หน้าแรก ตรวจหวย เว็บบอร์ด ควิซ Pic Post แชร์ลิ้ง หาเพื่อน Chat หาเพื่อน Line หาเพื่อน Skype Page อัลบั้ม คำคม Glitter เกมถอดรหัสภาพ คำนวณ การเงิน
ติดต่อเว็บไซต์ลงโฆษณาลงข่าวประชาสัมพันธ์แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสมเงื่อนไขการให้บริการ
เว็บบอร์ด บอร์ดต่างๆค้นหาตั้งกระทู้

ประวัติพระธาตุบังพวน หนองคาย

เนื้อหาโดย tonporkung

ภาพพระธาตุบังพวน ที่ จ.หนองคาย องค์เดิมที่ได้ล้มพังทลายลง ในปี พ.ศ.๒๕๑๓ สำหรับองค์ปัจจุบันได้รับการบูรณะฯ ก่อสร้างขึ้นใหม่

#ประวัติพระธาตุบังพวน หนองคาย บางตำนานกล่าวว่า “บังพวน” แผลงมาจากคำว่า “บังคน” (หรือชาวลุ่มน้ำโขงเรียกว่า ‘ขี้โผ่น’) ซึ่งแปลว่ากระเพาะอาหาร ตามความเชื่อที่ว่าพระธาตุนี้บรรจุพระบังคนหนักของพระพุทธองค์ แต่ตำนานอุรังคธาตุได้เล่าถึงประวัติการสร้างพระธาตุองค์นี้ไว้ว่าประดิษฐานพระธาตุหัวเหน่าของพระพุทธเจ้า ตามปรากฏในตำนานอุรังคธาตุ กล่าวว่า พระยาสุวรรณภิงคารเจ้าเมืองหนองหาร สกลนคร พระยาคำแดง เจ้าเมืองหนองหานน้อย อุดรธานี และพระยาจุลณีพรหมทัติ เจ้าเมืองจุลณี (ลาวเหนือ แคว้นสิบสองจุไทย) พระยาอินทปัตถนคร เจ้าเมืองอินทปัตถนคร (เขมร) และพระยานันทเสน เจ้าเมืองศรีโคตรบูรณ์หลวง กษัตริย์ทั้ง ๕ พระองค์ได้ทรงอุปถัมภ์พระมหากัสสปะเถระ พร้อมด้วย พระอรหันต์อีก ๕๐๐ ก่อสร้างพระธาตุพนมจนเสร็จแล้วและได้บรรลุอรหันต์ในเวลาต่อมา กษัตริย์ทั้ง ๕ จึงออกเดินทางไปอินเดีย เพื่ออัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุจำนวน ๔๕ องค์ มาประดิษฐานไว้ในสถานที่ ๔ แห่ง ได้แก่ ๑.อัญเชิญพระธาตุหัวเหน่า จำนวน ๒๙ องค์ มาประดิษฐานไว้ที่พระธาตุบังพวน หรือภูเขาหลวง ๒.อัญเชิญพระธาตุฝ่าพระบาทก้ำขวา จำนวน ๙ องค์ มาประดิษฐานไว้ที่เจดีย์พระธาตุกลางแม่น้ำโขง ณ เมืองหล้าหนองคาย ๓.อัญเชิญพระธาตุเขี้ยวฝาง ๓ องค์ มาประดิษฐานไว้ที่พระธาตุโพนจิกเวียงงัว บ้านปะโค จังหวัดหนองคาย ๔.อัญเชิญพระธาตุเขี้ยวฝาง จำนวน ๔ องค์ มาประดิษฐานไว้ที่เจดีย์พระธาตุหอผ้าหอแพ เมืองเวียงจันทน์ พระธาตุบังพวนองค์เดิมที่ล้มไปในปี พ.ศ. ๒๕๑๓ นั้น เป็นองค์ที่ได้รับการสร้างขึ้นโดยกษัตริย์อาณาจักรล้านช้าง ช่วงปี พ.ศ. ๒๐๗๐-๒๑๖๗ โดยประมาณ คาดว่า น่าจะมีการเริ่มสร้างหรือบูรณะตั้งแต่สมัยพระเจ้าโพธิสาลราช มาถึงสมัยพระเจ้าไชยเชษฐาธิราช ทั้งสองพระองค์มีความเกี่ยวข้องกัน คือ พระเจ้าโพธิสาลราชเป็นพระอัยกาของพระเจ้าไชยเชษฐาธิราช ทั้งสองพระองค์เป็นกษัตริย์ที่ได้ทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา ในดินแดนล้านช้างให้เป็นปึกแผ่นมั่นคงมาก ทั้งนี้ จากหลักฐานการขุดแต่งทางโบราณคดีศึกษา เมื่อครั้งพระธาตุบังพวนล้ม เมื่อวันที่ ๒๐ มิถุนายน ๒๕๑๓ พบว่า องค์พระธาตุมีการก่อสร้าง ๓ สมัย คือ ๑) ฐานเดิมเป็นศิลาแลง ๒) ชั้นที่สองก่ออิฐครอบชั้นแรก ๓) ระยะที่สาม ได้มีการสร้างขยายใหญ่ขึ้น