ที่น่าสนใจอื่นๆ
"กองปริศนา" ปริศนาของเวทมนตร์ที่อาจอยู่ใกล้ตัวเรากว่าที่คิด"ไข่ผำ" พืชจิ๋ว ที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูงมาก
Hot Topic ที่มีผู้ตอบล่าสุด
"ไข่ผำ" พืชจิ๋ว ที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูงมากคลังฟันธง! "ดิไอคอน" เข้าข่ายฉ้อโกงประชาชน ต้องครบ 3 เงื่อนไข ร่วมวง DSI สรุปสำนวนคดี"กองปริศนา" ปริศนาของเวทมนตร์ที่อาจอยู่ใกล้ตัวเรากว่าที่คิดใครบอกว่า สัตว์น้ำไม่นอน วาฬนอน พิสูจน์ว่าปลาก็นอนเหมือนเรา8 อาชีพยอดนิยมสำหรับปี 2025
กระทู้อื่นๆในบอร์ด นิยาย เรื่องเล่า
พร่างพราวกลางใจสมเด็จพระราชินีนาถรานาวาโลนาที่ 1 ทรราชย์แห่งมาดากัสการ์พระราชินีองค์สุดท้ายแห่งมองโกเลีย ผู้ถูกประหารชีวิตโดยคอมมิวนิสต์ (สมเด็จพระราชินีเกอเนอพิล)🌲ประตูสู่โลกที่ไม่เคยมีใครรู้จัก✨ตอนที่ 3: แสงแห่งจิตวิญญาณ
ตั้งกระทู้ใหม่