เป็นเจดีย์ทรงปราสาท (องค์ที่ล้มไป) เจดีย์ทรงปราสาทเป็นรูปแบบที่นิยมในสมัยพระไชยเชษฐาธิราช ดังปรากฏจากภาพถ่ายเก่าก่อนการล้มลงของพระธาตุ นอกจากนี้ยังพบพระพุทธรูปบุเงินและบุทอง กับโบราณวัตถุอื่นๆ อีกหลายร้อยชิ้น วัดพระธาตุบังพวน นอกจากมีองค์พระธาตุแล้ว ยังกลุ่มโบราณสถานที่เรียกว่า สัตตมหาสถาน ที่สร้างขึ้นตามคติพุทธศาสนา หมายถึงการจำลองสถานที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธองค์ หลังจากตรัสรู้แล้ว จำนวน ๗ แห่ง คือ โพธิบัลลังก์, อนิมมิสเจดีย์ ,รัตนจงกรมเจดีย์, รัตนฆรเจดีย์,อชาปาลนิโครธเจดีย์,มุจลินทเจดีย์ และราชายตนะเจดีย์ ซึ่งในวัดพระธาตุบังพวนแห่งนี้นับเป็นที่เดียวที่ยังหลงเหลือโบราณสถานอันเป็นสัตตมหาสถานจากอดีตครบทั้ง ๗ สิ่ง และเป็นสถานที่เกี่ยวกับพญานาคก็คือ “สระมุจลินท์” หรือ “สระพญานาค” สระ น้ำโบราณที่มีบันทึกในหนังสือใบลานที่เขียนเป็นภาษามคธ เรียกชื่อว่า “สระมังคละน้ำเที่ยงหมัน” เมื่อครั้งได้อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้าบรรจุไว้ในองค์พระธาตุได้เกิดปรากฏการณ์ประหลาดมีสายน้ำพวยพุ่งออกมาจากพื้นดิน พระมหาเทพหลวงและพระมหาเทพพล พระภิกษุที่ดูแลองค์พระธาตุ ได้สังเกตุเห็นว่ามีสายน้ำพุ่งขึ้นมาตลอดเวลาจากปล่องภูพญานาคที่เฝ้ารักษาพระธาตุบังพวน จึงได้ชักชวนญาติโยมขุดสระรองรับน้ำเอาไว้ และสร้างรูปปั้นพญานาค ๗ เศียรไว้กลางสระแห่งนี้ รูปแบบศิลปะแบบล้านช้าง ในสมัยพระเจ้าวิชลราช กษัตริย์ล้านช้างได้เสด็จมานมัสการพระธาตุ (ช่วงพ.ศ.๒๐๔๓ – ๒๐๖๓) โปรดให้มีการปรับปรุงสระน้ำแห่งนี้และนิมนต์พระคุณเจ้าจัดทำพิธีมหาพุทธาภิเษก สระมุจลินท์ถือเป็นบ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์ และนำน้ำศักดิ์สิทธิแห่งนี้ไปใช้ในพิธีสำคัญในราชสำนักล้านช้างเป็นต้นมา ในสมัยต่อมา สมเด็จพระไชยเชษฐา (พ.ศ.๒๐๙๓-๒๑๑๕) กษัตริย์ล้านช้างได้โปรดเกล้าให้สร้างพระพุทธรูปนาคปรก ๙ เศียร ไว้ในบริเวณใกล้เคียงกันด้วย ซึ่งเห็นได้ว่าในยุคสมัยพุทธกาลก็มีเรื่องที่เกี่ยวข้องกับพญานาค มีให้เห็นได้ในทุกยุคทุกสมัยแม้จะไม่สามารถพิสูจน์ได้ก็ตาม ปัจจุบันสระมุจลินท์แห่งนี้ถือเป็นสระน้ำสำคัญประจำจังหวัดหนองคาย น้ำในสระแห่งนี้ถูกนำไปใช้ในพิธีสรงมูรธราชาภิเษก พิธีถือน้ำพิพัฒน์สัตยา และพิธีศักดิ์สิทธิ์สำคัญๆ ในรัชกาลปัจจุบันเป็นประจำ เชื่อกันว่าการได้ไหว้สักการะพระธาตุอันเป็นสถานที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และพระอริยสงฆ์นั้น จะนำมาซึ่งความสุข ความเจริญมาสู่ผู้ที่เคารพบูชา อีกทั้งอานิสงส์ผลบุญที่ได้จากการกราบไหว้บูชา และสร้างกุศลกับพระธาตุนั้น เชื่อว่าส่งผลแรงยิ่งนัก หากผู้ใดปฏิบัติบูชาด้วยจิตใจอันบริสุทธิ์ และหมั่นกราบไหว้บูชาตามกำลังความสามารถทุกครั้ง อานุภาพความศักดิ์สิทธิ์ของพระธาตุ จะดลบันดาลให้เกิดสิริมงคลในชีวิตแก่ตัวผู้บูชา

เนื้อหาโดย: tonporkung
⚠ แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสม 
tonporkung's profile


โพสท์โดย: tonporkung
เป็นกำลังใจให้เจ้าของกระทู้โดยการ VOTE และ SHARE
18 VOTES (4.5/5 จาก 4 คน)
VOTED: Viri chaiwat, อ้ายเติ่ง, baby070, challen
Hot Topic ที่น่าสนใจอื่นๆ
หนุ่ม กรรชัย ร้องอุ๊ย เผาแผ่นทองคำ 99.99% พิสูจน์ สุดท้ายได้ “กระดาษเคลือบสี”น้ำลาวทะลักท่วม 'เวียงป่าเป้า' น้ำป่าไหลหลากสมทบซัดท่วมพื้นที่ 3 ตำบลรัฐจ่าย เช็คสิทธิผ่านเว็บ เงินดิจิทัล 10000 บาท เข้าวันไหน ทำง่ายมากประวัติเหรียญบิตคอยน์ (Bitcoin) เป็นมาอย่างไรบ้าง เรามารู้ข้อมูลเชิงลึกกันน้ำท่วมญี่ปุ่นสาหัส!100ชุมชนถูกตัดขาด!ห้องอภิเษกสมรสของจักรพรรดิราชวงศ์​ชิง​
Hot Topic ที่มีผู้ตอบล่าสุด
49 นี่เล็กมั้ยครับ l8+"บุ๋ม ปนัดดา" แจงหลังดราม่า หลังกลุ่มเชียงรายถาม เงินบริจาคไปไหนหมด ยันมูลนิธิโปร่งใส ตรวจสอบได้5 วิธี สยบความหิวตอนดึก
กระทู้อื่นๆในบอร์ด นิยาย เรื่องเล่า
ซีรีย์ญี่ปุ่น "ลูกสาวเจ้าพ่อขอเป็นครู" คัมแบ็คฉายในรอบ 22 ปี ทาง Prime Videoนิยายเรื่อง : พรางอารมณ์ (เครื่องระบายอารมณ์ที่ยังมีลมหายใจ)*Ep1*ราคะนางร้าย (อดีตแสนชังของมายาวี)อามันต์เจ้าแห่งป่า ตอน : ภูมิสาวแห่งรัตกาล *นิยายจบในตอน*
ตั้งกระทู้ใหม่